คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประคนธ์ พันธุ์วิชาติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำแนะนำการกู้เงินไม่ใช่การฉ้อโกง หากกู้ไม่ได้เป็นเพียงผิดสัญญา
การที่จำเลยแนะนำโจทก์ร่วมว่า ในการขอกู้เงินจากธนาคารจะต้องเป็นลูกค้าของธนาคารโดยนำเงินไปฝากธนาคารไว้ก่อน เป็นคำแนะนำตามปกติธรรมดาทั่วไป เมื่อโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้จำเลยไปดำเนินการ จำเลยก็ได้ติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารให้โจทก์ร่วมแต่มีเหตุขัดข้องจึงกู้เงินไม่ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้นำเงินที่โจทก์ร่วมมอบให้ไปฝากไว้กับธนาคารก็ตาม ก็หาใช่ข้อสาระสำคัญที่จะถือว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำแนะนำขอกู้เงินแล้วกู้ไม่ได้ ไม่ถึงขั้นฉ้อโกง เป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่ง
การที่จำเลยแนะนำโจทก์ร่วมว่า ในการขอกู้เงินจากธนาคารจะต้องเป็นลูกค้าของธนาคารโดยนำเงินไปฝากธนาคารไว้ก่อน เป็นคำแนะนำตามปกติธรรมดาทั่วไป เมื่อโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้จำเลยไปดำเนินการ จำเลยก็ได้ติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารให้โจทก์ร่วม แต่มีเหตุขัดข้องจึงกู้เงินไม่ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้นำเงินที่โจทก์ร่วมมอบให้ไปฝากไว้กับธนาคารก็ตาม ก็หาใช่ข้อสาระสำคัญที่จะถือว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำแนะนำขอกู้เงินแล้วกู้ไม่ได้ ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง เป็นเพียงผิดสัญญา
การที่จำเลยแนะนำโจทก์ร่วมว่า ในการขอกู้เงินจากธนาคารจะต้องเป็นลูกค้าของธนาคารโดยนำเงินไปฝากธนาคารไว้ก่อน เป็นคำแนะนำตามปกติธรรมดาทั่วไป เมื่อโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้จำเลยไปดำเนินการจำเลยก็ได้ติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารให้โจทก์ร่วม แต่มีเหตุขัดข้องจึงกู้เงินไม่ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้นำเงินที่โจทก์ร่วมมอบให้ไปฝากไว้กับธนาคารก็ตาม ก็หาใช่ข้อสาระสำคัญที่จะถือว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการนับระยะเวลาขอพิจารณาใหม่: ความสัมพันธ์ระหว่างมารดา-บุตรและการสันนิษฐานการรับรู้
ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งหกเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21มีนาคม 2529 จำเลยที่ 6 ศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่30 พฤศจิกายน 2529 จำเลยที่ 6 กลับมาประเทศไทยซึ่งจำเลยที่ 6มีภูมิลำเนาอยู่แห่งเดียวกับจำเลยที่ 2 ผู้เป็นมารดาและจำเลยที่ 5ซึ่งเป็นพี่ชาย ดังนี้ จำเลยที่ 6 จะต้องได้พบกับจำเลยที่ 2อย่างช้า ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2529 และจำเลยที่ 2 จะต้องแจ้งเรื่องถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้จำเลยที่ 6 ทราบการที่จำเลยที่ 6 มายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 14 ตุลาคม2530 จึงพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดกรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษจริง การประวิงคดีไม่อาจใช้เป็นเหตุขยายได้
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป 7 วัน ครั้นถึง วันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทนายจำเลยที่ 1ยื่นคำร้องขอถอนตัว จากการเป็นทนาย และจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วัน อ้างว่าทนายจำเลยที่ 1ถอนตัว ไม่อาจหาทนายใหม่ได้ ทัน เป็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางประวิงคดี ถือ ไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ มิใช่เกิดจากความขัดแย้งกับทนาย หรือการประวิงคดี
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป 7 วัน ครั้นถึงวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนาย และจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วัน อ้างว่าทนายจำเลยที่ 1 ถอนตัว ไม่อาจหาทนายใหม่ได้ทัน เป็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางประวิงคดี ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่ประวิงคดีหรือความขัดแย้งทนายความ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป 7 วันครั้นถึงวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนาย และจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วัน อ้างว่าทนายจำเลยถอนตัว ไม่อาจหาทนายใหม่ได้ทันเป็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางประวิงคดีถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201-3205/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล และมีผลเมื่อศาลมีคำพิพากษา การคำนวณค่าชดเชยต้องรวมค่าครองชีพ
นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วนายจ้างจะต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่ง คดีนี้หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยไม่ได้มีคำสั่งเลิกจ้างแต่ โจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่าเมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ยังคงมีนิติสัมพันธ์อยู่กับจำเลยอย่างเดิมจนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา ต้องถือว่าการเลิกจ้างมีผลนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลาง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำรายเดือนจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในอัตราเดิมนับแต่วันที่จำเลยหยุดดำเนินกิจการตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้แปรรูปองค์การจำเลยจนถึงวันที่มีคำพิพากษาศาลฎีกา อันเป็นช่ วงเวลาที่โจทก์ไม่ได้ทำงานโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์และจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จโดยจะต้องนำค่าครองชีพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างมารวมเป็นฐานคำนวณให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางค่าฤชาธรรมเนียม: เหตุสุดวิสัยต้องเกิดขึ้นก่อนครบกำหนด และอาการป่วยเล็กน้อยไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้ แทนโจทก์มาวางศาลภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยต่อ มาจำเลยยื่นคำร้องขอนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวาง คำร้องดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งจำเลยจะต้องมีคำร้องขอเสียก่อนครบกำหนด มิฉะนั้นจะขอขยายระยะเวลาอีกไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่จำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ก็ดีและหาเงินได้ไม่ทันก็ดี ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่มีสิทธินำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายระยะเวลาวางค่าฤชาธรรมเนียมเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่ครอบคลุมอาการป่วยไข้หวัดใหญ่
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้ แทนโจทก์มาวางศาลภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยต่อ มาจำเลยยื่นคำร้องขอนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวาง คำร้องดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่ง จำเลยจะต้องมีคำร้องขอเสียก่อนครบกำหนด มิฉะนั้นจะขอขยายระยะเวลาอีกไม่ได้เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่จำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ก็ดีและหาเงินได้ไม่ทันก็ดีถือ ไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่มีสิทธินำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางตาม คำร้อง.
of 44