คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประคนธ์ พันธุ์วิชาติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574-2575/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งทดลองงานต้องเป็นหนังสือเฉพาะรายบุคคล การปิดประกาศทั่วไปไม่ถือเป็นการแจ้งทดลองงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ฉบับ ที่ 6 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2521 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุ มุ่งประสงค์จะให้มีหลักฐานเป็นหนังสือโดยแจ้งชัดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างว่านายจ้างประสงค์จะให้ลูกจ้างคนใดทดลองปฏิบัติงานก่อนหรือไม่ เป็นระยะเวลาเท่าใด เพื่อขจัดความขัดแย้งที่อาจมีขึ้นภายหน้าอันเป็นการคุ้มครองลูกจ้าง การที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างปิดประกาศข้อบังคับของจำเลยซึ่งมีข้อความระบุให้ผู้ซึ่งได้รับการบรรจุเข้าทำงานจะต้องทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลาตามที่จำเลยเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 180 วัน ไว้ ณ สถานที่ทำการของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการแจ้งทดลองปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา 180 วัน เป็นหนังสือให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทราบแล้ว โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีล้มละลาย: ผลของการบังคับคดีและการสะดุดหยุดอายุความ
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสองร่วมชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2519 โจทก์ไม่ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษากับจำเลยที่ 1 ภายในสิบปี จึงขาดอายุความบังคับคดี ส่วนจำเลยที่ 2 โจทก์ได้บังคับคดีมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2522 ได้เงินมาชำระหนี้บางส่วนอายุความสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2522 โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลายวันที่ 20 มีนาคม 2530 เฉพาะคดีจำเลยที่ 1ขาดอายุความจึงไม่มีเหตุอันควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ส่วนคดีของจำเลยที่ 2 ยังไม่ล่วงเลยกำหนดเวลาสิบปีและหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีกำหนดจำนวนแน่นอนเกินกว่า 50,000 บาท จึงมีเหตุอันควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนสัญญา, การรับรองเอกสาร, และการพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย
บริษัท ท. ได้ตกลงมอบอำนาจให้จำเลยหรือ ท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนิน กิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ดังนั้น การที่ ท. แต่ ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ท. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในฐานะตัว แทนของบริษัท สำเนาเอกสารที่จำเลยเพียงแต่ ยื่นคำร้องไม่รับรองว่าถูกต้องหรือมีอยู่จริง แต่ จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้อง แห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า ถือ ไม่ได้ว่าบริษัท ท. ได้ ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่ เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจแต่ โจทก์ยังกล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาว่า จำเลยได้ หลบหนีไปจากเคหสถาน ที่เคยอยู่ แต่ ความข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนสัญญา, ผลผูกพันสัญญา, การคัดค้านพยานหลักฐาน, และการล้มละลาย
บริษัท ท. ได้ ตกลง มอบอำนาจให้จำเลยหรือ ท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ดังนั้น การที่ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ท. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัท
สำเนาเอกสารที่จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องไม่รับรองว่าถูกต้องหรือมีอยู่จริง แต่จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า ถือไม่ได้ว่าบริษัท ท. ได้ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจ แต่โจทก์ยังกล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย
โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาว่า จำเลยได้หลบหนีไปจากเคหสถานที่เคยอยู่ แต่ความข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทน, สัญญาค้ำประกัน, การล้มละลาย: การรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันเมื่อบริษัทมอบอำนาจให้ตัวแทนทำสัญญา
บริษัท ค.ตกลงมอบอำนาจให้จำเลยหรือท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ ดังนั้น การที่ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ค. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำ ในฐานะตัวแทนของบริษัท เมื่อสัญญาโอนขายลดเช็คไม่มีข้อจำกัด ว่าเช็คที่บริษัท ค. นำมาขายลดให้แก่โจทก์จะต้องเป็นเช็คลูกค้าของบริษัทเท่านั้น และตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ระบุความรับผิดของจำเลยรวมถึงหนี้ตามเช็คของบุคคลอื่นที่บริษัท ค. ได้นำมาขายลดแก่โจทก์ด้วย จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน ซึ่งบริษัท ค. เป็นหนี้โจทก์อยู่ 2 ล้านบาทเศษ จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาภาพถ่ายเช็คและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าถือไม่ได้ว่าบริษัท ค. ได้ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจ ซึ่งปัญหานี้โจทก์ได้กล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ หาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้นไม่ โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้ว จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว อย่างไรก็ตามปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินเฉพาะที่ดินพร้อมด้วยอาคารอันเป็นที่ตั้งบริษัท ค. ซึ่งติดจำนองอยู่เป็นเงิน 2,500,000 บาทที่ดินและอาคารดังกล่าวราคาประมาณ 5,000,000 บาท และเป็นสินสมรส เมื่อบังคับใช้หนี้จำนองแล้ว ส่วนที่เหลือจำเลยในฐานะสามีย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของเพียงครึ่งหนึ่งคือไม่เกิน 1,250,000 บาทซึ่งน้อยกว่าจำนวนหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ศาลชอบที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: ดุลพินิจโทษและแก้ไขโทษจำคุก
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและให้รอการลงโทษไว้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 69ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และศาลอุทธรณ์ลงโทษไม่เกินกำหนดนี้ โจทก์ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ที่แก้ไขแล้วส่วนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 69 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุก 1 ปี 4 เดือน และให้รอการลงโทษไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี แต่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก กล่าวคือนอกจากแก้โทษจำคุกให้เบาลงแล้วยังให้รอการลงโทษไว้ด้วย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: ดุลพินิจโทษและแก้ไขโทษโดยศาลอุทธรณ์
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและให้รอการลงโทษไว้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 69ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และศาลอุทธรณ์ลงโทษไม่เกินกำหนดนี้ โจทก์ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ที่แก้ไขแล้วส่วนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 69 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุก 1 ปี 4 เดือน และให้รอการลงโทษไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี แต่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก กล่าวคือนอกจากแก้โทษจำคุกให้เบาลงแล้วยังให้รอการลงโทษไว้ด้วย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและการรอการลงโทษ พิจารณาจากพฤติการณ์ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐาน พยายามฆ่าผู้อื่นโดย ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 69 ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปีศาลอุทธรณ์ลงโทษไม่เกินกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ผู้ตายและผู้เสียหายดื่ม สุรามึนเมาแล้วเข้าไปในบ้านจำเลยซึ่ง แม้จะไม่มีอาวุธติด ตัว แต่ ก็ได้ ใช้ มือและเท้าทำร้ายหลานจำเลย จำเลยจึงใช้ อาวุธ ปืนสั้นยิงผู้ตายทางด้านหลัง 2 นัด และยิงผู้เสียหายอีก 1 นัด ผู้ตายกับผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน โดย เข้าไปคุกคาม จำเลยถึง ในบ้านเป็นการกระทำเยี่ยงอันธพาลทั้ง ผู้ตายและผู้เสียหายยังอยู่ในวัยหนุ่ม ส่วนจำเลยอยู่ในวัยชรา มีอายุ 62 ปีแล้วหากไม่ใช้ อาวุธปืน อาจไม่มีความว่องไวพอที่จะ ยับยั้งการคุกคามของผู้ตายและผู้เสียหายให้ทันการได้ หลังเกิดเหตุ จำเลยมอบเงิน ให้บิดาผู้ตายเป็นการบรรเทาความเสียหายถึง ความรับผิดชอบในการกระทำของตน จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะ รอการลงโทษให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินกู้จากเช็ค แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงินบนเช็ค แต่มีหลักฐานการรับเงินอื่น ย่อมถือว่าได้รับเงินกู้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ ในวันเดียวกันโจทก์สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ม. จำนวนเงิน400,000 บาท ตรงกับที่ระบุในสัญญากู้ให้แก่จำเลยที่ 1 แม้ในการรับเงินตามเช็คนั้น จะไม่มีลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ลงไว้ในเช็คในฐานะผู้รับเงินก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินในสลิป ลูกหนี้เงินโอนซึ่งมีข้อความระบุเลขที่เช็คและจำนวนเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ได้รับไปจากโจทก์ ทั้งเช็คนั้นก็เป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือและในวันเดียวกันนั้นธนาคารก็ได้เงินจำนวน 400,000 บาท ตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คไปแล้ว ดังนี้ข้อเท็จจริงบ่งชัดว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้จำนวน 400,000 บาทตามเช็คฉบับดังกล่าวไปแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทที่แก้ไขสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ย่อมมีผลเฉพาะลูกจ้างใหม่
ข้อบังคับของนายจ้างที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ ถูกเลิกจ้าง หรือลาออก หรือตาย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากนายจ้างประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะต้องได้ รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมิฉะนั้นจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกัน หรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต่อไป เมื่อปรากฏว่า ข้อบังคับฉบับเดิมไม่ได้กำหนดให้ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ การที่นายจ้างออกข้อบังคับฉบับใหม่ให้ยกเลิกข้อบังคับฉบับเดิม โดยข้อบังคับฉบับใหม่ได้ตัดสิทธิของลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่ให้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ ข้อบังคับฉบับใหม่จึงมีผลเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างที่ปฎิบัติงานอยู่ก่อนมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้กระทำโดยถูกต้อง ข้อบังคับฉบับใหม่คงมีผลเฉพาะต่อลูกจ้างใหม่ที่เข้าทำงานภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเท่านั้น หามีผลต่อลูกจ้างที่ทำงานอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับฉบับใหม่มีผลใช้บังคับไม่
แม้จำเลยจะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้แล้วว่าข้อบังคับของจำเลยเป็นคำสั่ง ระเบียบแบบแผนซึ่งออกโดยกฎหมายปกครอง ไม่ต้องนำมาตกลงกับลูกจ้างไม่ใช่เรื่องที่จะนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลางได้ พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จโดยไม่มีเหตุสงสัยว่าคดีดังกล่าวไม่นำกฎหมายแรงงานมาใช้ บังคับ และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ทั้งศาลแรงงานกลางก็มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 44