พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญากู้ยืม: การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์ความไม่สมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยกล่าวอ้างว่าเอกสารสัญญากู้ยืมไม่มีผลผูกพัน เพราะโจทก์จำเลยทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานคุ้มครองเงินของโจทก์ที่นำไปช่วยลงทุนค้าขายน้ำแข็งก้อนกับจำเลย ดังนั้นจำเลยชอบที่จะนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างเช่นนั้นได้เพราะเป็นการนำสืบว่าเอกสารกู้ยืมไม่สมบูรณ์นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่ไม่สมบูรณ์และข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วน การพิจารณาเจตนาที่แท้จริงของสัญญา
จำเลยชอบที่จะนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า สัญญากู้ไม่มีผลผูกพันเพราะโจทก์จำเลยทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานคุ้มครองเงินของโจทก์ ที่นำไปช่วยลงทุนค้าขายน้ำแข็งก้อนกับจำเลยได้ไม่เป็นการสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างเมื่อได้นำสัญญากู้มาแสดงแล้วว่ายังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาอยู่อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 เพราะเป็นการนำสืบว่าสัญญากู้ยืมไม่สมบูรณ์นั่นเอง และเมื่อทางพิจารณารับฟังได้ว่าโจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันเปิดกิจการค้าน้ำแข็งก้อน สัญญากู้เป็นเพียงหลักฐานคุ้มครองเงินของโจทก์ที่นำไปร่วมลงทุนค้าน้ำแข็งก้อนกับจำเลยเท่านั้น กรณีก็มิใช่เป็นการกู้ยืมดังฟ้องโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ว่าสัญญากู้ยืมไม่สมบูรณ์ แม้จะมีการอ้างเอกสารสัญญากู้ยืมแล้ว
จำเลยกล่าวอ้างว่าเอกสารสัญญากู้ยืมไม่มีผลผูกพัน เพราะโจทก์จำเลยทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานคุ้มครองเงินของโจทก์ที่นำไปช่วยลงทุนค้าขายน้ำแข็งก้อนกับจำเลย ดังนั้น จำเลยชอบที่จะนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างเช่นนั้นได้เพราะเป็นการนำสืบว่าเอกสารกู้ยืมไม่สมบูรณ์นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218: การโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ถือเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 72 ลงโทษจำคุก 5 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำคุก 3 ปี ตามบทกฎหมายที่ศาลชั้นต้นวางมา เช่นนี้ เป็นการแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยไม่ได้แก้บทมาตราด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแทงผู้เสียหายหลังจากจำเลยถูกผู้เสียหายยิงและใช้ปืนตีผ่านพ้นไปแล้วและขณะผู้เสียหายวิ่งหนีไป จึงไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึงเพราะเป็นภยันตรายที่ผ่านพ้นไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยฎีกาว่าจำเลยแทงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายตามเข้ามาตีจำเลยหลังจากยิงจำเลยแล้ว และเมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีจำเลยวิ่งไล่ตามไปกอดปล้ำผู้เสียหายโดยจำเลยไม่ได้ถือมีดไล่ตามไปแทง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยเท่ากับเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม บทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับเหตุป้องกันตัว
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลย ไม่ได้แก้บทมาตราด้วยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแทงผู้เสียหายหลังจากจำเลยถูกผู้เสียหายยิงและใช้ปืนตีผ่านพ้นไปแล้วและขณะผู้เสียหายวิ่งหนีไป จึงไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึงเพราะเป็นภยันตรายที่ผ่านพ้นไป การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยฎีกาว่าจำเลยแทงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายตามเข้ามาตีจำเลยหลังจากยิงจำเลยแล้ว และเมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีจำเลยวิ่งไล่ตามไปกอดปล้ำผู้เสียหาย โดยจำเลยไม่ได้ถือมีดไล่ตามไปแทง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายดังนี้ ฎีกาของจำเลยเท่ากับเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้เถียงข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษ และการป้องกันตัวที่พ้นเหตุ
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยแทงผู้เสียหายหลังจาก จำเลยถูกผู้เสียหายยิงและใช้ปืนตีผ่านพ้นไปแล้ว การกระทำของ จำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษ ที่ลงแก่จำเลย ไม่ได้แก้บทมาตราและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีดังนี้ย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218วรรคแรก ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยแทงผู้เสียหายในขณะ ที่ผู้เสียหายตามเข้ามาตีจำเลยหลังจากยิงจำเลยแล้ว และเมื่อ ผู้เสียหายวิ่งหนี จำเลยวิ่งไล่ตามไปกอดปล้ำผู้เสียหาย โดยจำเลย ไม่ได้ถือมีดไล่ตามไปแทงการ กระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมายนั้นเท่ากับ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ ศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำพิพากษาและการพิจารณาอุทธรณ์หลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีแรงงาน
ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขอให้พิจารณาใหม่ ศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดจึงอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ต่อมาโจทก์และจำเลยตกลงกันได้ ศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนกระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง แต่ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาหรือคำสั่งอื่น ๆ ของศาลฎีกา แม้โจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย และศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ถอนอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงต้องพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมไปแล้ว ข้อโต้แย้งตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงหมดไปไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างอาวุโส กรณีฝ่าฝืนคำสั่งและประพฤติมิชอบ
โจทก์ขัดคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงสองประการ กล่าวคือ เข้าอยู่อาศัยในสำนักงานของจำเลยที่ 1 กับผู้หญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดย มิชอบ และเมื่อจำเลยที่ 1 สั่งให้ย้ายออกก็มิได้ย้ายออกไปในทันที กับไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้ลงชื่อในเช็คสองคน ถือว่าเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบในฐานะพนักงานอาวุโสและ หัวหน้าสำนักงาน ดังนี้ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยมิต้อง บอกกล่าวก่อนหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 583 กรณี เช่นนี้ไม่อาจนำ มาตรา 387 ซึ่งอยู่ในบรรพ 2 ลักษณะ 2 หมวดที่ 4 เรื่องการเลิกสัญญามาใช้บังคับเพราะการจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญา ในบรรพ 3 ที่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 583 อยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีกำหนดสัญญาชัดเจน กรณีลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง สิทธิในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าว
ลูกจ้างขัดคำสั่งของนายจ้างโดยเข้าอยู่อาศัยในสำนักงานของนายจ้างกับผู้หญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยมิชอบ เมื่อนายจ้างสั่งให้ย้ายออกก็มิได้ย้ายออกไปในทันที กับไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของนายจ้างซึ่งให้ลงชื่อในเช็คสองคน แม้ลูกจ้างดังกล่าวจะเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาการจ้าง นายจ้างก็เลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุดังกล่าวนั้นได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อนหรือให้สินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 กรณีเช่นนี้ไม่อาจนำมาตรา387 ซึ่งอยู่ในบรรพ 2 ลักษณะ 2 หมวดที่ 4 เรื่อง การเลิกสัญญามาใช้บังคับ เพื่อให้นายจ้างรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างได้เพราะการจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญาในบรรพ 3 ที่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 583 อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีกำหนดสัญญา กรณีขัดคำสั่งนายจ้าง สิทธิในการบอกกล่าวล่วงหน้าและสินไหมทดแทน
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอนระหว่างอายุสัญญาโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลยคือเข้าอยู่อาศัยใน สำนักงานของจำเลยกับผู้หญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยา จำเลยให้ย้ายออก ก็ไม่ย้าย ในทันที และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของจำเลยที่ให้ลงชื่อ ในเช็คสองคนซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบในฐานะ พนักงานอาวุโสจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน หรือให้สินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 กรณีนี้ไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เรื่อง การเลิกสัญญามาใช้บังคับได้ เพราะการจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญา ในบรรพ 3 ที่มีบทบัญญัติ ไว้เป็นพิเศษในมาตรา 583 อยู่แล้ว.