คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประคนธ์ พันธุ์วิชาติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพการจ้าง, สิทธิเรียกร้องค่าจ้าง, เงินกองทุนสงเคราะห์, และการลาออกของลูกจ้าง
ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทยพ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ว่าการมีอำนาจบริหารกิจการของ สถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและนโยบายที่คณะกรรมการ กำหนด บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง กับรับผิดชอบในการจัดการ และดำเนินการของสถาบันตามที่คณะกรรมการมอบหมาย บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด หรือตัดเงินเดือนตลอดจนลงโทษพนักงานและลูกจ้าง ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มีอำนาจวางนโยบายบริหารและควบคุม ดูแลโดยทั่วไปและรับผิดชอบซึ่งกิจการของสถาบัน ดังนี้ จำเลย ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการ บริหารกิจการและมีอำนาจบังคับบัญชา พนักงาน และลูกจ้างทุกตำแหน่ง รวมตลอดถึงมีอำนาจในการบรรจุ แต่งตั้ง ถอด ถอนลงโทษพนักงาน และลูกจ้างทุกคนเว้นแต่บางตำแหน่ง จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็น นายจ้างของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 มีอำนาจให้ความเห็นชอบ วางนโยบายบริหารและควบคุมดูแลทั่วไปกับออกข้อบังคับต่าง ๆจำเลย ที่ 3 ถึงที่ 12 ไม่มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 จึงมิใช่นายจ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โจทก์ยัง เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์ เป็นที่ปรึกษาและให้โจทก์ลงนามในสัญญานั้น แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จนจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์อีก ขอให้โจทก์ลงนามในสัญญาจ้าง ที่ปรึกษาให้เสร็จภายใน กำหนด หากพ้นกำหนดจะถือว่าโจทก์สละสิทธิ ที่จะรับ ข้อเสนอในการว่าจ้าง เมื่อโจทก์ไม่ยอมลงนามในสัญญา ตั้งที่ปรึกษาภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะทำงาน เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1ต่อไป มีผลเป็นการลาออกจากการเป็น ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นับแต่วันพ้นกำหนด แม้โจทก์จะเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังคง เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การออกจากงานของโจทก์จึงต้อง เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องเกิดจากการตาย ลาออก อายุ ครบ60 ปีบริบูรณ์ ถูกสั่งให้ออก ปลดออก ไล่ออก หรือ ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดตามที่ข้อบังคับ กำหนดไว้เท่านั้น การพ้น จากตำแหน่งผู้ว่าการตามวาระของโจทก์ตาม พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทยมีผลทำให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลทำให้ โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพการจ้างและสิทธิเรียกร้องของผู้ถูกจ้าง กรณีไม่ยอมลงนามในสัญญาจ้างใหม่
ตาม พ.ร.บ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ว่าการเพียงผู้เดียวมีอำนาจในการบริหารกิจการและบังคับบัญชาพนักงานลูกจ้างทุกตำแหน่ง รวมตลอดถึงมีอำนาจในการบรรจุแต่งตั้ง ถอดถอน ลงโทษพนักงานและลูกจ้างทุกคน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการจึงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 เป็นกรรมการมีอำนาจให้ความเห็นชอบวางนโยบายบริหารงานและควบคุมดูแล โดยทั่วไป และออกข้อบังคับต่าง ๆ เท่านั้นมิได้มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 แต่อย่างใดจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 จึงมิใช่นายจ้างของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 กับที่ 12 ให้ร่วมรับผิดในข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะพนักงาน-ที่ปรึกษาหลังพ้นตำแหน่งผู้บริหาร การสิ้นสุดสัญญาจ้างและสิทธิประโยชน์
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการบริหารกิจการ และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่งฯ จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบของนโยบายบริหารงานและควบคุมดูแลโดยทั่วไป และออกข้อบังคับต่าง ๆ เท่านั้น ไม่มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 จึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการของจำเลยที่ 1 ตามวาระแล้ว จำเลยที่ 1 มีหนังสือส่งให้โจทก์ลงนามในสัญญาที่ปรึกษาหากโจทก์ประสงค์จะเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อรับเงินเดือนและสวัสดิการต่อไปโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ลงนามเข้าเป็นที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1 ก่อน แต่โจทก์ไม่ยอมลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาตามที่จำเลยที่ 1 กำหนด จึงถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะทำงานเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ต่อไป มีผลเป็นการลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นับแต่พ้นกำหนดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะพนักงานหลังพ้นตำแหน่งผู้ว่าการสถาบันวิจัยฯ การลาออก และเงื่อนไขการสิ้นสุดสัญญาจ้าง
ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 กำหนดให้ผู้ว่าการมีอำนาจบริหารกิจการของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง กับรับผิดชอบในการจัดการและดำเนินการของสถาบันตามที่คณะกรรมการมอบหมาย บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลดหรือตัดเงินเดือน ตลอดจนลงโทษพนักงานและลูกจ้างตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มีอำนาจวางนโยบายบริหารงานและควบคุมดูแลโดยทั่วไปและรับผิดชอบซึ่งกิจการของสถาบัน ดังนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการบริหารกิจการและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่ง รวมตลอดถึงมีอำนาจในการบรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอนลงโทษพนักงานและลูกจ้างทุกคนเว้นแต่บางตำแหน่ง จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 มีอำนาจให้ความเห็นชอบวางนโยบายบริหารและควบคุมดูแลทั่วไปกับออกข้อบังคับต่าง ๆ จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 ไม่มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 จึงมิใช่นายจ้างของโจทก์
เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โจทก์ยังเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์เป็นที่ปรึกษาและให้โจทก์ลงนามในสัญญานั้นแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จนจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์อีก ขอให้โจทก์ลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาให้เสร็จภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะรับข้อเสนอในการว่าจ้าง เมื่อโจทก์ไม่ยอมลงนามในสัญญาตั้งที่ปรึกษาภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะทำงานเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ต่อไป มีผลเป็นการลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นับแต่วันพ้นกำหนด
แม้โจทก์จะเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังคงเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การออกจากงานของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องเกิดจากการตาย ลาออก อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถูกสั่งให้ออก ปลดออก ไล่ออก หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้เท่านั้น การพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตามวาระของโจทก์ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทยมีผลทำให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลทำให้โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์อายุผู้เสียหายเป็นสำคัญในความผิดเกี่ยวกับเด็ก หากโจทก์ไม่นำสืบหลักฐานยืนยันอายุ ศาลต้องลดโทษ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคสอง และความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 319 นั้น อายุของผู้เสียหายมีความสำคัญเพราะเป็นองค์ประกอบความผิด โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความว่า ผู้เสียหายมีอายุไม่เกิน 18 ปี ศาลจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ แต่การนำสืบของโจทก์คงมีแต่เพียงผู้เสียหายเบิกความว่า เกิดวันที่เท่าไร เดือนใดปีใด โจทก์ไม่ได้นำสืบหลักฐานที่น่าเชื่อถือ เช่น ใบสูติบัตรทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนให้เห็นว่าผู้เสียหายมีวันเดือน ปีเกิดตามที่กล่าวอ้าง ทั้งปรากฎว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีสามีและได้เลิกกับสามีแล้ว ประกอบกับจำเลยนำสืบว่าผู้เสียหายมีอายุประมาณ 20 ปี เป็นการโต้แย้งว่าผู้เสียหายไม่ใช่มีอายุ 17 ปีตามที่กล่าวอ้าง กรณีจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 282 วรรคสอง ไม่ได้จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 282 วรรคหนึ่งและจำเลยไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุไม่เกิน 18 ปี ตามมาตรา 319.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างค่าทำงานวันหยุดและดอกเบี้ย กรณีนายจ้างไม่ประกาศวันหยุดและผิดนัดชำระ
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า จำเลยนายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทราบล่วงหน้าซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่า โจทก์ไม่ได้หยุดงานในวันดังกล่าวส่วนวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยมิได้ปฏิเสธไว้ต้องถือว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์จึงมิต้องนำสืบในข้อนี้อีก จำเลยจึงต้องจ่ายเงินสำหรับวันหยุดทั้ง 3 ประเภท ดังกล่าวแก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมวด 4ข้อ 31 วรรคแรก ถ้านายจ้างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ลูกจ้างต้องทวงถามเสียก่อนจึงจะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยซึ่งมีความหมายว่านายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทันทีที่ผิดนัดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยผิดนัดในเรื่องดอกเบี้ยของแต่ละรายการตั้งแต่เมื่อใดและอย่างไร ทั้งยังเบิกความว่าขอเรียกดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าทำงานในวันหยุดและดอกเบี้ย กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยนายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทราบล่วงหน้าซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ได้หยุดงานในวันดังกล่าวส่วนวันหยุดประจำสัปดาห์จำเลยมิได้ปฏิเสธไว้ต้องถือว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์โจทก์จึงมิต้องนำสืบในข้อนี้อีกจำเลยจึงต้องจ่ายเงินสำหรับวันหยุดทั้ง3ประเภทดังกล่าวแก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานหมวด4ข้อ31วรรคแรกถ้านายจ้างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละ15ต่อปีแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ลูกจ้างต้องทวงถามเสียก่อนจึงจะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยซึ่งมีความหมายว่านายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทันทีที่ผิดนัดก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยผิดนัดในเรื่องดอกเบี้ยของแต่ละรายการตั้งแต่เมื่อใดและอย่างไรทั้งยังเบิกความว่าขอเรียกดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องเป็นต้นไปที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามมาตรา 54 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่จำเลยสั่งให้โจทก์พักจัดรายการเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์โดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ทำงานอยู่ต่อไปถือเป็นการเลิกจ้าง และอุทธรณ์ว่าโจทก์ทำงานมาครบ 1 ปีมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามสัญญา อุทธรณ์ทั้ง 2 กรณี ดังกล่าวต่างเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ทหารมีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายกับผู้บุกรุกที่ดินราชการได้โดยชอบ และไม่ต้องรับผิดในความเสียหาย
กองทัพบกเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการทหารตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตหวงห้ามที่ดินและระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการปกครองและวิธีการจัดการที่ดิน (ฉบับที่ 2) จำเลยทั้งสามเป็นนายทหารสังกัดมณฑลทหารบกที่ 2 กองทัพบก ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ดำเนินการตามกฎหมายกับโจทก์ เมื่อพบว่าโจทก์กับพวกทำการขุดดินในที่ดินของกระทรวงกลาโหม จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 นำตัวโจทก์มาที่ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมมณฑลทหารบกที่ 2เพื่อสอบถามและให้โจทก์ชี้แจงแล้วส่งตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป การที่โจทก์ถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจเป็นดุลพินิจและอำนาจของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยทั้งสามการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443-6460/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับชุดทำงาน แม้ทำงานไม่ครบ 1 ปี หากถึงกำหนดเวลาแจกจ่ายตามข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่า "บริษัทจะจัดหาชุดทำงานให้ปีละ 2 ชุดโดยจะเริ่มแจกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2534" เห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่า จะต้องทำงานครบ 1 ปี จึงจะมีสิทธิได้รับชุดทำงาน เมื่อลูกจ้างทำงานติดต่อตลอดมาจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาที่นายจ้างจะต้องแจกชุดทำงานตามข้อตกลง แม้ว่าลูกจ้างจะทำงานมายังไม่ถึง1 ปี ก็มีสิทธิได้รับชุดทำงานตามข้อตกลง
of 44