พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5962/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ แม้มีกฎหมายเฉพาะ
พนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องเรียกค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน หลังจาก พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มีผลใช้บังคับ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน เลิกจ้างเพราะลูกจ้างมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ หาใช่ลูกจ้างออกจากงานไปเองไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5920/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำทุจริตและการขัดคำสั่งนายจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์เอาใบเตือนไปจากการครอบครองของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโดยมิได้รับอนุญาต เป็นการเอาทรัพย์ของนายจ้างไปโดยพลการอันส่อให้เห็นเจตนาทุจริต และเมื่อจำเลยสั่งให้โจทก์นำใบเตือนมาคืน โจทก์ไม่ยอมนำมาคืนจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5878/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในสัญญาค้ำประกันและการผูกพันในหนี้ทั้งหมดของผู้ค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ค้ำประกันหาหลักประกันมาวางเพิ่มขึ้นอีก70,000 บาท ผู้ค้ำประกันได้นำ น.ส.3 ก. มาวางศาลเมื่อวันที่7 กรกฎาคม 2530 แต่ต่อมาวันที่ 13 กรกฎาคม 2530 ผู้ค้ำประกันยอมทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นระบุว่า หากจำเลยทั้งสองแพ้คดีโจทก์และไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ผู้ค้ำประกันยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ที่ผู้ค้ำประกันได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาล และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531ผู้ค้ำประกันได้ยื่นคำร้องขอถอนหลักทรัพย์คืน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนได้โดยให้วางเงินเท่าจำนวนหลักทรัพย์จำนวน 123,574.50 บาทซึ่งผู้ค้ำประกันก็ยินยอมปฏิบัติตาม ตามพฤติการณ์ที่แสดงออกของผู้ค้ำประกันทั้งสองครั้งแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ร้องได้สละสิทธิและเปลี่ยนเจตนาที่จะยอมผูกพันเพียงเท่าจำนวนเงินที่นำมาวางตามคำสั่งศาลชั้นต้นในตอนแรก แต่ยอมผูกพันรับผิดชอบในหนี้ทั้งหมดที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5743/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในความเสียหายของสินค้า และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทำหน้าที่แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าทราบว่า เรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย มอบสำเนาใบตราส่งให้โจทก์ ทำหนังสือขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ติดต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ขนตู้สินค้าขึ้นจากเรือ ขนสินค้าออกจากตู้สินค้าและเรียกค่าบริการจากโจทก์ การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าว สินค้าที่ขนส่งมาย่อมไม่อาจถึงมือผู้ซื้อได้พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัทฮ. ผู้ขนส่งทอดแรก อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนทางทะเล โดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในความบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล เมื่อโจทก์ชำระค่าสินค้าไปโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันใดโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันดังกล่าว จำเลยจะขอให้คิดจากอัตราในวันที่เกิดความเสียหายแก่สินค้าซึ่งมีอัตราต่ำกว่าไม่ได้ คดีหนี้เหนือบุคคล จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง จำเลยจะอ้างว่ามีข้อตกลงให้ฟ้องที่ศาลในต่างประเทศโดยไม่ปรากฏข้อตกลงดังกล่าวในคำแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง: ดื่มสุราขณะทำงานและเข้าปฏิบัติหน้าที่เสี่ยง
จำเลยมีหน้าที่ขับเครนยกของหนัก ต้องใช้ความระมัดระวังเมื่อจำเลยดื่มสุราในเวลาทำงาน แม้ได้ดื่มนอกที่ทำงาน แต่ได้กลับเข้าทำงานในลักษณะมึนเมาสุรา ถ้าจำเลยเข้าปฏิบัติหน้าขับรถเครน ก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรณีร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดความเสียหายขึ้นก่อน โจทก์จึงมีสิทธิเลิกจ้างจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 (3)
แม้โจทก์ไม่ได้ลงโทษเลิกจ้าง ส.ด้วย ก็เป็นดุลพินิจในการลงโทษของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างซึ่งหน้าที่ในความรับผิดของลูกจ้างแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน การไม่ลงโทษเลิกจ้าง ส.จึงไม่อาจถือเป็นเหตุที่จะถือว่าการเลิกจ้างจำเลยเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121แต่อย่างใด
การกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดกรณีร้ายแรง เข้าเกณฑ์ที่โจทก์จะลงโทษเลิกจ้างได้ การเลิกจ้างของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้โจทก์ไม่ได้ลงโทษเลิกจ้าง ส.ด้วย ก็เป็นดุลพินิจในการลงโทษของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างซึ่งหน้าที่ในความรับผิดของลูกจ้างแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน การไม่ลงโทษเลิกจ้าง ส.จึงไม่อาจถือเป็นเหตุที่จะถือว่าการเลิกจ้างจำเลยเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121แต่อย่างใด
การกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดกรณีร้ายแรง เข้าเกณฑ์ที่โจทก์จะลงโทษเลิกจ้างได้ การเลิกจ้างของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ดื่มสุราขณะทำงาน แม้ดื่มนอกสถานที่ ถือเป็นความผิดร้ายแรง
จำเลยที่ 15 เป็นลูกจ้างโจทก์ ทำหน้าที่ขับรถเครนยกของหนักต้องใช้ความระมัดระวัง เมื่อจำเลยที่ 15 ดื่มสุราในเวลาทำงานแม้เป็นการดื่มนอกที่ทำงาน แต่ได้กลับเข้าทำงานในลักษณะมึนเมาสุราถ้าจำเลยที่ 15 เข้าปฏิบัติหน้าที่ขับรถเครนก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้การกระทำของจำเลยที่ 15จึงเป็นความผิดกรณีร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดความเสียหายขึ้นก่อน ดังนี้ โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยที่ 15 ได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอายัดเงินค่าหุ้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของหนี้ สิทธิของบุคคลภายนอกต้องได้รับการคุ้มครอง
ตามข้อบังคับของผู้ร้องที่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2511มาตรา 14(5) กำหนดว่าเงินค่าหุ้นที่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ร้องได้ชำระให้แก่ผู้ร้องแล้วนั้น ถือว่าเป็นเงินทุนของผู้ร้องจำเลยจะถอนคืนได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นสมาชิกผู้ร้องแล้ว ฉะนั้นหนี้ของผู้ร้องที่จะต้องคืนเงินค่าหุ้นให้จำเลยจึงมีเงื่อนไขผู้ร้องจำต้องคืนให้ต่อเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องแล้ว แม้ศาลอาจออกคำสั่งอายัดให้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311วรรคสอง แต่จะกำหนดในคำสั่งอายัดให้เป็นการฝ่าฝืนข้อจำกัดหรือเงื่อนไขแห่งหนี้นั้นหาได้ไม่ เพราะอาจมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้นได้ คำสั่งอายัดของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้ผู้ร้องชำระหรือส่งมอบเงินค่าหุ้นของจำเลยแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วันนับแต่วันที่จำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องจึงสอดคล้องกับเงื่อนไขแห่งหนี้ที่ผู้ร้องจะต้องชำระแก่จำเลยและถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าหุ้นสหกรณ์: สิทธิลูกหนี้มีเงื่อนไข & ผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
จำเลยเป็นสมาชิกและถือหุ้นในสหกรณ์ผู้ร้อง ซึ่งเงินค่าหุ้นที่จำเลยลงไว้ถือว่าเป็นเงินทุนของผู้ร้อง จำเลยจะถอนคืนได้ต่อเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกดังนี้ เพื่อป้องกันสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้มิให้เสียหาย ศาลอาจออกคำสั่งอายัดเงินค่าหุ้นของจำเลยได้ แต่จะกำหนดในคำสั่งอายัดให้เป็นการฝ่าฝืนข้อจำกัดหรือเงื่อนไขแห่งหนี้หาได้ไม่ เพราะจะทำให้การบังคับคดีมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ศาลชั้นต้นแก้ไขคำสั่งอายัดใหม่ให้ผู้ร้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องแทนคำสั่งเดิมที่ให้ผู้ร้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหมาย เป็นการสอดคล้องกับเงื่อนไขแห่งหนี้ที่ผู้ร้องต้องชำระแก่จำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างปิดงานขาดอายุความ ย่อมทำให้สิทธิรับเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าหายไปด้วย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยในระหว่างที่จำเลยปิดงานและโจทก์ไม่ได้ทำงานตามปกติค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกนี้ไม่ใช่เงินเดือนค้างจ่ายที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แต่เป็นสินจ้างคนงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) มีอายุความ2 ปี ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสองนั้น ต้องมีสิทธิได้รับค่าจ้างที่ค้างชำระด้วยจึงจะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มเมื่อค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยขาดอายุความ สิทธิในการรับเงินเพิ่มย่อมหมดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งให้ส่งเอกสารให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อชำระบัญชี ไม่ใช่การมอบอำนาจวินิจฉัยคดี
ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ชำระบัญชี เมื่อมีเหตุขัดข้องในการชำระบัญชี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์จำเลยเสนอหลักฐานต่าง ๆต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หาใช่เป็นการมอบอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่.