คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประคนธ์ พันธุ์วิชาติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงฝากเงินเพื่อประกันหนี้ ไม่ใช่การจำนำ แม้มีการสลักหลังจำนำสมุดคู่ฝาก
ธนาคารผู้ร้องค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งซื้อเชื่อสินค้าจากโจทก์ในวงเงิน 50,000 บาท โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบสมุดคู่ฝากประจำจำนวนเงิน 50,000 บาท ที่ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้องและสลักหลังจำนำเงินฝากตามสมุดคู่ฝากดังกล่าวต่อผู้ร้องด้วย แม้ผู้ร้องได้ยินยอมให้นำเงินฝากดังกล่าวเป็นประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ร้องค้ำประกันจำเลยที่ 1 แต่เงินฝากดังกล่าวย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงิน จำเลยที่ 1 ผู้ฝากคงมีสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้น จึงไม่ใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 ตกลงนำเงินฝากในสมุดคู่ฝากประจำมาค้ำประกันต่อผู้ร้องเป็นเพียงแต่ตกลงว่าจะไม่ถอนเงินไปจากบัญชี และหากจำเลยที่ 1 มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารผู้ร้องหักเงินฝากมาชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้เสร็จสิ้นไปทันที ข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 คงเป็นการฝากเงินเพื่อประกันหนี้เท่านั้น ไม่ใช่การจำนำ ทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากเงินฝากที่ผู้ร้องได้นำส่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์ได้ขออายัดไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5472/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก เหตุผู้ร้องไม่มีสิทธิ/ส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
มาตรา 1727 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 กรณีคือ กรณีแรกเพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่กรณีที่สองเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร กรณีที่สองนี้มิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นการกระทำโดยมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่งในการทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก แต่หมายความรวมถึงเหตุอื่นใดก็ได้ที่ทำให้ผู้จัดการมรดกไม่ควรเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป เช่น การเป็นผู้ไม่มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดก หรือการขาดคุณสมบัติของผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดกเป็นต้น ซึ่งเหตุเช่นว่านี้อาจมีอยู่แล้วในขณะที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกหากแต่ในขณะนั้นยังไม่ปรากฏต่อศาลก็ได้ แม้ผู้คัดค้านจะมิได้อ้างในคำร้องคัดค้านว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกก็ตาม แต่ก็อ้างเป็นใจความว่าผู้ร้องมิได้เป็นผู้มีสิทธิหรือผู้มีส่วนได้เสียอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพราะไม่มีทรัพย์มรดกที่จะต้องจัดการเนื่องจากทรัพย์มรดกคือที่ดิน 1 แปลงตามที่ระบุในคำร้องของผู้ร้องนั้นเป็นของผู้คัดค้านทั้งสอง อันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ผู้ร้องไม่ควรเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านว่าไม่ใช่เรื่องขอให้เพิกถอนเพราะผู้จัดการมรดกทำผิดหน้าที่จึงไม่ชอบ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับ คำร้อง ของ ผู้คัดค้านทั้งสองไว้พิจารณาต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5450/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ หากไม่ใช่กรณีร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ฝ่าฝืนข้อบังคับ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าการประทับ บัตรบันทึกเวลาแทนผู้อื่นหรือให้ผู้อื่นประทับบัตรบันทึกเวลาแทน เป็นความผิดร้ายแรง จะถูกลงโทษโดยการไล่ออก เป็นระเบียบเกี่ยวกับ การทำงานที่นายจ้างกำหนดเพื่อใช้บังคับแก่ลูกจ้างจึงเป็นข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยได้กระทำขึ้น และมีผลใช้บังคับได้ ตามกฎหมาย แต่จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยกรณีนี้หรือไม่ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) โดยหากการฝ่าฝืนข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่หากเป็นกรณีไม่ร้ายแรง ซึ่งจำเลยเคยเตือนลูกจ้างแล้ว และลูกจ้าง ยังกระทำซ้ำคำเตือนอีกจำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเช่นกัน แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะกำหนดให้การฝ่าฝืนเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม แต่ได้ความว่าโจทก์ให้บุคคลอื่นประทับ บัตรบันทึกเวลาแทน เพื่อความสะดวกและมักง่ายของตน หาใช่โดยทุจริต เพื่อโกงค่าแรงงาน ของจำเลยไม่จึงเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับ กรณีไม่ร้ายแรงเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือ มาก่อน และจำเลยได้ไล่โจทก์ออก จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5388/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระหนี้จากการประมูลซื้อทอดตลาด ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ แต่ต้องปฏิบัติตามสัญญาหากไม่ชำระตามกำหนด
ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลสู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาด และทำสัญญาซื้อขายไว้ จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาคือชำระเงินส่วนที่เหลือใน15 วัน นับแต่วันทำสัญญาต่อมาผู้ร้องได้ยื่นคำแถลงขอเลื่อนการวางเงินที่เหลือออกไปอีก การที่ศาลอนุญาตให้เลื่อนการวางเงินไปได้เพียง 7 วัน เป็นการขยายเวลาชำระหนี้ตามสัญญาให้แก่ผู้ร้องซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะกระทำได้ เพราะการขายทอดตลาดกระทำไปโดยคำสั่งของศาล จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ไม่ยึดถือระยะเวลาเป็นสำคัญซึ่งนอกจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายเวลาดังกล่าวแล้วยังมีคำสั่งต่อไปอีกว่าหากไม่ชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับไปตามสัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องได้ทำไว้ ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่ชำระเงินภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้ขยายให้ไว้ผู้ร้องก็ได้ชื่อว่าผิดนัด หมดสิทธิที่จะซื้อทรัพย์พิพาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะต้องริบเงินที่ผู้ร้องได้วางไว้โดยศาลชั้นต้นหาต้องมีคำสั่งว่าผู้ร้องผิดสัญญา และมีคำสั่งให้ริบเงินที่ผู้ร้องได้ชำระไว้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การอุทธรณ์และฎีกานอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว หากไม่โต้แย้งในชั้นอุทธรณ์
คดีมีประเด็นพิพาทว่า การที่ธนาคารจำเลยไม่หักเงินตามเช็คเข้าบัญชีของธนาคารโจทก์ และไม่แจ้งให้ธนาคารโจทก์ทราบในวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการนั้น จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เป็นความผิดของจำเลยแสดงให้ประจักษ์ต่อโจทก์ตามวิธีที่เคยปฏิบัติว่าจำเลยได้นำเงินตามเช็คเข้าบัญชีโจทก์แล้วการที่โจทก์จ่ายเงินตามเช็คให้ลูกค้าไปจึงมิใช่ความประมาทเลินเล่อของโจทก์ หรือเป็นการจ่ายเงินตามอำเภอใจ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ เช่นนี้ การที่จำเลยอุทธรณ์ในทำนองโต้แย้งว่า จำเลยได้นำเงินมาเข้าบัญชีของธนาคารโจทก์แล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดอย่างไรในการที่ไม่แจ้งให้ทราบถึงเหตุที่ไม่สามารถหักเงินเข้าบัญชีโจทก์ได้ จึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกา ประเด็นพิพาทใดที่เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้แล้วคู่ความมิได้อุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวให้ด้วยก็ถือไม่ได้ว่าได้วินิจฉัยตามประเด็นคู่ความอุทธรณ์ คู่ความจึงไม่อาจฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดระงับด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่โจทก์เรียก เป็นค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีมาก่อนวันที่ 7 มีนาคม 2534 ซึ่งเป็น วัน ที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่า "ทั้งสอง ฝ่าย ตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวง" หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ ซึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามจำนวนที่ตกลงกัน และโจทก์ ได้ตกลงไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากจำเลย อีก กรณีจึงเป็นที่เห็นได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด ที่มีข้อพิพาทกัน อยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของ สัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องระงับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ: ค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดที่เกิดขึ้นก่อนทำสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม2534 มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้(1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด
++ คดีแดงที่ 4800 - 5216/2534
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2534มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้ (1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าพื้นที่จอดรถ vs. การรับฝากทรัพย์: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบรถหาย หากไม่มีการส่งมอบและอารักขา
จ. นำรถยนต์เข้าไปจอดในปั๊มน้ำมันของจำเลย เสียค่าจอดรถยนต์เป็นรายเดือนไม่มีการส่งมอบรถยนต์ให้อยู่ในความอารักขาของจำเลย จ. สามารถนำรถยนต์เข้าออกในเวลาใดก็ได้ จำเลยไม่สามารถรู้ได้ว่า จ. ได้นำรถยนต์เข้าไปจอดหรือไม่ ในคืนที่รถยนต์หายก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับมอบรถยนต์จาก จ. แต่อย่างใดพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยรับฝากรถยนต์ไว้จาก จ.แต่เป็นการให้เช่าสถานที่จอดรถยนต์ เมื่อรถยนต์หายไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่ จ. โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4610/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีท
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยค้ำประกันบริษัท ส. ต่อโจทก์ มีข้อความในข้อ 1 ว่า "...ตามที่บริษัท ส. ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและขอทำทรัสต์รีซีท (สัญญารับมอบสินค้าเชื่อ) เพื่อขอรับเอกสารและ นำสินค้าออกขายก่อน แล้วจึงนำเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในทรัสต์รีซีท มาชำระแก่ธนาคาร ก. ภายในกำหนดเวลา 90 วัน... ถ้าหากบริษัท ส. ไม่ชำระเงินให้ธนาคาร ก. ตามทรัสต์รีซีท ตามที่กล่าวในข้อ 2 ข้าพเจ้าทั้งสามผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิด..." และข้อความตามข้อ 2 มีว่า "สัญญาค้ำประกันนี้ให้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไป นับแต่วันที่ ที่ลงในสัญญาฉบับนี้ จนกว่า จะ ได้มีการชำระหนี้กันเสร็จสิ้น และเลิก สัญญาค้ำประกันการชำระหนี้รายนี้ต่อกันแล้ว เพื่อเป็นการค้ำประกัน บริษัท ส. ที่ได้ทำและจะทำทรัสต์รีซีท เป็นคราว ๆ ไป โดยจะเป็นทรัสต์รีซีท ฉบับเดียวหรือหลายฉบับก็ตาม ตามที่กล่าวในข้อ 1..." ดังนี้ เป็นการยินยอมค้ำประกันหนี้ ของของจำเลยที่ 1 ตามสัญญารับมอบ สินค้าเชื่อตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่จำเลยที่ 1 ได้เปิดไว้ก่อนหรือ ในวันที่ที่ทำสัญญาค้ำประกัน และหนี้ ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่จำเลยที่ 1 ได้ เปิด ไว้หลังวันทำ สัญญาค้ำประกันด้วย.
of 44