พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3813/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์, อำนาจศาลในการพิพากษาเกินคำขอ, และผลของการเบิกความเท็จต่อกรรมสิทธิ์
ในคดีอาญาโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยขอให้ลงโทษฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทคดีนี้โดยปรปักษ์ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้มาโดยการสืบทอดทางมรดก จำเลยได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่มิชอบ เพราะจำเลยเบิกความเท็จทำให้ศาลหลงเชื่อ จึงขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทให้โจทก์ การพิจารณาว่าคดีนี้จะเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ จะต้องปรากฏว่าความรับผิดในทางแพ่งในคดีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผลของการกระทำผิดอาญาโดยตรง แต่การที่จำเลยเบิกความเท็จในการเบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งไม่เป็นผลโดยตรงที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทในคดีนี้ เหตุที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในคดีแพ่ง ก็เพราะศาลฟังว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ กรณีจึงไม่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญา จึงไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) และ 246 ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทต่อไป อันเป็นการขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ การที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครอง จำเลยย่อมเอาคำสั่งศาลไปขอจดทะเบียนให้จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์ก็เท่ากับขอให้ที่พิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดไม่ให้มีชื่อจำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนให้จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินส่วนที่พิพาทก็ควรจะพิพากษาห้ามมิให้จำเลยนำคำสั่งของศาลดังกล่าวไปจดทะเบียนลงชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3813/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายืนคำพิพากษาให้ที่ดินเป็นของโจทก์ และห้ามจำเลยเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
คดีแดงที่ 3813-3814/2534
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ ต่อมาโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีอาญาฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งดังกล่าว การจะพิจารณาว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวหรือไม่นั้นจะต้องปรากฏว่าความรับผิดในทางแพ่งในคดีนี้เกิดขึ้นจากผลของการกระทำผิดอาญาโดยตรง ที่จำเลยเป็นพยานเบิกความเท็จในคดีแพ่งไม่ก่อให้เกิดผลโดยตรงที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเหตุที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในคดีแพ่งดังกล่าวเพราะศาลฟังว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญา ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น การกำหนดภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบ ศาลชั้นต้นมีอำนาจทีจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบก่อนก็ได้ การกำหนดภาระการพิสูจน์ในคดีนี้ไม่ได้ถือเอาเหตุที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์มาวินิจฉัยให้จำเลยแพ้คดี การที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์หรือไม่มีผลเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยทนายจำเลยลงชื่อทราบนัดในรายงานกระบวนพิจารณานัดสืบพยานดังกล่าว ครั้งถึงวันนัดทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดรังวัดทำแผนที่พิพาทในคดีอื่น เป็นการไม่รับผิดชอบในวันนัดของตนที่ได้นัดไว้กับศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยให้สืบพยานจำเลยไปโดยไม่มีทนายจำเลยซักถาม จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่มิชอบด้วยกฎหมายและผิดระเบียบ ส่วนที่ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดที่สองซึ่งนัดสืบพยานโจทก์เวลา 8.30 นาฬิกา แต่โจทก์มาศาลเมื่อเวลา 11.45นาฬิกา โดยโจทก์ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ก่อนหน้านั้นแล้วว่ารถเสียระหว่างเดินทางมาศาล การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนการสืบพยานโจทก์ดังกล่าวไปเป็นตอนบ่ายโดยไม่ยอมให้โจทก์เลื่อนคดีไปนั้น เป็นการดำนินกระบวนพิจารณาที่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยโดยชอบ มิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) และ 246 ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไป ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท อันเป็นการขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ ต่อมาโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีอาญาฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งดังกล่าว การจะพิจารณาว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวหรือไม่นั้นจะต้องปรากฏว่าความรับผิดในทางแพ่งในคดีนี้เกิดขึ้นจากผลของการกระทำผิดอาญาโดยตรง ที่จำเลยเป็นพยานเบิกความเท็จในคดีแพ่งไม่ก่อให้เกิดผลโดยตรงที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเหตุที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในคดีแพ่งดังกล่าวเพราะศาลฟังว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญา ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น การกำหนดภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบ ศาลชั้นต้นมีอำนาจทีจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบก่อนก็ได้ การกำหนดภาระการพิสูจน์ในคดีนี้ไม่ได้ถือเอาเหตุที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์มาวินิจฉัยให้จำเลยแพ้คดี การที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์หรือไม่มีผลเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยทนายจำเลยลงชื่อทราบนัดในรายงานกระบวนพิจารณานัดสืบพยานดังกล่าว ครั้งถึงวันนัดทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดรังวัดทำแผนที่พิพาทในคดีอื่น เป็นการไม่รับผิดชอบในวันนัดของตนที่ได้นัดไว้กับศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยให้สืบพยานจำเลยไปโดยไม่มีทนายจำเลยซักถาม จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่มิชอบด้วยกฎหมายและผิดระเบียบ ส่วนที่ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดที่สองซึ่งนัดสืบพยานโจทก์เวลา 8.30 นาฬิกา แต่โจทก์มาศาลเมื่อเวลา 11.45นาฬิกา โดยโจทก์ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ก่อนหน้านั้นแล้วว่ารถเสียระหว่างเดินทางมาศาล การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนการสืบพยานโจทก์ดังกล่าวไปเป็นตอนบ่ายโดยไม่ยอมให้โจทก์เลื่อนคดีไปนั้น เป็นการดำนินกระบวนพิจารณาที่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยโดยชอบ มิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) และ 246 ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไป ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท อันเป็นการขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3813/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ ต่อมาโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีอาญาฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งดังกล่าว การจะพิจารณาว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวหรือไม่นั้นจะต้องปรากฏว่าความรับผิดในทางแพ่งในคดีนี้เกิดขึ้นจากผลของการกระทำผิดอาญาโดยตรง ที่จำเลยเป็นพยานเบิกความเท็จในคดีแพ่งไม่ก่อให้เกิดผลโดยตรงที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท เหตุที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในคดีแพ่งดังกล่าวเพราะศาลฟังว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญา ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่) ที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น การกำหนดภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบก่อนก็ได้การกำหนดภาระการพิสูจน์ในคดีนี้ไม่ได้ถือเอาเหตุที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์มาวินิจฉัยให้จำเลยแพ้คดี การที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์หรือไม่มีผลเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยทนายจำเลยลงชื่อทราบนัดในรายงานกระบวนพิจารณานัดสืบพยานดังกล่าว ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดรังวัดทำแผนที่พิพาทในคดีอื่นเป็นการไม่รับผิดชอบในวันนัดของตนที่ได้นัดไว้กับศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี โดยให้สืบพยานจำเลยไปโดยไม่มีทนายจำเลยซักถาม จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่มิชอบด้วยกฎหมายและผิดระเบียบ ส่วนที่ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดที่สองซึ่งนัดสืบพยานโจทก์เวลา 8.30 นาฬิกา แต่โจทก์มาศาลเมื่อเวลา11.45 นาฬิกา โดยโจทก์ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ก่อนหน้านั้นแล้วว่ารถเสียระหว่างเดินทางมาศาล การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนการสืบพยานโจทก์ดังกล่าวไปเป็นตอนบ่ายโดยไม่ยอมให้โจทก์เลื่อนคดีไปนั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยโดยชอบ มิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(1)ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(1) และ 246 ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไป ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท อันเป็นการขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการใช้อาวุธมีดแทงอวัยวะสำคัญจนถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้มีดปลายแหลมตัวมีดยาวประมาณ 5 นิ้ว แทงที่หน้าท้องผู้ตายอันเป็นอวัยวะสำคัญและผู้ตายได้รับบาดแผลกว้าง 2 เซนติเมตรตรงลำตัวด้านซ้ายต่ำกว่าสะดือเล็กน้อยลึกลงไปมากในช่องท้องเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากเลือดตกในช่องท้องมากแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนทหารต้องมีฝ่ายทหารร่วมด้วย หากแก้ไขการสอบสวนให้ถูกต้องแล้ว ถือว่าการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย
พนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทหารประจำการที่ร่วมกระทำผิดกับพลเรือน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ หลังจากวันนั้นพันโทส.นายทหารพระธรรมนูญ ได้เข้าฟังการสอบสวนพนักงานสอบสวนจึงได้สอบสวนจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมต่อหน้าพันโทส.จำเลยที่ 1 ได้ให้การปฏิเสธ ส่วนการสอบสวนพยานอื่นพันโทส.ได้เข้าฟังการสอบสวนพยาน โดยพนักงานสอบสวนได้สอบสวนพยานและได้อ่านสำนวนการสอบสวนทั้งหมดให้พันโทส.ฟังแล้วพันโทส.คงติดใจประเด็นการสอบสวนบางประเด็นจะได้ทำบันทึกให้พนักงานสอบสวนในภายหลัง ส่วนการสอบสวนพยานเพิ่มเติมต่อไปนั้นพันโทส.ไม่ติดใจฟังการสอบสวน จึงฟังได้ว่าการที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 1 โดยไม่มีฝ่ายทหารเข้าร่วมในการสอบสวนนั้น ได้มีการแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว การสอบสวนจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ: ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคุ้มครองแรงงาน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่ากิจการจำเลยเป็นการจ้างแรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันการที่โจทก์อุทธรณ์ว่ากิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจการจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อออกจากงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานในสถานประกอบการที่ไม่แสวงหากำไรและการรับข้อเท็จจริงของคู่ความ
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างแรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ ศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ การจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อออกจากงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กิจการไม่แสวงหากำไรไม่อยู่ภายใต้ประกาศคุ้มครองแรงงาน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจึงไม่เกิดขึ้น
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน การ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ แสวงกำไรทางเศรษฐกิจ การจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ ภายใต้ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515ข้อ 2 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองอุบัติเหตุจากผู้ขับขี่ใบอนุญาตหมดอายุเกิน 180 วัน
ข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.13.6 และข้อ 3.9.2 ระบุว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดอายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดเหตุดังนี้ เมื่อใบอนุญาตขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ขาดต่ออายุเกินกว่า 180วัน ในเวลาเกิดเหตุ กรณีจึงต้องด้วยเงื่อนไขในข้อ 2.13.6 และ 3.9.2ที่การประกันภัยของจำเลยที่ 3 ไม่คุ้มครองถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.14 ที่ระบุว่าบริษัทจะไม่ยกความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์และอื่น ๆ เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 นั้น ไม่อาจจะนำมาปรับเป็นข้อยกเว้นของข้อ 2.13.6 และ 3.9.2 ได้เพราะความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ไม่ใช่เป็นข้อยกเว้นแห่งความรับผิดตามข้อ 2.13.6 และ3.9.2 ข้อยกเว้นความรับผิดตามข้อ 2.13.6 และ 3.9.2 ดังกล่าวเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งมีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดเท่านั้น ไม่ทำให้กรมธรรม์ประกันภัยกลายเป็นไม่สมบูรณ์ไป จึงไม่อาจนำมาปรับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: ใบอนุญาตขับขี่ขาดอายุเกิน 180 วัน ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด
กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยไว้ว่า การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆหรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน เมื่อใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์ขาดต่ออายุลงเกินกว่า 180 วันในเวลาเกิดเหตุจึงต้องตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ดังกล่าว จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ซึ่งถูกรถยนต์คันดังกล่าวชนได้รับบาดเจ็บ กรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่าผู้รับประกันภัยจะไม่ยกความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดนั้น จะนำมาปรับกับเงื่อนไขที่เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยไม่ได้ เพราะข้อยกเว้นแห่งความรับผิดเพียงทำให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดเท่านั้น ไม่ทำให้กรมธรรม์ประกันภัยกลายเป็นไม่สมบูรณ์