คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ตัน เวทไว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงานในครอบครัวเป็นค่าเสียหายจากการขาดไร้อุปการะ, ค่าใช้จ่ายงานศพจำเป็น, ดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่ง ก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับ ป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานในครอบครัวได้ด้วย
ค่าอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าแรงงานในครอบครัวจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่งก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับ ป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานในครอบครัวได้ด้วย ค่าอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากการเสียชีวิตจากละเมิด ครอบคลุมค่าขาดไร้อุปการะและค่าขาดแรงงานในครอบครัว
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่งหากเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจากการกระทำละเมิดทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีผู้ตายต้องขาดแรงงานในครอบครัวไปด้วย โจทก์ที่ 1 ก็สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้อีก ก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานใน ครอบครัวได้ด้วย ค่าอาหารและเครื่องดื่มเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระภิกษุที่สวดพระอภิธรรมเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จกรณีเกษียณอายุ: การตีความระเบียบและข้อบังคับของรัฐวิสาหกิจ
จำเลยมีคำสั่งที่ 240/2528 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชยการอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวได้กำหนดไว้ในข้อ 1.3 ว่า พนักงานประจำซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ให้ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกจากนี้จำเลยยังได้มีข้อบังคับฉบับที่ 47 ว่าด้วยเงินบำเหน็จพ.ศ. 2524 ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 6(1) ว่าพนักงานที่ออกจากงานในวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ และกำหนดไว้ในข้อ 8 ว่าพนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น จากคำสั่งที่ 240/2528ประกอบกับข้อบังคับฉบับที่ 47 เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกมีเงินค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยแล้ว ข้อบังคับฉบับที่ 47 ข้อ 8 เป็นข้อยกเว้นของข้อ 6 เมื่อเข้าตามเงื่อนไขในข้อ 8 แล้วก็จะไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตาม ข้อ 6 อีก ดังนั้น จึงหาได้หมายความว่าถ้ามีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ 6 แล้วจะนำข้อ 8 มาใช้บังคับอีกไม่ได้ คำสั่งของจำเลยที่ 240/2528 เป็นระเบียบที่ใช้รวมถึงการจ่ายค่าชดเชย กรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุด้วย ค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกตามคำสั่งดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 47 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคหนึ่งอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกับการจ่ายเงินบำเหน็จกรณีเกษียณอายุ: การตีความระเบียบและข้อบังคับ
จำเลยมีคำสั่ง เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชยการอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชยกำหนดว่า "พนักงานประจำซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ให้ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน" และจำเลยมีข้อบังคับ ฉบับที่ 47 ว่าด้วยเงินบำเหน็จกำหนดว่า "พนักงานที่ต้องออกจากงานในวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้"และ "พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ ก็ให้จ่ายเพิ่มแต่จำนวนที่ต่ำกว่า คำสั่งดังกล่าวเห็นได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
ข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ ข้อ 6 กำหนดว่า พนักงานที่ออกจากงานกรณีใดบ้างที่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จ ส่วนข้อ 8 เป็นการกำหนดเงื่อนไขว่า ถ้าพนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีกเงื่อนไขข้อ 8 จึงเป็นข้อยกเว้นของข้อ 6 มิได้หมายความว่า ถ้ามีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ 6 แล้ว จะนำข้อ 8 มาใช้บังคับอีกไม่ได้
คำสั่งของจำเลยเรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชย การอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชย เป็นระเบียบที่ใช้รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยกรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุด้วย ค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามคำสั่งดังกล่าว ซึ่งจ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วันจึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคสองแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุรัฐวิสาหกิจ: การพิจารณาเงินบำเหน็จและค่าชดเชยตามระเบียบและข้อบังคับ
ค่าชดเชยที่รัฐวิสาหกิจจำเลยจ่ายให้แก่พนักงานกรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุตามระเบียบของจำเลย มีจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ถือเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคหนึ่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเมื่อเจ้าหนี้ไม่ทราบข้อเท็จจริงทำให้เสียเปรียบ และผลกระทบต่อจำเลยที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงไม่ประสงค์เข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ส่วนทนายจำเลยทั้งสามขอถอนตัวจากการเป็นทนายของจำเลยที่ 1 แต่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาทนายจำเลยกลับอุทธรณ์และฎีกาในฐานะทนายจำเลยทั้งสามและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และฎีกาตลอดจนศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะยกอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยที่ 1กับยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2กับจำเลยที่ 3 แม้จะถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย แต่เมื่อเป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาชอบที่จะยกฟ้องโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 1 ด้วยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์บัตรเอทีเอ็มแล้วกดเงิน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างวาระ
การที่จำเลยได้ลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. 1 ใบราคา 30 บาท ของธนาคารกสิกรไทย แล้วจำเลยได้นำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมานั้นไปเข้าเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ กดเบิกเงินเอาไปจำนวน 5,000 บาทแล้วได้นำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ดังกล่าวโยนทิ้งน้ำไปนั้น ทรัพย์ที่จำเลยลักไปจากธนาคารกสิกรไทยเป็นคนละประเภทกัน แม้จำเลยจะมีความประสงค์เพื่อเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมาไปกดเบิกเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกระทงลงโทษจำเลยได้ การกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์บัตรเอทีเอ็มและกดเงินเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยลักบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม ของธนาคารนายจ้าง1 ใบ ไปในขณะที่ได้รับมอบหมายให้จัดรหัสของบัตรให้เข้าคู่กันวันต่อมาจำเลยนำบัตรเงินสดทันใจที่ลักมาไปเข้าเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติของนายจ้างกดเบิกเงินเอาไปจำนวน 5,000 บาท ทรัพย์ที่จำเลยลักไปเป็นคนละประเภทกัน แม้จำเลยจะมีความประสงค์เพื่อเอาบัตรเงินสดทันใจที่ลักมาไปกดเบิกเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติแต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระกันแยกกระทงลงโทษจำเลยได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์นายจ้างและการกดเงินจากบัตร ATM เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ลักเอาบัตรเงินสดทันใจเอ.ที.เอ็ม. ของธนาคาร ก. นายจ้างแล้วนำไปเข้าเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ ของธนาคาร ก. กดเบิกเงินไปจำนวน 5,000 บาท แม้จำเลยจะมีความประสงค์เพื่อเอาบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมาไปกดเบิกเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ แต่ทรัพย์ที่จำเลยลักไปจากธนาคาร ก. นายจ้างเป็นคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกระทงลงโทษจำเลยได้ การกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.
of 72