พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การบรรยายรายละเอียดอาวุธปืนและกระสุนปืนในฟ้อง
คำฟ้องโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนยิงฆ่า ด.ผู้ตายกระสุนปืนถูกด.ได้รับบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา เป็นคำฟ้องที่บรรยายชัดแจ้งแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจฟ้องโจทก์ได้ดีว่าถูกฟ้องฐานใช้อาวุธปืนยิงด. จนถึงแก่ความตาย โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธปืนชนิดใด กระสุนปืนประกอบด้วยหัวกระสุนปืนชนิดใดเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องค่าเสียหายจากประกันภัยรถยนต์: ใช้มาตรา 882 หรือ 448
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย อันเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสอง มีอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรก จะนำเอาอายุความในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัย: สิทธิรับช่วงสิทธิ vs. มูลละเมิด
ผู้รับประกันภัยอาศัยสิทธิโดยการรับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยฟ้องเรียกเงินที่ได้ชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปตามสัญญาประกันภัยจากผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตเลื่อนนัดสืบพยานเนื่องจากทนายจำเลยป่วยและยื่นคำร้องหลังศาลสั่งงดสืบพยาน ศาลใช้ดุลพินิจชอบแล้ว
ตามคำร้อง ของ ทนายจำเลยขอเลื่อนวันนัดสืบพยานจำเลย ซึ่งนัดเวลา 13.30 นาฬิกา ปรากฏว่าทนายจำเลยป่วยเป็นโรคท้องร่วงอย่างแรงก่อนวันนัด 1 วัน นั้น ทนายจำเลยมีโอกาสยื่นคำร้องขอเลื่อนได้ก่อนเวลา 13.30 น. ของวันนัด แต่เสมียนทนายจำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวในวันนัดเวลา 14.00 น.หลังจากศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยแล้ว ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจึง ชอบ แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเก่าลงวันที่ไม่สุจริต โจทก์ทนายความรู้เห็นเป็นใจ ฉ้อฉลจำเลย ศาลไม่รับรอง
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทอันเป็นเช็คผู้ถือมอบให้ ส. ยึดถือไว้เมื่อปี 2516 มีจำเลยที่ 2 สลักหลังโดยไม่ได้ลงวันที่ออกเช็ค ต่อมาปี 2529 ส. จึงนำเช็คพิพาทมาจดวันเดือนปีที่สั่งจ่าย แล้วมอบให้แก่โจทก์หลังจากที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แล้วเป็นเวลานานกว่า 13 ปี ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1ได้ยินยอมให้ ส.ทำเช่นนั้นจะถือว่าส. ได้จดวันเดือนปีที่ออกเช็คพิพาทโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์เป็นทนายความ โจทก์อ้างว่าได้รับเช็คพิพาทมาจาก ส.เป็นค่าว่าความและทราบว่าเช็คพิพาทสั่งจ่ายตั้งแต่ปี 2516 เมื่อลายมือชื่อและสีของน้ำหมึกที่จดวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเช็คพิพาทแตกต่างจากลายมือชื่อและสีของน้ำหมึกของผู้สั่งจ่ายเห็นได้ชัดโจทก์จะต้องทราบข้อกฎหมายว่าผู้ที่จะจดวันเดือนปีที่ออกเช็คพิพาทที่ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่สั่งจ่ายได้จะต้องกระทำโดยสุจริต และจดลงตามวันที่ถูกต้องแท้จริง การที่โจทก์ไม่สงสัยว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่ใครเป็นผู้สั่งจ่าย และผู้จดวันที่สั่งจ่ายเป็นใครนั้นเป็นการผิดปกติวิสัยของโจทก์ซึ่งมีอาชีพทนายความ โจทก์รับเช็คพิพาทจาก ส. ไว้โดยรู้ว่าเป็นเช็คที่จำเลยออกมานานกว่า 10 ปีแล้วย่อมถือว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกับ ส. ฉ้อฉลจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดวันเดือนปีเช็คหลังออกไปนานกว่า 13 ปี โดยไม่สุจริต และการร่วมกันฉ้อฉลทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คผู้ถือมอบให้ ส.ยึดถือไว้เมื่อปี 2516 มีจำเลยที่ 2 สลักหลังโดยไม่ได้ลงวันที่ออกเช็ค ต่อมาปี 2529 ส. นำเช็คมาจดวันเดือนปีที่ออกเช็คแล้วมอบให้แก่โจทก์หลังจากที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คให้แล้วเป็นเวลานานกว่า13 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอมให้ ส. ทำเช่นนั้น จะถือว่าส. ได้จดวันเดือนปีที่ออกเช็คโดยสุจริตหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การจดวันเดือนปีที่ไม่สุจริต และความรับผิดของผู้ถือเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังโดยไม่ได้ลงวันเดือนปีที่สั่งจ่ายไว้แล้วจำเลยที่ 1 มอบเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่ ส. เมื่อปี พ.ศ. 2516ต่อมา ส. ลงวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเป็นวันที่ 16 เมษายน 2529แล้วจึงมอบเช็คให้โจทก์ ดังนี้ วันที่ในเช็คไม่ใช่วันที่ถูกต้องแท้จริงและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ ส. ทำเช่นนั้นจึงจะถือว่า ส. จดวันเดือนปีที่ออกเช็คพิพาทโดยสุจริตหาได้ไม่โจทก์มีอาชีพทนายความ หากได้รับเช็คพิพาทจาก ส. เป็นค่าว่าความจริง ย่อมจะต้องทราบทันทีว่าเช็คพิพาท ผู้สั่งจ่ายเช็คมิได้ลงวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเอาไว้ เพราะทั้งลายมือชื่อและสีของน้ำหมึกที่จดวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเช็คพิพาทแตกต่างจากลายมือและสีของน้ำหมึกของผู้สั่งจ่ายอย่างเห็นได้ชัด ทั้งโจทก์จะต้องทราบข้อกฎหมายว่าผู้ที่จะจดวันเดือนปีที่ออกเช็คพิพาทที่ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่สั่งจ่ายได้จะต้องกระทำโดยสุจริตและจดลงตามวันที่ถูกต้องแท้จริงโดยเฉพาะเช็คพิพาทโจทก์ก็ทราบว่า เป็นเช็คที่ได้ออกใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 การที่โจทก์ไม่สงสัยว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่ผู้ใดเป็นผู้สั่งจ่าย และผู้ที่จดวันที่สั่งจ่ายเป็นใครนั้น นับว่าเป็นการผิดปกติวิสัยของโจทก์ซึ่งมีอาชีพทนายความ กรณีถือได้ว่าโจทก์ไม่สุจริต คบคิดกับ ส. ฉ้อฉลจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงหาจำต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ: ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคุ้มครองแรงงาน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่ากิจการจำเลยเป็นการจ้างแรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันการที่โจทก์อุทธรณ์ว่ากิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจการจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อออกจากงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กิจการไม่แสวงหากำไรไม่อยู่ภายใต้ประกาศคุ้มครองแรงงาน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจึงไม่เกิดขึ้น
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน การ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ แสวงกำไรทางเศรษฐกิจ การจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ ภายใต้ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515ข้อ 2 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานในสถานประกอบการที่ไม่แสวงหากำไรและการรับข้อเท็จจริงของคู่ความ
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างแรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ ศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ การจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อออกจากงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จากจำเลย