คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ตัน เวทไว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์ในการคัดค้านการยกเลิกการขายทอดตลาดที่ตนเองซื้อ หากไม่เคยคัดค้านตั้งแต่แรก
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการขายตลาดทรัพย์ที่ยึด ผู้ซื้อทรัพย์มิได้แถลงคัดค้านคำร้อง ของ จำเลยที่ 1 ต้องถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจคัดค้านตามที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไว้แล้ว ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ได้เข้ามาในคดีเกี่ยวกับการร้องคัดค้านการขายทอดตลาดมาแต่แรก ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด: การไม่คัดค้านคำร้องยกเลิกการขายทอดตลาดทำให้ขาดสิทธิในการฎีกา
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินจำนวน 4 แปลงของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ประมูลซื้อที่ดินได้1 แปลง ส. ประมูลซื้อที่ดินได้ 3 แปลง จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องว่านัดไต่สวน สำเนาให้โจทก์ เจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจะคัดค้านประการใดให้ยื่นคำคัดค้านเข้ามาก่อนหรือในวันนัด มิฉะนั้นถือว่าไม่คัดค้าน ให้ผู้ร้องนำส่งใน 7 วันส. ผู้ซื้อทรัพย์ได้ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวแล้ว ไม่ได้แถลงคัดค้านคำร้องของจำเลยก่อนหรือในวันนัดไต่สวนทั้งในวันนัดไต่สวนครั้งแรกส. ผู้ซื้อทรัพย์ก็มาศาลและฟังการพิจารณาโดยตลอดก็มิได้แถลงคัดค้านคำร้องของจำเลยดังนี้ถือว่าส. ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจคัดค้าน ส. ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ได้เข้ามาในคดีเกี่ยวกับการร้องคัดค้านการขายทอดตลาดตั้งแต่แรก จึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของส. ผู้ซื้อทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินวางซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเมื่อผู้ซื้อชำระราคาครบถ้วน และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ขอรับเงินที่วางไว้ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดครั้งก่อนคืน ซึ่งตามประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขในการขายว่า เมื่อตกลงรับซื้อ ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันที แต่ถ้าเป็นที่ดินหรือทรัพย์ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจให้ผู้ซื้อวางเงินก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระกับค่าใช้จ่ายการเก็บรักษาภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน ก็ได้ และตามรายงานเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ ดังนี้ เงินที่โจทก์วางไว้ในการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อไม่ใช่เงินมัดจำ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ ศาลจึงสั่งริบไม่ได้ และในการขายทอดตลาดครั้งหลังโจทก์ก็เป็นผู้ซื้อทรัพย์ในราคาเดิม โจทก์ชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นและชำระราคาครบถ้วนแล้ว กรณีไม่มีความเสียหายใด ๆจึงต้องคืนเงินที่โจทก์วางไว้ดังกล่าวทั้งหมด เหตุที่ต้องมีการขายทอดตลาดครั้งหลังเพราะโจทก์ไม่ชำระราคาภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายที่ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็น จึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินวางซื้อทรัพย์จากการผิดสัญญาซื้อขายและการคืนเงินเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน
ตามประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขในการขายว่า เมื่อตกลงรับซื้อแล้วผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันทีแต่ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นที่ดินหรือทรัพย์อย่างอื่นซึ่งมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไปเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจให้ผู้ซื้อวางเงินก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระกับค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นถ้าหากมีภายในเวลาไม่เกิน 15 วันก็ได้ และตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ แสดงว่าเงินจำนวน 50,000 บาทที่โจทก์วางไว้ในวันขายสำหรับการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ ศาลจึงสั่งริบไม่ได้ ในการขายทอดตลาดครั้งหลัง โจทก์เป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น และเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ในราคา 195,000 บาท เท่าเดิมทั้งโจทก์ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว กรณีจึงไม่มีความเสียหายใด ๆต้องคืนเงินที่โจทก์วางไว้ในการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนทั้งหมดให้โจทก์ การที่ต้องมีการขายทอดตลาดครั้งหลังเพราะโจทก์ไม่ชำระราคาภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายที่ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็น จึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีในช่วงยกเว้นตาม พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) ผู้เสียภาษีต้องยื่นคำขอและชำระภาษีตามเกณฑ์
โจทก์ฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะการประเมินดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลาที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีจนกว่าจะถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 ตามคำฟ้องโจทก์เช่นนี้ เป็นการยกข้อกล่าวอ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจ เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม 2529 และได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียตามมาตรานี้ ภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอด้วย เมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีและชำระภาษีตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาตามพระราชกำหนดดังกล่าวโดยโจทก์ยังคงกล่าวอ้างและยืนยันในคำฟ้องปฏิเสธว่า โจทก์ไม่มีเงินได้และไม่ได้กระทำการค้าที่จะต้องเสียภาษี กรณีของโจทก์จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือมีคำสั่งให้เสียภาษีตามพระราชกำหนดดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีในช่วงพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) ผู้เสียภาษีต้องยื่นคำขอและชำระภาษีตามกำหนด
โจทก์ฟ้องว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลาที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2529 ยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีจนกว่าจะถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 เป็นการยกข้อกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจ เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน อย่างไรก็ตามผู้ต้องเสียภาษีที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรตามมาตรา 30 จะต้องเป็นผู้ที่ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม2529 และได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอด้วย แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีและชำระภาษีตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาตามพระราชกำหนด ดังกล่าว โจทก์คงกล่าวอ้างเพียงว่าโจทก์ไม่มีเงินได้และไม่ได้กระทำการค้าที่จะต้องเสียภาษี จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีตามพระราชกำหนด เป็นฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับยกเว้นการตรวจสอบภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร ต้องยื่นคำขอและชำระภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรจะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 นั้น จะต้อง เป็นผู้ที่ ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดภายในเดือนกรกฎาคม 2529 และได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอ แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีและชำระภาษีตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลา ตามพระราชกำหนด ดังกล่าว โดยโจทก์ยังคงกล่าวอ้างและยืนยันในคำฟ้องปฏิเสธว่า โจทก์ไม่มีเงินได้และไม่ได้กระทำการค้าที่จะต้องเสียภาษีกรณีของโจทก์จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือมีคำสั่งให้เสียภาษีตามพระราชกำหนดดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาของคู่สัญญาสำคัญกว่าข้อตกลงในสัญญา หากมีการผ่อนผันและรับชำระหนี้ต่อเนื่อง สัญญาเดิมยังคงมีผล
แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและผู้เช่าซื้อต้อง ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อโดยพลันก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่ต้นตลอดมา โดยมิได้ชำระตรงตามกำหนดแต่ละงวด ซึ่งโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อก็ผ่อนผัน ยอมรับค่าเช่าซื้อที่ชำระไม่ครบตามกำหนดนั้นตลอดมา แสดงว่า โจทก์ไม่ถือเอาข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ แต่โจทก์กลับยังถือว่า สัญญาเช่าซื้อมีผลต่อไป จึงได้ยอมรับค่าเช่าซื้อไว้ เมื่อคู่สัญญา มีเจตนาถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังมีผลต่อกัน และต่อมาก็มิได้มีการ บอกเลิกสัญญาแก่กันเช่นนี้ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียก ค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่าข้อตกลง หากมีการผ่อนผันและยอมรับชำระหนี้ต่อเนื่อง แม้มีข้อตกลงเลิกสัญญา
แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและผู้เช่าซื้อต้อง ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อโดยพลันก็ตาม แต่ ปรากฏว่าจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่ต้นตลอดมา โดย มิได้ชำระตรงตามกำหนดแต่ละงวด ซึ่งโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อก็ผ่อนผัน ยอมรับค่าเช่าซื้อที่ชำระไม่ตรงตามกำหนดนั้นตลอดมา แสดงว่าโจทก์ ไม่ถือเอาข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญแต่โจทก์กลับยังถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังมีผลต่อไปจึงได้ยอมรับค่าเช่าซื้อไว้ เมื่อคู่สัญญามี เจตนาถือว่าสัญญาเช่าซื้อ ยัง มีผลต่อกัน และต่อมาก็มิได้มีการบอกเลิก สัญญาแก่กันเช่นนี้โจทก์จึง ยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกกันหรือไม่ เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระ แต่ผู้ให้เช่าซื้อยังรับชำระต่อเนื่อง
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดใด ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและผู้เช่าซื้อต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อโดยพลัน แต่ทางปฏิบัติจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแต่ละงวดหลังจากครบกำหนดแล้ว โจทก์ก็ผ่อนผันยอมรับชำระตลอดมา โจทก์ก็อ้างในคำฟ้องว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 17 แต่หลังจากนั้นโจทก์ยังยินยอมรับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 อีกหลายครั้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ถือเอาข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ แต่ถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังมีผลต่อไป เมื่อคู่สัญญามีเจตนาถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังมีผลต่อกัน และต่อมามิได้มีการบอกเลิกสัญญาแก่กัน โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง คำฟ้องของโจทก์มิได้อ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แต่โจทก์อ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อจำเลยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 17 ที่โจทก์ฎีกาว่าการที่โจทก์ยึดรถคืนกลับมาถือได้ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 คู่สัญญาต้องกลับสู่ฐานะเดิม จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
of 72