พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ต้นไม้ในเขตป่าสงวน: ความแตกต่างระหว่างข้ออ้างกับข้อเท็จจริงส่งผลให้ต้องยกฟ้อง
ต้นไม้ของกลางขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผู้เสียหายครอบครองทำประโยชน์อยู่ ย่อมเป็นของรัฐไม่ใช่ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องว่าเป็นของผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ไม้ในป่าสงวน: การฟ้องลักทรัพย์ต้องระบุเจ้าของที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ต้นไม้ของกลางขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผู้เสียหายครอบครองทำประโยชน์อยู่ ย่อมเป็นของรัฐไม่ใช่ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องว่าเป็นของผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกา: ผลของการรับทราบวันนัดฟังคำสั่ง และการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3และให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 2มีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อ ทราบวันนัดไว้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์โดยสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตาม ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว ตั้งแต่ วันที่ 22 มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำส่งสำเนา ฎีกาในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 3มีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว แต่ผู้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งดังกล่าว มิใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3แต่เป็นผู้อื่น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์โดยเป็นการสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล การแสดงเจตนาและการแจ้งคำสั่ง
ฎีกาของจำเลยที่ 2 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อไว้ และศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำ ส่งสำเนาให้โจทก์ใน 7 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่ง ในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 เพิกเฉย ไม่ จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของ ศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อ ไว้ ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือ ทนายจำเลยอย่างไร ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้ จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วัน แต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจาก จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่ง ศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกา: ผลของการรับทราบคำสั่งศาล และการลงลายมือชื่อรับทราบ
ฎีกาของจำเลยที่ 2 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้และศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น เป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าวถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 22มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 อย่างไร ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วันแต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 อย่างไร ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วันแต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานพยานแวดล้อมเชื่อมโยงจำเลยกับการกระทำความผิดฆ่าผู้อื่น
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นคนร้ายขณะเกิดเหตุ คงมีแต่พยานแวดล้อมเห็นจำเลยกับพวกชวนผู้ตายไปที่บ้าน อ.ก่อนเวลาเกิดเหตุเพื่อชวน ม.ภรรยาผู้ตายกลับบ้าน เมื่อ ม.ไม่ยอมกลับ ผู้ตายก็เดินกลับบ้านคนเดียว ทั้งโจทก์มีพนักงานสอบสวนเบิกความยืนยันว่าวันรุ่งขึ้นหลังเกิดเหตุ อ.พาจำเลยกับพวกเข้ามอบตัวให้การรับสารภาพ และจำเลยได้นำพนักงานสอบสวนไปยึดเหล็กบ่วงที่ใช้ตีผู้ตายเป็นของกลาง พยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดทางอาญาจากพยานแวดล้อมและการรับสารภาพ
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นคนร้ายขณะเกิดเหตุ คงมีแต่พยานแวดล้อมเห็นจำเลยกับพวกชวนผู้ตายไปที่บ้าน อ. ก่อนเวลาเกิดเหตุเพื่อชวน ม. ภรรยาผู้ตายกลับบ้าน เมื่อ ม.ไม่ยอมกลับผู้ตายก็เดินกลับบ้านคนเดียว ทั้งโจทก์มีพนักงานสอบสวนเบิกความยืนยันว่าวันรุ่งขึ้นหลังเกิดเหตุ อ. พาจำเลยกับพวกเข้ามอบตัวให้การรับสารภาพ และจำเลยได้นำพนักงานสอบสวนไปยึดเหล็กบ่วงที่ใช้ตีผู้ตายเป็นของกลาง พยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังวันชี้สองสถานต้องไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อหาเดิม หากทำเช่นนั้นถือเป็นการยื่นคำร้องที่ไม่ชอบ
ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเป็นเรื่องจำเลยยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม เปลี่ยนแปลงข้ออ้างข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(3)ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดจำเลยจึงต้องขอแก้ไขเสียก่อนวันชี้สองสถาน เมื่อจำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากวันชี้สองสถาน โดยไม่ปรากฏว่ามิอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานและมิใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังวันชี้สองสถานต้องเป็นเรื่องแก้ไขข้อบกพร่องเล็กน้อย ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงข้อต่อสู้ใหม่
การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การโดยยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม เปลี่ยนแปลงข้ออ้าง ข้อเถียงเพื่อสนับสนุน ข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179(3) และไม่ใช่กรณีแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อย ในรายละเอียด ทั้งเรื่องดังกล่าวมิใช่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนด้วยแล้ว จำเลยจะต้องขอแก้ไขเสียก่อนวันชี้สองสถาน มิฉะนั้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา180 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับเหตุป้องกันตัว
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลย ไม่ได้แก้บทมาตราด้วยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแทงผู้เสียหายหลังจากจำเลยถูกผู้เสียหายยิงและใช้ปืนตีผ่านพ้นไปแล้วและขณะผู้เสียหายวิ่งหนีไป จึงไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึงเพราะเป็นภยันตรายที่ผ่านพ้นไป การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยฎีกาว่าจำเลยแทงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายตามเข้ามาตีจำเลยหลังจากยิงจำเลยแล้ว และเมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีจำเลยวิ่งไล่ตามไปกอดปล้ำผู้เสียหาย โดยจำเลยไม่ได้ถือมีดไล่ตามไปแทง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายดังนี้ ฎีกาของจำเลยเท่ากับเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว