คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ตัน เวทไว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้เถียงข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษ และการป้องกันตัวที่พ้นเหตุ
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยแทงผู้เสียหายหลังจาก จำเลยถูกผู้เสียหายยิงและใช้ปืนตีผ่านพ้นไปแล้ว การกระทำของ จำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษ ที่ลงแก่จำเลย ไม่ได้แก้บทมาตราและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีดังนี้ย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218วรรคแรก ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยแทงผู้เสียหายในขณะ ที่ผู้เสียหายตามเข้ามาตีจำเลยหลังจากยิงจำเลยแล้ว และเมื่อ ผู้เสียหายวิ่งหนี จำเลยวิ่งไล่ตามไปกอดปล้ำผู้เสียหาย โดยจำเลย ไม่ได้ถือมีดไล่ตามไปแทงการ กระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมายนั้นเท่ากับ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ ศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218: การโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ถือเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 72 ลงโทษจำคุก 5 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำคุก 3 ปี ตามบทกฎหมายที่ศาลชั้นต้นวางมา เช่นนี้ เป็นการแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยไม่ได้แก้บทมาตราด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแทงผู้เสียหายหลังจากจำเลยถูกผู้เสียหายยิงและใช้ปืนตีผ่านพ้นไปแล้วและขณะผู้เสียหายวิ่งหนีไป จึงไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึงเพราะเป็นภยันตรายที่ผ่านพ้นไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยฎีกาว่าจำเลยแทงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายตามเข้ามาตีจำเลยหลังจากยิงจำเลยแล้ว และเมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีจำเลยวิ่งไล่ตามไปกอดปล้ำผู้เสียหายโดยจำเลยไม่ได้ถือมีดไล่ตามไปแทง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยเท่ากับเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม บทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำพิพากษาและการพิจารณาอุทธรณ์หลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีแรงงาน
ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขอให้พิจารณาใหม่ ศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดจึงอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ต่อมาโจทก์และจำเลยตกลงกันได้ ศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนกระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง แต่ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาหรือคำสั่งอื่น ๆ ของศาลฎีกา แม้โจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย และศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ถอนอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงต้องพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมไปแล้ว ข้อโต้แย้งตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงหมดไปไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยคำนวณจากยอดซื้อขายน้ำมันและกำไรต่อลิตร ยอมรับการประเมินของเจ้าพนักงานแล้วชอบด้วยกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบยอดขายน้ำมันของโจทก์โดยนำเอายอดซื้อคงเหลือต้นปีบวกด้วยยอดซื้อตลอดปี แล้วลบด้วยยอดคงเหลือปลายปี ผลที่ได้ถือเป็นยอดขายของโจทก์ เมื่อปรากฏว่ายอดขายของโจทก์จากการตรวจสอบดังกล่าวสูงกว่ายอดขายตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ส่งมาให้ตรวจสอบ จึงนำยอดขายที่ได้จากใบเสร็จรับเงินลบออกจากยอดขายที่ได้จากการตรวจสอบแล้วถือว่าผลต่างที่ได้เป็นจำนวนน้ำมันที่โจทก์ขายไปโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน และประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มนั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ในชั้นตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีว่ายินยอมให้เพิ่มยอดขายต่อลิตรในอัตราลิตรละ 0.02 บาท จากราคาขายที่แสดงไว้เดิม ดังนี้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยถือเกณฑ์กำไรลิตรละ 0.02 บาทได้โดยชอบ โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากยอดขายน้ำมันที่ตรวจสอบพบความแตกต่างจากเอกสาร และการยินยอมเพิ่มยอดขายต่อลิตรของโจทก์
การที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบยอดขายน้ำมันของโจทก์โดยนำเอายอดซื้อคงเหลือต้นปีบวกด้วยยอดซื้อตลอดปี แล้วลบด้วยยอดคงเหลือปลายปี ผลที่ได้ถือเป็นยอดขายของโจทก์เมื่อปรากฏว่ายอดขายของโจทก์จากการตรวจสอบดังกล่าวสูงกว่ายอดขายตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ส่งมาให้ตรวจสอบ จึงนำยอดขายที่ได้จากใบเสร็จรับเงินลบออกจากยอดขายที่ได้จากการตรวจสอบแล้วถือว่าผลต่างที่ได้เป็นจำนวนน้ำมันที่โจทก์ขายไปโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน และประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มนั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในชั้นตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีว่ายินยอมให้เพิ่มยอดขายต่อลิตรในอัตราลิตรละ 0.02 บาทจากราคาขายที่แสดงไว้เดิม ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยถือเกณฑ์กำไรลิตรละ0.02 บาทได้โดยชอบ
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยอ้างอิงยอดขายที่ตรวจสอบพบและคำยินยอมของผู้แทนโจทก์
ยอดขายน้ำมันของโจทก์ที่ได้จากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินโดยนำยอดซื้อคงเหลือต้นปีบวกด้วยยอดซื้อตลอดปี แล้วลบด้วยยอดคงเหลือปลายปี มีจำนวนสูงกว่ายอดขายตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ส่งไปให้ตรวจสอบ เจ้าพนักงานประเมินย่อมนำยอดขายที่ได้จากใบเสร็จรับเงินลบออกจากยอดขายที่ได้จากการตรวจสอบแล้วถือว่าผลต่างที่ได้เป็นจำนวนน้ำมันที่โจทก์ขายไปโดยไม่มีใบเสร็จรับเงินและประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มจากผลต่างดังกล่าวได้ ในชั้นตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีว่ายินยอมให้เพิ่มยอดขายน้ำมันต่อลิตรในอัตราลิตรละ 0.02 บาท จากราคาขายที่แสดงไว้เดิม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินโดยถือเกณฑ์กำไรลิตรละ 0.02 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องซ้ำซ้อนกรณีภาษีอากร: เมื่อมีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยแล้ว กรมสรรพากรไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีซ้ำ
หุ้นส่วนคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโจทก์ที่ 1ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2521 โจทก์ที่ 1 จึงต้องเลิกกันในวันดังกล่าวโดยผลของกฎหมาย แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี เมื่อเพิ่งมีการจดทะเบียนเลิกห้างโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2529 และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2530 จึงถือว่าในช่วงรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2527 และ 2528 โจทก์ที่ 1 ยังคงมีสภาพเป็นห้างหุ้นส่วนอยู่ ผู้ต้องเสียภาษีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับเงินได้ของตนต่อศาล ขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีรายเดียวกันจากผู้ต้องเสียภาษีอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องอาศัยเหตุร้ายแรงตามระเบียบ หากการกระทำไม่เข้าข่ายเหตุร้ายแรงที่กำหนดไว้ แม้จะผิดระเบียบวินัย ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกำหนดกรณีที่ถือว่าเป็นความผิดอย่างร้ายแรงที่จะลงโทษถึงเลิกจ้างได้โดยกำหนดไว้รวม 10 ประการแต่การที่กรรมการลูกจ้างพูดจาส่อเสียด พนักงานด้วยกันไม่อยู่ใน 10 ประการที่นายจ้างกำหนดไว้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงนายจ้างย่อมไม่อาจอ้างมาเป็นเหตุเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดของผู้รับประกันภัย และความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง
ผู้เช่าซื้อรถยนต์ ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ต่อผู้ให้เช่าซื้อ ย่อมมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 863 ได้ และเมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยแล้วย่อมได้รับช่วงสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดได้ตาม มาตรา 227 จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปส่งคนงานของจำเลยที่ 2 ตามที่ต่าง ๆแล้วเกิดเหตุขณะที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กลับสำนักงานของจำเลยที่ 2ตามเส้นทางการทำงานของจำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่าเกิดเหตุขณะกระทำการ ในทางการของจำเลยที่ 2 แม้ในระหว่างทางจำเลยที่ 1 จะได้แวะ ทำธุระ ส่วนตัวบ้างก็ไม่ทำให้การนำรถยนต์เข้าเก็บที่สำนักงานของจำเลย ที่ 2 พ้นจากการกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยของผู้เช่าซื้อรถยนต์ และความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง
ผ. เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ต่อผู้ให้เช่าซื้อ จึงมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 จำเลยที่ 1 ลูกจ้างขับรถยนต์ไปส่งคนงานของจำเลยที่ 2นายจ้างตามที่ต่าง ๆ ขณะที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กลับสำนักงานของจำเลยที่ 2 ตามเส้นทางการทำงานของจำเลยที่ 2ได้ชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายโดยประมาท ถือได้ว่าเกิดเหตุขณะกระทำการในทางการของจำเลยที่ 2 แม้ในระหว่างทางจำเลยที่ 1 จะแวะทำธุระส่วนตัวบ้าง ก็ไม่ทำให้การนำรถยนต์เข้าเก็บที่สำนักงานของจำเลยที่ 2 พ้นจากการกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2
of 72