พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งของผู้ค้ำประกัน ยึดตามอายุความอาญาเมื่อมูลหนี้เกิดจากความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์ รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส.เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์จะฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์นั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำความผิดฐานยักยอกของ ส. ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองโจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจากการรังวัดเขตชลประทาน การครอบครองประโยชน์ตกเป็นของแผ่นดิน
กรมชลประทานจำเลยรังวัดกั้นเขตชลประทานไว้ตามประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ เรื่อง ขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างการทดน้ำไขน้ำบริเวณเชียงรากน้อยและบางเหี้ยพ.ศ. 2467 จำเลยยังไม่ได้จ่ายค่าทดแทนที่พิพาทในสำนวนแรกแต่หลังจากมีการรังวัดกันเขตการชลประทานแล้ว ผ.เจ้าของเดิมก็ไม่ได้ครอบครองทำกิน โดยจำเลยได้ครอบครองดูแลไม่ให้ใครมารุกล้ำตลอดมา ส่วนโจทก์เพิ่งจะเข้าทำกินในปี 2519 ถือได้ว่าผ. ได้สละการครอบครองที่พิพาทสำนวนแรกหลังจากมีการรังวัดกันเขตชลประทานเป็นต้นมา และจำเลยก็ได้ครอบครองดูแลที่ดินในแนวเขตการชลประทานซึ่งรวมถึงที่พิพาทตลอดมาจำเลยใช้ที่ดินในเขตการชลประทานซึ่งรวมถึงที่พิพาทเพื่อทิ้งดินที่ได้จากการขุดลอกคลองชลประทาน ถือได้ว่าเป็นการใช้ที่พิพาทเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะที่พิพาทสำนวนแรกจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) การที่โจทก์ในสำนวนแรก เข้าทำกินในที่พิพาทจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยส่วนที่พิพาทสำนวนหลัง ร. เจ้าของเดิมสละการครอบครองตั้งแต่เมื่อมีการรังวัดกับเขตชลประทานตั้งแต่ปี 2481 และจำเลยได้ครอบครองดูแลที่ดินในเขตการชลประทานมาตั้งแต่มีการรังวัดกันเขตโดยใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่พิพาทสำนวนหลังซึ่งอยู่ในเขตการชลประทานจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) นับแต่ที่ ร. สละการครอบครองตั้งแต่เมื่อมีการรังวัดกันเขตการชลประทานถึงแม้ ห. และ โจทก์ในสำนวนหลัง จะเข้าครอบครองและแจ้งการครอบครอง ไว้เมื่อปี 2498 ก็ไม่อาจอ้างการครอบครองขึ้นต่อสู้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามประเทศ: เจตนารมณ์กฎหมายและการยกเว้นภาษีสำหรับบริษัทปิโตรเลียม
ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2) มีเจตนารมณ์มุ่งเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะเป็นเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยในกรณีของโจทก์คดีนี้ บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นได้กู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นเพื่อส่งมาใช้จ่ายในกิจการของบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยโดยเฉพาะ และเมื่อโจทก์สาขาในประเทศไทยประกอบกิจการมีรายได้แล้วก็จัดส่งไปให้บริษัทโจทก์ที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ยแก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้น จึงเห็นได้ว่าเงินที่สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นให้กู้ยืมมานั้นก็เพื่อนำมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้ในประเทศไทย เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินดอกเบี้ยดังกล่าวตามเจตนารมณ์ของ ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินดอกเบี้ยนี้บริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยเป็นผู้ส่งไปชำระให้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้นโดยตรง หรือบริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นชำระไปก่อนแล้วบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยจึงส่งคืนไปให้บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นเพราะไม่ว่าจะชำระโดยวิธีใดก็เป็นการเอาเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ไปชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืมนั่นเอง
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514 มีว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามอัตราและวิธีการพิเศษต่างหากจากภาษีเงินได้ที่เก็บตามป.รัษฎากร ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า เหตุที่มาตรา 13 บัญญัติให้บริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรและภาษีอากรตามกฎหมายอื่นก็เพราะบริษัทหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 อยู่แล้ว และบริษัทหรือนิติบุคคลที่จะต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมดังที่ปรากฏในเหตุผลแห่งการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ดังนี้ บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 จะต้องเป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 คือ ต้องเป็นบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม กล่าวคือ (1) ได้รับสัมปทานหรือมีส่วนได้เสียร่วมกันในสัมปทาน หรือ (2) ซื้อน้ำมันดิบที่บริษัทตาม (1) เป็นผู้ผลิตเพื่อส่งน้ำมันดิบนั้นทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร แต่คดีนี้ได้ความว่า สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินนั้น มิใช่เป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แต่อย่างใด สถาบันการเงินดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทหรือนิติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เมื่อมีเงินได้จากบริษัทตามกฎหมายปิโตรเลียมแล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่น เท่ากับไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ เลยซึ่งกฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เป็นเช่นนั้น ดังนั้นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514 มีว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามอัตราและวิธีการพิเศษต่างหากจากภาษีเงินได้ที่เก็บตามป.รัษฎากร ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า เหตุที่มาตรา 13 บัญญัติให้บริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรและภาษีอากรตามกฎหมายอื่นก็เพราะบริษัทหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 อยู่แล้ว และบริษัทหรือนิติบุคคลที่จะต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมดังที่ปรากฏในเหตุผลแห่งการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ดังนี้ บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 จะต้องเป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 คือ ต้องเป็นบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม กล่าวคือ (1) ได้รับสัมปทานหรือมีส่วนได้เสียร่วมกันในสัมปทาน หรือ (2) ซื้อน้ำมันดิบที่บริษัทตาม (1) เป็นผู้ผลิตเพื่อส่งน้ำมันดิบนั้นทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร แต่คดีนี้ได้ความว่า สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินนั้น มิใช่เป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แต่อย่างใด สถาบันการเงินดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทหรือนิติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เมื่อมีเงินได้จากบริษัทตามกฎหมายปิโตรเลียมแล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่น เท่ากับไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ เลยซึ่งกฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เป็นเช่นนั้น ดังนั้นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศ: การเสียภาษีและข้อยกเว้นตามกฎหมายปิโตรเลียม
การที่สถาบันการเงินในต่างประเทศให้บริษัทโจทก์ในต่างประเทศกู้ยืมเงิน เพื่อนำมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการของบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยเพื่อหารายได้ในประเทศไทยนั้น เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทย ย่อมต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินดอกเบี้ยดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา70(2) โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินดอกเบี้ยนี้บริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทย ผู้ส่งไปชำระให้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมโดยตรง หรือบริษัทโจทก์ในต่างประเทศชำระไปก่อนแล้วบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยจึงส่งคืนไปให้บริษัทโจทก์ในต่างประเทศ เพราะไม่ว่าจะชำระโดยวิธีใด ก็เป็นการเอาเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) ไปชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืม บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร หรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ นั้น จะต้องเป็นบริษัทตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสถาบันการเงินในต่างประเทศที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงิน มิใช่เป็นบริษัทตามคำจำกัดความดังกล่าว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญาฐานยักยอก: ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่รู้ความผิดและตัวผู้กระทำ
โจทก์ร่วมซื้อบ้าน เลขที่ 308 จากการขายทอดตลาด จำเลยเองก็ทราบ เมื่อจำเลยอาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 308 ก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองบ้านดังกล่าว การที่จำเลยบอกโจทก์ร่วมว่าบ้านที่จำเลยอาศัยอยู่ไม่ใช่บ้านเลขที่ 308 แต่เป็น บ้านเลขที่ 121 ของส. นั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ร่วมรื้อถอนบ้านเลขที่ 308 เพื่อที่จำเลยจะได้รับประโยชน์ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการเบียดบังบ้านเลขที่ 308 เป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 โจทก์ร่วมจะไปรื้อถอนบ้านครั้งแรกวันที่ 28 เมษายน 2527จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตั้งแต่วันนั้น แต่โจทก์ร่วมเพิ่งมาร้องทุกข์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2530 คดีจึงขาดอายุความ เมื่อคดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ร่วมตาม มาตรา 43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกทางภาษีอากร การได้รับหมายโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้รับไม่ได้รับทราบ ถือว่าเป็นการได้รับแล้ว
การส่งหมายเรียกหรือหนังสืออื่น ซึ่งมีถึงบุคคลใดตามลักษณะ2 แห่งประมวลรัษฎากร หากได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 8 วรรคหนึ่งและวรรคสอง กฎหมายให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้วโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับหมายเรียกหรือหนังสืออื่นนั้นจะได้รับทราบหมายเรียกหรือหนังสืออื่นนั้นแล้วหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกทางภาษีอากรโดยวิธีปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้รับไม่ได้รับทราบ
การที่เจ้าพนักงานสรรพากรนำหมายเรียกไปส่งให้โจทก์แล้วไม่พบโจทก์และบุคคลในบ้านไม่ยอมรับหมายเรียก เป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายเรียกตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานสรรพากรจึงชอบที่จะส่งโดยวิธีปิดหมายตามมาตรา 8 วรรคสองได้ เมื่อปรากฏว่าการส่งหมายเรียกให้โจทก์ เจ้าพนักงานสรรพากรได้ส่งโดยวิธีปิดหมายไว้ที่บ้านที่โจทก์มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรครั้งสุดท้าย ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับหมายเรียกนั้นแล้ว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม การส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคสอง กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้ปิดหมายไว้ ณ บ้านที่บุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรครั้งสุดท้าย มิได้บังคับให้ต้องปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของบุคคลนั้นเหมือนเช่นกรณีการส่งหมายตาม มาตรา 8 วรรคแรก และเมื่อการส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมายได้กระทำโดยถูกต้องตามกฎหมายย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นอันได้รับหมายเรียกนั้นแล้ว ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคสาม แม้ว่าจะไม่มีผู้ใดแจ้งหรือส่งหมายเรียกนั้นมาให้โจทก์ทราบก็ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 21,25 และ 87(3) มิได้บัญญัติว่ากรณีที่จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ จะต้องเป็นเรื่องที่ผู้ได้รับหมายเรียกได้รับทราบหมายเรียกแล้ว โดยเฉพาะตามมาตรา 25 ใช้ถ้อยคำเพียงว่า "ผู้ที่ได้รับหมาย..." เท่านั้น หาได้ใช้คำว่า"ผู้ที่ได้รับทราบหมาย" ซึ่งรับกับถ้อยคำตามมาตรา 8 วรรคสามที่บัญญัติว่า "เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้ว" จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการส่งหมายเรียกหรือหนังสืออื่นซึ่งมีถึงบุคคลใดตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรหากได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ก็ให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้วโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับหมายเรียกหรือหนังสืออื่นนั้น จะได้รับทราบหมายเรียกหรือหนังสืออื่นนั้นหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาปริมาณและวัตถุประสงค์การนำเข้าควบคู่กันไป และผลของการไม่อุทธรณ์การประเมินภาษีสรรพากร
สินค้าเครื่องอบอาหารพร้อมโหลแก้วครบชุดที่จำเลยนำเข้ามาและสำแดงราคามีจำนวน 120 ชุด ซึ่งเป็นจำนวนมากพอที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยสั่งซื้อและนำเข้ามาเพื่อจำหน่าย ถือได้ว่าราคาที่สำแดงเป็นราคาขายส่งเงินสด แต่สินค้าที่ ว.นำเข้ามาและสำแดงราคามีเพียง 2 ชิ้นเท่านั้น เป็นการสั่งซื้อและนำเข้ามาเพื่อใช้เองมากกว่าจะนำเข้ามาเพื่อจำหน่าย ถือไม่ได้ว่าราคาที่สำแดงเป็นราคาขายส่งเงินสด ทั้งเป็นการนำเข้ามาก่อนที่จำเลยจะนำเข้ามาถึงเกือบ 1 ปี มิใช่การนำเข้า ณ เวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันอันจะนำมาเปรียบเทียบหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้ เจ้าพนักงานประเมินอากรของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจนำราคาสินค้าที่ ว.นำเข้ามาเปรียบเทียบถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง เพื่อประเมินให้จำเลยเสียอากรขาเข้าเพิ่มขึ้นได้ ในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภาษีส่วนนี้จึงยุติตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1ได้ประเมินเพิ่มแล้ว แม้การประเมินจะไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยก็ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์จำเลยก็ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามการประเมินที่ยุติไปแล้วนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องอาศัยราคาขายส่งเงินสดที่นำเข้า ณ เวลาใกล้เคียงกัน และการอุทธรณ์ภาษีอากรที่ล่าช้าทำให้ต้องรับผิดตามประเมิน
ราคาสินค้าที่โจทก์ที่ 1 นำมาเปรียบเทียบเป็นราคาสินค้าที่จะนำเข้ามาเพียง 2 ชิ้นซึ่งเป็นจำนวนเล็กน้อย จนอาจเรียกได้ว่าเป็นการสั่งซื้อและนำเข้ามาเพื่อใช้เองมากกว่าจะนำเข้ามาเพื่อจำหน่าย จึงรับฟังไม่ได้ว่าเป็นราคาขายส่งเงินสด ตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง และ ว.นำเข้ามาเป็นระยะเวลาก่อนที่จำเลยนำเข้ามาเกือบถึง 1 ปี มิใช่เป็นการนำเข้า ณ เวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน อันจะนำมาเปรียบเทียบหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 นำราคาสินค้าที่ ว.นำเข้ามาเป็นเกณฑ์คำนวณหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แล้วประเมินราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้าเพิ่มขึ้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวและย่อมส่งผลให้การประเมินให้จำเลยเสียอากรขาเข้าเพิ่มขึ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ในส่วนของภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ซึ่งเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร แม้การประเมินจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30ภาษีส่วนนี้จึงยุติ จำเลยต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามการประเมินที่ยุติไปแล้วนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีที่เกี่ยวพันหรือไม่เกี่ยวพันกัน และขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 91(2) ป.อ.
ป.อ. มาตรา 91(2) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีจำเลยกระทำความผิดหลายกรรม แต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียวหรือกรณีจำเลยถูกฟ้องหลายคดีแต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน และรวมถึงคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน แต่ปรากฏว่า ฐานความผิดตามที่ฟ้องในคดีที่สี่และพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบแตกต่างกับสามคดีแรก และความผิดตามที่ฟ้องในคดีที่หกนั้นเป็นความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัท ค. ซึ่งไม่ใช่บริษัทที่จำเลยได้กระทำความผิดในคดีอื่น ๆ คดีที่สี่และที่หกจึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้คดีจึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91(2).