พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6105/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การหลีกเลี่ยงภาษี การหักค่าใช้จ่าย และเบี้ยปรับ: ข้อพิพาทเกี่ยวกับการประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
กรณีที่จะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร(ฉบับที่ 14) มาตรา 30 นั้น ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นคำขอเสียภาษีอากรและได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่จะต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดโจทก์ยื่นคำขอเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ผ่อนชำระภาษีเป็นรายเดือนตามแบบผ่อนชำระภาษีอากร แต่โจทก์มิได้ผ่อนชำระงวดแรกในกำหนด จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ชำระภาษีอากรตามเงื่อนไขและภายในเวลาที่กำหนดไว้ต้องถือว่าโจทก์มิได้ชำระภาษีอากรภายในเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด ดังนี้โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ตามมาตรา 30 โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการประเมินทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แม้โจทก์ยกขึ้นมาเป็นข้อโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานตามคำอุทธรณ์เฉพาะในเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีการพิจารณาถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรสด้วย แสดงว่าภาษีสองประเภทนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มาแล้วตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย โจทก์ยอมรับว่ามิได้มีการหักภาษีเงินได้เมื่อจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ และโจทก์จึงยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นการเหมาพร้อมเงินเพิ่มและโจทก์ก็มิได้โต้แย้งจำนวนเงินค่าจ้างแรงงานที่เจ้าพนักงานตรวจพบ ดังนั้น การประเมินจึงมิใช่การประเมินที่มิชอบด้วยกฎหมาย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส นั้น เมื่อโจทก์รับซื้อข้าวโพดและข้าวซึ่งเป็นพืชผลในทางการเกษตร โจทก์จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าทางการเกษตรโจทก์จึงมีหน้าที่ที่จะต้องหักภาษี ณที่จ่าย เพื่อนำส่งเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อโจทก์มิได้หักภาษีณ ที่จ่าย และนำส่ง ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินภาษีจากเงินจำนวนที่ตรวจพบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามกฎหมาย แต่โจทก์ไม่หักไว้และนำส่ง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มจนกว่าโจทก์จะชำระภาษีในส่วนนี้เสร็จ แต่ไม่เกินจำนวนภาษีที่จะต้องเสียหรือนำส่งตามมาตรา 27 มิใช่ชำระเงินเพิ่มเพียงวันที่มีผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการ ค่าโทรศัพท์ และค่ากระแสไฟฟ้า เป็นกรณีที่จะต้องมีเอกสารหลักฐานเก็บไว้แต่โจทก์ไม่มีมาแสดงและจำเลยก็ยังโต้แย้งอยู่ตลอดจนค่าดำเนินการตามพิธีศุลกากร และอากรขาเข้าสำหรับสินค้าที่โจทก์สั่งเข้ามา ไม่ปรากฏหลักฐานว่า โจทก์จ่ายให้ใคร อย่างไรเมื่อใด จึงเป็นรายจ่ายซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (18) โจทก์ส่งข้าวสาร ไปขายต่างประเทศ โดยไม่ลงบัญชี และสั่งสินค้ากากถั่วเหลืองมาจากต่างประเทศเพื่อขายไม่ลงบัญชี ส่วนที่ลงบัญชีโจทก์แสดงต้นทุนซื้อสูงกว่าความเป็นจริง พฤติการณ์ในการกระทำของโจทก์แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรที่ตนมีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีณ ที่จ่าย โจทก์ละเลยโดยไม่มีเหตุผล เมื่อกฎหมายให้โอกาสโจทก์ก็ใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ต่อมาไม่ปฏิบัติตาม ดังนี้ไม่มีเหตุอันควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6090/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนค่าอากรแสตมป์ต้องยื่นคำร้องภายใน 6 เดือน หากไม่ยื่นคำร้อง ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์ได้เสียค่าอากรแสตมป์ใบรับสำหรับรายรับจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ไป แต่ต่อมาโจทก์ทราบว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ จึงมาฟ้องขอให้กรมสรรพากรจำเลยคืนเงินค่าอากรแสตมป์ คำฟ้องของโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ซึ่งตามมาตรา 9 และ ป.รัษฎากร มาตรา 122การขอคืนอากรไม่ว่าเป็นกรณีที่เสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินไปกว่าอัตราที่กำหนด ถ้าจะขอคืนต้องเป็นกรณีที่ค่าอากรที่จะขอคืนนั้นไม่น้อยกว่า 2 บาท และการขอคืนต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 6 เดือน นับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าว จึงไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6090/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนค่าอากรต้องยื่นคำร้องภายใน 6 เดือน หากไม่ยื่นสิทธิในการฟ้องร้องจะขาดอายุความ
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์ได้เสียค่าอากรแสตมป์ใบรับสำหรับรายรับจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ไป แต่ต่อมาโจทก์ทราบว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ จึงมาฟ้องขอให้กรมสรรพากรจำเลยคืนเงินค่าอากรแสตมป์ คำฟ้องของโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 ซึ่งตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และประมวลรัษฎากร มาตรา 122 การขอคืนอากรไม่ว่าเป็นกรณีที่เสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือเสียเกินไปกว่าอัตราที่กำหนดถ้าจะขอคืนต้องเป็นกรณีที่ค่าอากรที่จะคืนนั้นไม่น้อยกว่า 2 บาทและการขอคืนต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 6 เดือนนับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าว จึงไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: การยินยอมปฏิบัติตามและอายุความ 10 ปี กรณีแสดงรายรับขาดเกิน 25%
หมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมินให้เวลาโจทก์ฟ้องน้อยกว่า 7 วัน โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียกตลอดจนร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนตลอดมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้วโจทก์มากล่าวอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบภายหลังหาได้ไม่ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจทำการประเมินภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาประเมินภาษีตามประกาศ คปถ.ฉบับที่ 8 และการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับปกติวิสัยทางการค้า
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 กำหนดให้การประเมินตามหมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนที่ออกก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติใช้บังคับให้แล้วเสร็จภายในเวลาสองปี ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหมายเรียกลงวันที่ 26 สิงหาคม 2517 ไปยังโจทก์ว่าประสงค์จะทำการตรวจสอบการเสียภาษีอากรตั้งแต่ปี 2512 ถึงปัจจุบัน ซึ่งตามข้อความดังกล่าวแสดงว่าจำเลยประสงค์จะตรวจสอบภาษีสำหรับปี 2517 อันเป็นปีปัจจุบันด้วย กรณีไม่จำต้องให้จำเลยมีหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรปี 2517 อีก เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยทำการประเมินภาษีอากรปี 2517 แล้วเสร็จเกินกำหนดเวลาสองปีดังกล่าว การประเมินจึงไม่ชอบ
การตรวจสอบไต่สวนภาษีอากรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 มิได้จำกัดแต่เพียงเฉพาะการให้ออกหมายเรียกมาตรวจสอบเท่านั้น แต่หมายถึงการออกหนังสือเชิญผู้มีหน้าที่ชำระหรือนำส่งภาษีอากรมาทำการตรวจสอบด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปพบเพื่อทราบข้อความบางอย่างอันเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 และ 2519 แม้จะไม่ได้ใช้ถ้อยคำว่าให้โจทก์ไปพบเพื่อตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์ก็ตาม ก็เห็นได้ว่าเป็นการเรียกไปพบเพื่อให้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์เพื่อนำไปสู่การพิจารณาว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ถูกต้องหรือไม่ อันเป็นการตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์นั่นเองดังนั้น จำเลยจึงต้องดำเนินการประเมินหรือออกคำสั่งให้ชำระหรือนำส่งภาษีอากรให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีโดยให้เวลาน้อยกว่า7 วัน แม้จะเป็นการไม่ชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และ 87 ตรี แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านมาแต่แรก กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียก ตลอดจนให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้ว ดังนี้โจทก์จึงจะอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบไม่ได้
ระยะเวลาที่กำหนดให้ทำการประเมินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8นั้น รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งขยายออกไปตามควรแก่กรณีได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นแต่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
การซื้อขายสินค้าแบบไดเรก ไฟแนนซ์ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติคือโจทก์จะสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศต่อเมื่อมีผู้ซื้อในประเทศไทยต้องการซื้อ และโจทก์ได้เปิดเผยให้ผู้ขายในต่างประเทศทราบตัวผู้ซื้อที่แท้จริงในประเทศไทยด้วยการให้ผู้ซื้อในประเทศไทยส่งเงินค่าสินค้าไปให้ผู้ขายในต่างประเทศโดยตรง และให้ผู้ขายในต่างประเทศส่งสินค้ามายังผู้ซื้อในประเทศโดยตรง ผิดปกติวิสัยของพ่อค้าคนกลางที่ซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อจะพึงปฏิบัติ เพราะการเปิดเผยให้ผู้ซื้อทราบแหล่งที่ซื้อและเปิดเผยให้ผู้ขายทราบราคาที่ผู้ซื้อต้องชำระย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรงในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องซื้อผ่านโจทก์ ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของผู้ขายในต่างประเทศ มิใช่เป็นผู้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปดังที่โจทก์อ้าง
การตรวจสอบไต่สวนภาษีอากรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 มิได้จำกัดแต่เพียงเฉพาะการให้ออกหมายเรียกมาตรวจสอบเท่านั้น แต่หมายถึงการออกหนังสือเชิญผู้มีหน้าที่ชำระหรือนำส่งภาษีอากรมาทำการตรวจสอบด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปพบเพื่อทราบข้อความบางอย่างอันเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 และ 2519 แม้จะไม่ได้ใช้ถ้อยคำว่าให้โจทก์ไปพบเพื่อตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์ก็ตาม ก็เห็นได้ว่าเป็นการเรียกไปพบเพื่อให้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์เพื่อนำไปสู่การพิจารณาว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ถูกต้องหรือไม่ อันเป็นการตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์นั่นเองดังนั้น จำเลยจึงต้องดำเนินการประเมินหรือออกคำสั่งให้ชำระหรือนำส่งภาษีอากรให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีโดยให้เวลาน้อยกว่า7 วัน แม้จะเป็นการไม่ชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และ 87 ตรี แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านมาแต่แรก กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียก ตลอดจนให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้ว ดังนี้โจทก์จึงจะอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบไม่ได้
ระยะเวลาที่กำหนดให้ทำการประเมินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8นั้น รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งขยายออกไปตามควรแก่กรณีได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นแต่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
การซื้อขายสินค้าแบบไดเรก ไฟแนนซ์ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติคือโจทก์จะสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศต่อเมื่อมีผู้ซื้อในประเทศไทยต้องการซื้อ และโจทก์ได้เปิดเผยให้ผู้ขายในต่างประเทศทราบตัวผู้ซื้อที่แท้จริงในประเทศไทยด้วยการให้ผู้ซื้อในประเทศไทยส่งเงินค่าสินค้าไปให้ผู้ขายในต่างประเทศโดยตรง และให้ผู้ขายในต่างประเทศส่งสินค้ามายังผู้ซื้อในประเทศโดยตรง ผิดปกติวิสัยของพ่อค้าคนกลางที่ซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อจะพึงปฏิบัติ เพราะการเปิดเผยให้ผู้ซื้อทราบแหล่งที่ซื้อและเปิดเผยให้ผู้ขายทราบราคาที่ผู้ซื้อต้องชำระย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรงในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องซื้อผ่านโจทก์ ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของผู้ขายในต่างประเทศ มิใช่เป็นผู้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6049/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้า: วันซื้อขายสำเร็จเมื่อมีคำสั่งซื้อ ไม่ใช่วันส่งสินค้า การอนุญาตเพิ่มพยานหลักฐาน และการพิพากษาไม่เกินคำขอ
บริษัท พ.ผลิตรถยนต์จำหน่ายให้แก่บริษัทส. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวโดยมีข้อตกลงและระเบียบปฏิบัติต่อกันว่าเมื่อบริษัท พ. ผลิตรถยนต์แต่ละคันเสร็จจะทำสำเนาเอกสารใบ D/O(DeliveryOrder) ระบุรุ่นของรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังและรหัสสีของรถยนต์มอบให้แก่บริษัทส. พร้อมกับส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส.เพื่อจะได้ทราบว่าบริษัทพ.ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใดไว้แล้วจะได้เสนอขายแก่ลูกค้า ถ้าบริษัทส.ต้องการจะซื้อรถยนต์คันใดก็จะโทรศัพท์สั่งซื้อไปยังบริษัทพ.ครั้นสิ้นเดือน ฝ่ายบัญชีของบริษัท ส. ก็จะรวบรวมยอดรถยนต์ที่สั่งซื้อในเดือนนั้นทำเป็นใบสั่งซื้อ (PurchaseForm) ส่งให้บริษัท พ.แล้วบริษัทพ. จะออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) สำหรับรถยนต์ที่ซื้อขายกันในเดือนนั้นมาให้แก่บริษัท ส. เพื่อเรียกเก็บเงินต่อไป และการที่บริษัท พ. ส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส. ก็เป็นการนำไปฝากจอดไว้ เอกสารใบ D/O จึงเป็นเพียงเอกสารที่แสดงว่าบริษัท พ. ได้ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใด จำนวนเท่าใดไว้พร้อมที่จะขายให้แก่บริษัท ส.เท่านั้นวันที่บริษัทพ.ออกเอกสารใบ D/O จึงยังมิใช่วันที่มีการซื้อขายรถยนต์เสร็จเด็ดขาดแต่จะเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดต่อเมื่อบริษัท ส. มีคำสั่งซื้อบริษัท พ. จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเดือนภาษีที่มีคำสั่งซื้อนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 จัตวา (3) คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกันแต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม 18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้งโดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1,317 ข./2531/1,317 ค./2531/1,317ง./2531/1,317 จ./2531/1และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วยและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวก็ตามศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6049/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์และช่วงเวลาการเกิดภาษี การแก้ไขเพิ่มเติมพยานหลักฐาน และอำนาจศาลในการวินิจฉัยเกินคำขอ
บริษัท พ. ผลิตรถยนต์จำหน่ายให้แก่บริษัท ส.ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวโดยมีข้อตกลงและระเบียบปฏิบัติต่อกันว่า เมื่อบริษัท พ.ผลิตรถยนต์แต่ละคันเสร็จจะทำสำเนาเอกสารใบ D/O (Delivery Order) ระบุรุ่นของรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังและรหัสสีของรถยนต์มอบให้แก่บริษัท ส. พร้อมกับส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส.เพื่อจะได้ทราบว่าบริษัท พ.ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใดไว้แล้วจะได้เสนอขายแก่ลูกค้า ถ้าบริษัท ส.ต้องการจะซื้อรถยนต์คันใดก็จะโทรศัพท์สั่งซื้อไปยังบริษัท พ. ครั้นสิ้นเดือน ฝ่ายบัญชีของบริษัท ส.ก็จะรวบรวมยอดรถยนต์ที่สั่งซื้อในเดือนนั้นทำเป็นใบสั่งซื้อ (Purchase Form) ส่งให้บริษัท พ. แล้วบริษัท พ.จะออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) สำหรับรถยนต์ที่ซื้อขายกันในเดือนนั้นมาให้แก่บริษัท ส.เพื่อเรียกเก็บเงินต่อไป และการที่บริษัท พ.ส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส. ก็เป็นการนำไปฝากจอดไว้เอกสารใบ D/O จึงเป็นเพียงเอกสารที่แสดงว่าบริษัท พ.ได้ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใด จำนวนเท่าใดไว้พร้อมที่จะขายให้แก่บริษัท ส.เท่านั้น วันที่บริษัท พ.ออกเอกสารใบ D/O จึงยังมิใช่วันที่มีการซื้อขายรถยนต์เสร็จเด็ดขาด แต่จะเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดต่อเมื่อบริษัท ส.มีคำสั่งซื้อบริษัท พ.จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเดือนภาษีที่มีคำสั่งซื้อนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79จัตวา (3)
คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกัน แต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง โดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1, 317 ข./2531/1,317 ค.2531/1, 317 ง./2531/1, 317 จ./2531/1 และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่ 317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวด้วยก็ตาม ศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่
คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกัน แต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง โดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1, 317 ข./2531/1,317 ค.2531/1, 317 ง./2531/1, 317 จ./2531/1 และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่ 317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวด้วยก็ตาม ศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6049/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานเพิ่มเติมในคดีภาษีอากร ศาลมีอำนาจอนุญาตหากมีเหตุผลสมควร และการพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกินคำขอไม่ได้
โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วันซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสาร รวม 30 อันดับ แต่ก่อนเริ่มสืบพยาน โจทก์ขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง โดยอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบเพื่อประโยชน์ของตน คดีนี้มีเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก เป็นการยากที่จะทราบและอ้างอิงเอกสารได้ทั้งหมดในคราวเดียวกันเมื่อโจทก์ได้ระบุพยานอ้างเอกสารครั้งแรก รวม 18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง อ้างพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 วรรคท้าย แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่ 317 ง./2531/1 แต่คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการประเมินภาษีการค้าของบริษัท ส. เดือนมกราคม-ธันวาคม 2527 ซึ่งโจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องข้อที่ 2 แล้วว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้เสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม 6 ฉบับ รวมทั้งการประเมินภาษีการค้าระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2527 ไว้ด้วย ต่อมาโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินตามแบบหนังสือแจ้งภาษีการค้าทั้ง 6 ฉบับดังกล่าว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว โจทก์ได้แนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ มาท้ายฟ้องด้วย ส่วนคำขอท้ายฟ้องก็ได้ขอให้ศาลพิพากษายกเลิกเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3,4 และ 5 รวม 6 ฉบับก็ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้ขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวด้วย ดังนี้ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวนี้ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6042/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก และการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อประเด็นการตั้งผู้จัดการมรดกรายใหม่
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ค.ผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 2 ก็ยื่นคำคัดค้านเช่นเดียวกันโดยขอให้ศาลยกคำร้องของผู้ร้องและขอให้ศาลตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านทั้งสองไม่ค้าน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องขอ ให้จำหน่ายคดีเฉพาะผู้ร้องกับให้ผู้คัดค้านที่ 2 นำพยานเข้าไต่สวนทันทีซึ่งกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ศาลต้องเลื่อนกระบวนพิจารณาไปโดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอ ศาลชอบที่ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามประเด็นที่ปรากฏในคำคู่ความ ประเด็นในคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 มีแต่เพียงว่าผู้ร้องมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้หรือไม่เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไป เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ร้องขอเลื่อนการพิจารณาไปเพื่อดำเนินการอย่างใดศาลย่อมต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามกระบวนพิจารณาที่กำหนดไว้ได้ เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องของผู้ร้องไปแล้ว ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องย่อมหมดไป คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ที่คัดค้านคำร้องของผู้ร้องจึงตกไปด้วยส่วนคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2นอกจากให้ยกคำร้องผู้ร้องแล้วยังได้ร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ด้วย ดังนั้น ประเด็นเรื่องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านที่ 2 ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 จึงหาตกไปไม่ ศาลต้องดำเนินกระบวน พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6042/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและผลกระทบต่อคำคัดค้าน การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ค.ผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 2 ก็ยื่นคำคัดค้านเช่นเดียวกันโดยขอให้ศาลยกคำร้องของผู้ร้องและขอให้ศาลตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านทั้งสองไม่ค้าน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องขอ ให้จำหน่ายคดีเฉพาะผู้ร้องกับให้ผู้คัดค้านที่ 2 นำพยานเข้าไต่สวนทันทีซึ่งกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ศาลต้องเลื่อนกระบวนพิจารณาไปโดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอ ศาลชอบที่ดำเนินกระบวน-พิจารณาไปตามประเด็นที่ปรากฏในคำคู่ความ ประเด็นในคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1มีแต่เพียงว่าผู้ร้องมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้หรือไม่ เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไปเมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ร้องขอเลื่อนการพิจารณาไปเพื่อดำเนินการอย่างใด ศาลย่อมต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามกระบวนพิจารณาที่กำหนดไว้ได้
เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องของผู้ร้องไปแล้ว ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องย่อมหมดไป คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ที่คัดค้านคำร้องของผู้ร้องจึงตกไปด้วยส่วนคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 นอกจากให้ยกคำร้องผู้ร้องแล้วยังได้ร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ด้วย ดังนั้น ประเด็นเรื่องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านที่ 2ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 จึงหาตกไปไม่ ศาลต้องดำเนิน-กระบวนพิจารณาต่อไป
เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องของผู้ร้องไปแล้ว ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องย่อมหมดไป คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ที่คัดค้านคำร้องของผู้ร้องจึงตกไปด้วยส่วนคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 นอกจากให้ยกคำร้องผู้ร้องแล้วยังได้ร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ด้วย ดังนั้น ประเด็นเรื่องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านที่ 2ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 จึงหาตกไปไม่ ศาลต้องดำเนิน-กระบวนพิจารณาต่อไป