คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ตัน เวทไว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจัดเก็บภาษีสินค้าตามหมวด 4(3) บัญชี 2 พ.ร.ฎ. สินค้าอเนกประสงค์ที่ใช้ทำเครื่องเรือนได้ ถือเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษี
สินค้าตามหมวด 4(3) แห่งบัญชีที่ 2 ท้าย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 133) พ.ศ. 2526มาตรา 9 มิได้จำกัดเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำเครื่องเรือนโดยเฉพาะดังนั้น แม้ว่าสินค้าพิพาทจะเป็นท่อเหล็กเอนกประสงค์ใช้ทำของใช้อย่างอื่นนอกจากเครื่องเรือนด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยอมรับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำเครื่องเรือนได้ และมิได้ผลิตจากสินค้าตามหมวด 4(4)(5) หรือ (6) ของบัญชีที่ 1อีกทั้งเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร สินค้าท่อเหล็กกลมและเหลี่ยมที่โจทก์ผลิตจึงเป็นสินค้าตามหมวด 4(3) บัญชีที่ 2 ท้ายพ.ร.ฎ. ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเสียภาษีท่อเหล็ก: สินค้าอเนกประสงค์เข้าข่ายผลิตภัณฑ์ใช้ทำเครื่องเรือนได้หรือไม่
สินค้าตามหมวด 4(3) แห่งบัญชีที่ 2 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ออก ตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขแล้ว คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำ เครื่องเรือนที่มิได้ผลิตจากสินค้าตามหมวด 4(4)(5) หรือ (6) ของ บัญชี ที่ 1 เฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักรนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติ จำกัด เฉพาะ เจาะจง ว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำเครื่องเรือน โดยเฉพาะ ท่อ เหล็ก กลมและเหลี่ยมเอนกประสงค์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ต่าง ๆ ยาว มาตรฐาน6 เมตร ที่โจทก์ผลิตจากเหล็กแผ่นชนิดบาง แม้ จะ ใช้ ทำของ อย่างอื่นได้ด้วยแต่ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำ เครื่องเรือนได้ สินค้าที่โจทก์ผลิตจึงเข้าบทบัญญัติของกฎหมาย ดังกล่าว โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องมีเหตุเจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย การอ้างราคาต่ำไม่เพียงพอ
การที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้นั้น จะต้องปรากฎว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ.เมื่อคำร้องของจำเลยทั้งสามที่ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดกล่าวอ้างแต่เพียงว่า การขายทอดตลาดดังกล่าวขายในราคาต่ำไป มิได้อ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีดังกล่าวแต่ประการใด กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด และศาลชั้นต้นมีอำนาจงดไต่สวนและมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5948/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการขายลดเช็คถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้ไม่มีการลงบัญชีซื้อขาย
เช็คที่โจทก์นำไปขายลดแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆมีอยู่ 3 ประเภท คือ เช็คของลูกค้า เช็คของโจทก์เอง และเช็คที่ไม่ปรากฏที่มา สำหรับเช็คของลูกค้า เป็นเช็คที่ได้มาจากการประกอบกิจการของโจทก์ โดยโจทก์ได้รับชำระหนี้มาเป็นเช็คที่ยังไม่ถึงกำหนดจึงนำไปขายลด จำนวนเงินที่ได้จากการขายลดเช็คประเภทนี้ต้องถือว่าเป็นรายรับจากการประกอบกิจการของโจทก์ ส่วนเช็คของโจทก์เองที่นำไปขายลดนั้น ต่อมาโจทก์ต้องนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้น การที่โจทก์จะมีเงินไปเข้าบัญชีโจทก์ก็จะต้องมีเงินได้จากรายรับเนื่องจากการประกอบกิจการเช่นกันสำหรับเช็คที่ไม่ปรากฏที่มานั้น โจทก์อ้างว่าเป็นเช็คของหุ้นส่วนที่โจทก์ยืมมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในปีที่โจทก์นำเช็คที่ยืนมาไปขายลดนั้น โจทก์ยังเป็นหนี้หุ้นส่วนที่โจทก์ยืมเช็คมา ย่อมแสดงว่าถ้ามีการยืมเช็คของหุ้นส่วนมาขายลดจริง ก็ต้องมีการชำระหนี้ตามเช็คที่ยืมมานั้นหมดแล้ว และโจทก์ต้องมีรายรับจากการประกอบกิจการอย่างน้อยตามจำนวนเงินในเช็คที่ยืมมาขายลด โจทก์จึงจะสามารถชำระหนี้เงินตามเช็คที่ยืมมาได้หมดสิ้น จึงถือได้ว่าเงินตามเช็คที่โจทก์ยืมมาขายลดนี้ เป็นรายรับจากการประกอบกิจการของโจทก์เช่นเดียวกัน ดังนั้น เงินตามเช็คทั้ง 3 ประเภทที่โจทก์นำไปขายลดแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ จึงเป็นรายรับจากกิจการของโจทก์ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่ขายลด โจทก์ก็ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิที่คิดจากยอดรายรับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับความผิดฐานออกเช็คเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน ทำให้คดีเลิกกันตามกฎหมายเช็คและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมครบถ้วนแล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมเป็นอันระงับไป มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์เป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังฟ้องคดีเช็ค: คดีเลิกกันตามกฎหมายเช็คและสิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
คดีความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมเป็นอันระงับไป มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์เป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5855/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเช็ค: รอการลงโทษเมื่อจำเลยรับสารภาพ ชำระหนี้บางส่วน และโจทก์บังคับคดีทางแพ่งได้
คดีความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 แม้กฎหมายกำหนดโทษจำคุกไว้ แต่เป็นความผิดอันเกิดจากความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพมาตั้งแต่ต้นทั้งโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนเป็นจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของหนี้สินทั้งหมด สำหรับหนี้ส่วนที่ค้างชำระโจทก์ก็อาจบังคับเอากับจำเลยในทางแพ่งได้อีกเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จึงสมควรรอการลงโทษจำเลยไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าขัดต่อกฎหมาย หากเจ้าพนักงานมิได้ตรวจสอบความถูกต้องของแบบแสดงรายการเสียภาษี
โจทก์ประกอบกิจการค้าประเภทการขายของชนิด 1(ก) ผลิตสังกะสีแท็งก์น้ำ ซึ่งไม่อยู่ในข่ายต้องกำหนดรายรับขั้นต่ำตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจแห่งประมวลรัษฎากร และภาษีการค้าในช่วงเวลาพิพาทส่วนใหญ่ (ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2527 ถึงเดือนเมษายน 2529) เป็นภาษีการค้าที่ถึงกำหนดก่อนที่มาตรา 86 เบญจ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 25ใช้บังคับ ตามบทบัญญัติมาตรา 87(ทวิ) ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าสำหรับภาษีที่ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 เดือนละไม่ต่ำกว่า 80,000 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2527เป็นต้นไป เป็นการกำหนดรายรับล่วงหน้าก่อนที่จะถึงกำหนดที่โจทก์จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้า โจทก์ยื่นคัดค้าน เจ้าพนักงานจึงกำหนดรายรับขั้นต่ำใหม่เมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2528 เป็นเดือนละไม่ต่ำกว่า 67,000 บาทโดยให้มีผลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไป และกำหนดใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นเดือนละไม่ต่ำกว่า 51,000บาท โดยให้มีผลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2528 เป็นต้นไป การกำหนดรายรับขั้นต่ำใหม่สองครั้งหลังนี้แม้จะเป็นการกำหนดหลังจากเวลาที่ต้องยื่นแบบสำหรับเดือนพฤศจิกายน 2527 ถึงเดือนธันวาคม 2528ได้ผ่านพ้นไปแล้วก็เป็นกรณีที่เกิดจากการโต้แย้งของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนรายรับที่กำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง การกำหนดรายรับขั้นต่ำในแต่ละช่วงของเจ้าพนักงานจึงเป็นการกำหนดไว้เป็นการล่วงหน้าทั้งสิ้น อันเป็นการกำหนดที่ไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายการที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าของโจทก์เพราะโจทก์ยื่นแบบแสดงรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าไว้ต่ำกว่ารายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้แต่ละช่วง มิใช่เกิดจากการตรวจสอบแล้วพบว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอย่างอื่นซึ่งทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การหักค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควร และหลักฐานการพิสูจน์ภาระภาษี
หลักฐานรายจ่ายเกี่ยวกับค่าช่วยเหลือชักนำลูกค้าเป็นแบบฟอร์ม ที่โจทก์จัดทำขึ้นเอง โจทก์จะให้คนของโจทก์กรอกข้อความอย่างไร ก็ได้ เอกสารทุกฉบับมีแต่ลายเซ็นชื่อของผู้รับเงินเท่านั้น นามสกุล ก็ ไม่ปรากฏ สถานที่อยู่ของผู้รับเงินก็ไม่มีให้ตรวจสอบถึง ความถูกต้อง แท้จริงได้ เป็นการผิดวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจการค้า ที่มีเงินลงทุน จำนวนมากและสถิติการจำหน่ายสินค้าได้นับจำนวน พันล้านบาทต่อปี เช่นโจทก์จะพึงกระทำโดยหละหลวมเช่นนั้น พยานหลักฐาน ที่โจทก์นำสืบ มายังไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่าโจทก์ได้จ่ายเงิน ช่วยเหลือชักนำลูกค้า จริง ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามนำ มา หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18) โจทก์มีแต่ ช. เป็นพยานเบิกความไม่มีเอกสารอื่นใดมาสนับสนุนว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริษัทในเครือยืมเงินไป มากกว่าดอกเบี้ยที่จะได้จากบริษัทในเครือของโจทก์เท่าใด จึงฟัง ไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากบริษัทในเครือของโจทก์มากกว่า ที่จะได้รับดอกเบี้ย จากเงินที่โจทก์ได้ให้ยืมไปนั้น ทั้งการที่ โจทก์ให้บริษัทในเครือของโจทก์กู้ยืมไปนี้ก็เพื่อบริษัทในเครือ ของโจทก์ไปผลิต สินค้ามาให้โจทก์จำหน่าย แม้โจทก์จะได้ผลกำไรจาก การจำหน่ายสินค้านั้นด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่าย ให้แก่สถาบันการเงินที่ โจทก์ ได้กู้ยืมเงินมา เป็นรายจ่ายเพื่อหา กำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ของโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้นำมาหัก เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13) ค่าเครื่องบิน ค่าที่พักและค่าอาหารอันเป็นค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศเมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบ ให้เชื่อได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปใน ธุรกิจของโจทก์ จึงถือว่าเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3) จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์แม้จำเลยจะมิได้คัดค้านหรือนำสืบหักล้างพยานเอกสารของโจทก์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ข้อเท็จจริงว่าเป็น ดังที่โจทก์อ้าง เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่ต้องเสีย ภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จำเลยให้โจทก์เสีย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ นำสืบมายังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารับรอง หรือค่าบริการไปเนื่องจากการประกอบกิจการของโจทก์ดังที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าค่าใช้จ่าย ดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่เกินสมควร ซึ่งไม่ให้ถือ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(4)หรือไม่ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายเงินกำไรออกจากประเทศไทยโดยผ่านสาขาของบริษัทต่างชาติ ถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก การพิจารณาว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีในประเภทการค้าใด ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงของลักษณะการกระทำของผู้ประกอบการค้าที่เกิดขึ้น จะเอาวัตถุที่ประสงค์ในตราสารหรือการที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติเป็นข้อห้ามมิให้กระทำการนั้นมาเป็นตัวกำหนดในการวินิจฉัยไม่ได้ โจทก์เป็นเพียงผู้ได้รับประโยชน์บางส่วนในจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าของการขายระหว่างคู่กรณี โดยโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนประมาณร้อยละสี่ของราคาขาย เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการจัดจำหน่ายสินค้า อันเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนในการเป็นตัวแทนที่เข้าทำสัญญากับคู่กรณี ดังนี้ต้องถือว่า โจทก์กระทำการประกอบการค้าในประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โจทก์ทำสัญญาหรือทำการใด ๆ อันเกี่ยวกับการประกอบการค้าในราชอาณาจักรแทนบริษัท อ. ผู้อยู่นอกราชอาณาจักร ต้องถือว่าโจทก์มีสถานะเป็นสาขาของบริษัท อ. อันมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 76 ทวิ เมื่อโจทก์ส่งเงินกำไรของบริษัท อ. ซึ่งเกิดจากการซื้อขายในประเทศไทยออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินที่จำหน่ายนั้นตามมาตรา 70 ทวิ.
of 72