คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ตัน เวทไว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาความชอบธรรมของการประเมินภาษี และการจำหน่ายหนี้สูญในคดีล้มละลาย
การที่ ป.รัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลก็โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไขยกเลิกหรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนการที่โจทก์ที่ 1 ไม่ชำระภาษีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิที่จำเลยจะนำคดีมาฟ้องไม่เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะไร้ผล ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นหนี้โจทก์ที่ 2 ค่าซื้อสินค้าเป็นเงิน 1,352,680 บาท ห้างดังกล่าวถูกบริษัท ฮ. จำกัด ฟ้องล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10สิงหาคม 2525 โจทก์ที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนวนดังกล่าวข้างต้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2525 ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของห้างลูกหนี้ แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ติดตามยึดทรัพย์สินของห้างลูกหนี้และขายทอดตลาดได้เงิน 400,000 บาทเศษ หุ้นส่วนผู้จัดการและผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างลูกหนี้หลบหนีจนต้องออกหมายจับ จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระจากทรัพย์สินของห้างลูกหนี้มีถึง 59 ล้านบาทเศษในการแบ่งทรัพย์ครั้งที่ 1 โจทก์ที่ 2 ได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 1.85คิดเป็นเงินเพียง 25,024.58 บาท และห้างลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะติดตามยึดได้อีก ถือว่าโจทก์ที่ 2 ได้กระทำการตามสมควรเพื่อที่จะให้ได้รับชำระหนี้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา65ทวิ (9) ที่ใช้บังคับอยู่ในปี 2525 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิจำหน่ายหนี้จำนวนดังกล่าวเป็นหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525ได้ หาจำต้องรอจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาให้ห้างลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายเสียก่อนจึงจะจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการประเมินภาษี และการจำหน่ายหนี้สูญตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ที่บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล เป็นที่เห็นได้ว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ กรมสรรพากรจำเลยจะมีสิทธิได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนการที่โจทก์ที่ 1 ไม่ชำระภาษีตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิที่จำเลยจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ไม่ เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะไร้ผล ห้างหุ้นส่วนจำกัดส. เป็นหนี้โจทก์ที่ 2 ค่าซื้อสินค้าเป็นเงิน 1,352,680 บาท ห้างดังกล่าวถูกบริษัท ฮ.ฟ้องล้มละลาย และศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2525 โจทก์ที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนวนดังกล่าวข้างต้น เมื่อวันที่18 พฤศจิกายน 2525 ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของห้างนั้น แต่ปรากฏว่าคดีดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ติดตามยึดทรัพย์สินของลูกหนี้และขายทอดตลาดได้เงิน 400,000 บาทเศษสภาพของทรัพย์ที่ยึดส่วนใหญ่ไม่มีราคา หุ้นส่วนผู้จัดการและผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างลูกหนี้หลบหนีจนต้องออกหมายจับ จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็มีถึง 59 ล้านบาทเศษ และในการแบ่งทรัพย์ครั้งที่ 1 โจทก์ที่ 2 ได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 1.85 คิดเป็นเงินเพียง25,024.85 บาท และไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะติดตามยึดได้อีกข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ที่ 2 ได้กระทำการตามสมควรเพื่อที่จะให้ได้รับชำระหนี้ตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) ที่ใช้บังคับอยู่ในปี 2525 แล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิจำหน่ายหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำเพื่อป้องกันตนเอง ไม่เป็นความผิดฐานชุลมุนต่อสู้ การพิเคราะห์เจตนาจากพฤติการณ์
การที่จำเลยที่ 1 เอามีดจี้คอจำเลยที่ 2 นั้น ผู้ที่ประสบเหตุการณ์อยู่ในฐานะอย่างจำเลยที่ 2 คงไม่มีจิตใจที่จะพิเคราะห์ว่า จำเลยที่ 1 จะแทงจริงหรือไม่ย่อมต้องดิ้นรนให้พ้นเหตุการณ์นั้น การที่จำเลยที่ 2 ชกจำเลยที่ 1 ไปทีเดียวในภาวะเช่นนี้นับเป็นการกระทำเพื่อป้องกันให้ตนพ้นอันตรายเท่านั้น หาได้มีเจตนาทำร้ายหรือสมัครใจวิวาทกับจำเลยที่ 1 ไม่ แม้ในเหตุการณ์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ฆ่า ร. ตายด้วย จำเลยที่ 2 ก็หามีความผิดฐานชุลมุนต่อสู้กันและมีคนถึงแก่ความตายไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์ภาษี: ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และพิจารณาเจตนาในการซื้อขายที่ดินเพื่อยกเว้นภาษี
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) นั้น เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และกำหนดเวลาเช่นว่านี้ แม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.252 แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ศาลภาษีอากร-กลางย่อมมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาให้โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบด้วยมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 252
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการประ-เมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา30 (2) ดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษี-อากร พ.ศ.252 มาตรา 17 อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
จ. ซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี 2523จึงได้ขายไป รวมระยะเวลาถือครองนานถึง 12 ปี โดยมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อจะให้มีราคาสูงขึ้นและรีบขายไปภายในระยะเวลารวดเร็วเหตุที่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายที่ดินค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งถือว่า จ. จำเป็นต้องซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อมิให้หนี้ของตนต้องสูญเสียไป ถือได้ว่าจ. ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้ว่าขณะขายที่ดินแปลงนี้จ. จะมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรก็ตาม จ. ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงนี้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 42 (9) ทั้งนี้เพราะต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่
(วรรคหนึ่งและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการขยายเวลาอุทธรณ์คดีภาษีอากร เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย และการพิจารณาเจตนาในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อยกเว้นภาษี
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) นั้น เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาย่อมไม่มีอำนาจฟ้องมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และกำหนดเวลาเช่นว่านี้แม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาให้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ประกอบด้วยมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการประเมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา 30(2)ดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรกลางฯ มาตรา 17 พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 จ. ซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี 2523 จึงได้ขายไป รวมระยะเวลาถือครองมานานถึง 12 ปี โดยมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อจะให้มีราคาสูงขึ้นและรีบขายไปภายในระยะเวลารวดเร็วเหตุที่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายที่ดินค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งถือว่าจ. จำเป็นต้องซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อมิให้หนี้ของตนต้องสูญเสียไปถือได้ว่า จ. ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้ว่าขณะขายที่ดินแปลงนี้ จ. จะมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรก็ตาม จ. ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงนี้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 42(9) ทั้งนี้เพราะต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่ (วรรคหนึ่งและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์: เจตนาในการได้มาอสังหาริมทรัพย์เป็นสำคัญ
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30(2)เป็นการกำหนดเวลาให้ฟ้องคดีมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และถึงแม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ แต่เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ในป.รัษฎากร ศาลมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ ก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จำเลยฟ้องโจทก์ให้ชำระหนี้ภาษีอากรกรณีเดียวกันนั้นศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า การประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง ขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่า การประเมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่พฤติการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42(9) นั้น ต้องเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแสดงว่าต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่การที่ จ. ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี พ.ศ. 2523 จึงได้ขายไปโดยไม่ปรากฏว่า จ. ได้ปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นอันเป็นปกติวิสัยของผู้ที่มีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรพึงกระทำและเหตุที่ จ. ซื้อที่ดินมาก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า จ. ซื้อที่ดินมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อขายที่ดินแปลงดังกล่าวไปย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ในส่วนนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: ศาลรับฟังวันที่โจทก์ทราบการกระทำผิดจากคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า โจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อใด แต่โจทก์ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2528 คำพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นเอกสารที่ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้ ดังนั้น เมื่อนำคำพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาฟังประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิด เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2528 โจทก์ฟ้องคดีไม่เกินกำหนด3 เดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการกระทำผิด คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นหลักฐานในชั้นพิจารณา และการนับอายุความในคดีเช็ค
คำพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นเอกสารที่ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขออายัดทะเบียนรถยนต์เพื่อป้องกันการโอนขายก่อนยึดทรัพย์
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์พิพาทของจำเลยแต่ยังไม่สามารถพาไปยึดได้เพราะไม่ทราบว่ารถยนต์พิพาทอยู่ที่ใด ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยจะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของรถยนต์พิพาทในใบอนุญาตทะเบียนรถยนต์ต่อนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้มีหนังสือถึงนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานครขอให้งดการจดทะเบียนทุกประเภทหรือก่อให้เกิดภาระผูกพันเกี่ยวกับรถยนต์พิพาทไว้ก่อน ดังนี้ เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังติดตามยึดรถยนต์คันพิพาทอยู่ การที่ขอให้งดจดทะเบียนหรือก่อให้เกิดภาระติดพันในรถยนต์พิพาทก็เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากในการบังคับคดีเกี่ยวกับรถยนต์พิพาท จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งของการยึดรถยนต์พิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขอระงับการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการบังคับคดี
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์พิพาทของจำเลยแต่ยังไม่สามารถพาไปยึดได้เพราะไม่ทราบว่ารถยนต์พิพาทอยู่ที่ใด ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยจะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของรถยนต์พิพาทในใบอนุญาตทะเบียนรถยนต์ต่อนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้มีหนังสือถึงนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร ขอให้งดการจดทะเบียนทุกประเภทหรือก่อให้เกิดภาระผูกพันเกี่ยวกับรถยนต์พิพาทไว้ก่อน ดังนี้ เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังติดตามยึดรถยนต์คันพิพาทอยู่ การที่ขอให้งดจดทะเบียนหรือก่อให้เกิดภาระตัดพันในรถยนต์พิพาทก็เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากในการบังคับคดีเกี่ยวกับรถยนต์พิพาท จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งของการยึดรถยนต์พิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะกระทำได้
of 72