คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ตัน เวทไว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: เงินจากสมาชิก vs. เงินบริจาค/ให้โดยเสน่หา ต้องพิจารณาประเภทรายได้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
สำหรับจำเลยที่ 1 โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า "สรรพากรจังหวัด กำแพงเพชร" อันเป็นการฟ้องบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว ซึ่งย่อมหมายถึงผู้ดำรงตำแหน่งในขณะที่ฟ้อง ส่วนจำเลย ที่ 6 โจทก์ระบุว่า"กรมสรรพากร" อันเป็นการฟ้องส่วนราชการ ที่เป็นนิติบุคคลซึ่งย่อมต้องมีผู้แทนดำเนินการอยู่ในตัวตามกฎหมาย อยู่แล้ว แม้คำฟ้องของโจทก์จะมิได้ระบุชื่อผู้ดำรงตำแหน่งของ จำเลยที่ 1 หรือผู้แทนของจำเลยที่ 6 ก็ไม่ทำให้จำเลยเข้าใจผิด หรือเสียหายเสียเปรียบ แต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม เงินที่โรงงานน้ำตาลหักจากน้ำหนักอ้อยที่ชาวไร่อ้อยซึ่ง เป็น สมาชิกของสมาคมโจทก์ขายให้แก่โรงงานน้ำตาล ตามข้อบังคับ ของ โจทก์แล้วส่งมาให้โจทก์นั้นมิใช่เงินที่ชาวไร่อ้อยสมาชิก ของโจทก์ยินดีมอบให้แต่ฝ่ายเดียวอันจะเป็นการบริจาคหรือให้โดย เสน่หาแก่โจทก์ หากแต่เป็นเงินที่ถูกหักตามข้อบังคับของโจทก์ เพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจ อันเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากรจึงไม่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องมารวมคำนวณเป็น รายได้ของโจทก์ตามมาตรา 65 ทวิ (13) และเงินที่โจทก์ได้รับจาก สหกรณ์ก็เป็นเงินที่โรงงานได้หักเงินค่าอ้อยของชาวไร่อ้อยซึ่งเป็น สมาชิกของสหกรณ์แล้วส่งเงินไปให้โจทก์ ทำนองเดียวกับเงินที่โจทก์ ได้รับจากสมาชิกจึงถือไม่ได้ว่าเงินได้จากสหกรณ์ดังกล่าวเป็นเงิน ที่โจทก์ได้รับจากการรับบริจาคหรือให้โดยเสน่หาอันจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ เพื่อเสียภาษีตามมาตรา 65 ทวิ (13) เช่นเดียวกัน สิ่งที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา65 ทวิ (13) มีอยู่ 3 ประเภท คือ (1) เงินค่าลงทะเบียน (2) เงินค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก (3) เงินหรือทรัพย์สิน ที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา โดยเป็นเงิน หรือทรัพย์สินคนละประเภทแยกจากกัน โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่า "เงินค่าบำรุงที่โจทก์ ได้ รับ เป็นเงินที่สมาชิกบริจาคหรือ ให้โดยเสน่หา" ย่อมมีความหมายเพียงว่า เงินเงินที่สมาชิกบริจาคหรือ ให้โดยเสน่หาเพื่อเป็นการบำรุงกิจการของโจทก์ อันเป็นเงินที่จัดอยู่ ในประเภทที่ 3 เท่านั้น มิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าเงินจำนวนนี้เป็น "เงินค่าบำรุง" ด้วย ทั้งตามข้อบังคับของสมาคมโจทก์ได้ระบุ ค่าบำรุงปีละ 50 บาทไว้แล้ว คดีจึงไม่มี ประเด็นประเด็นเรื่องเงินค่าบำรุง การที่จำเลยให้การปฏิเสธว่าเงินได้พิพาทไม่ใช่เงินที่โจทก์ ได้รับจากการรับบริจาคหรือการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้ตาม มาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากร จำเลยย่อมมีสิทธิสืบพยานได้ ตามประเด็นที่ให้การต่อสู้ไว้ ตามมาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ บัญญัติว่า ในระหว่างที่ศาลภาษีอากรจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลภาษีอากรกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โดยเหตุนี้ เมื่อยัง มิได้มีการจัดตั้งศาลภาษีอากรจังหวัดและเปิดทำการในท้องที่ จังหวัดกำแพงเพชรศาลภาษีอากรกลางย่อมมีเขตอำนาจในท้องที่ของศาลจังหวัดกำแพงเพชรอันเป็นศาลแห่งท้องที่ ที่พนักงานอัยการจังหวัด กำแพงเพชร รับราชการประจำอยู่ด้วย เมื่อคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร พนักงานอัยการ จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นทนายจำเลย จึงมีอำนาจดำเนินคดีได้ตามมาตรา 12แห่ง พระราชบัญญัติพนักงานอัยการฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากโรงงาน/สหกรณ์ที่หักจากค่าอ้อย ไม่เข้าข่ายเงินบริจาค/บำรุง ต้องเสียภาษี
สำหรับจำเลยที่ 1 โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า "สรรพากรจังหวัดกำแพงเพชร" อันเป็นการฟ้องบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวซึ่งย่อมหมายถึงผู้ดำรงตำแหน่งในขณะที่ฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 6โจทก์ระบุว่า "กรมสรรพากร" อันเป็นการฟ้องส่วนราชการที่เป็นนิติบุคคลซึ่งย่อมต้องมีผู้แทนดำเนินการอยู่ในตัวตามกฎหมายอยู่แล้ว แม้คำฟ้องของโจทก์จะมิได้ระบุชื่อผู้ดำรงตำแหน่งของจำเลยที่ 1 หรือผู้แทนของจำเลยที่ 6 ก็ไม่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดหรือเสียหายเสียเปรียบแต่อย่างใด ส่วนที่เกี่ยวกับฐานะของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นสรรพากรจังหวัดกำแพงเพชร และจำเลยที่ 6 มีฐานะเป็นกรมในรัฐบาลสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรจึงเป็นการแสดงแจ้งชัดแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่โรงงานน้ำตาลถือปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมโจทก์โดยคิดหักเงินจากน้ำหนักอ้อยที่ชาวไร่อ้อยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ขายให้แก่โรงงานน้ำตาล ตามอัตราที่เกิดจากข้อตกลง 3 ฝ่าย คือโจทก์กับโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยที่เป็นสมาชิกของโจทก์ นั้นก็เพื่อจัดสรรไว้ให้โจทก์ใช้ดำเนินการในกิจการส่วนรวม สำหรับใช้สอยทำประโยชน์สาธารณะและอื่น ๆ ร่วมกัน แสดงว่าชาวไร่อ้อยที่เป็นสมาชิกของโจทก์ต้องจ่ายเงินเช่นว่านั้นให้โจทก์ตามพันธะแห่งข้อบังคับของสมาคมโจทก์และข้อตกลงร่วมกัน 3 ฝ่ายดังกล่าวเพื่อเป็นการตอบแทนแก่การที่ชาวไร่อ้อยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์จะได้รับสิทธิประโยชน์จากสมาคมโจทก์ตามข้อตกลงและข้อบังคับของโจทก์นั่นเอง เงินที่โจทก์ได้รับจากการจัดสรรให้ของโรงงานน้ำตาลเช่นนี้ จึงมิใช่เงินที่ชาวไร่อ้อยสมาชิกของโจทก์ยินดีมอบให้แต่ฝ่ายเดียวอันจะเป็นการบริจาคหรือให้โดยเสน่หาแก่โจทก์ หากแต่เป็นเงินที่ถูกหักตามข้อบังคับของโจทก์เพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจอันเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องมารวมคำนวณเป็นรายได้ของโจทก์ตามมาตรา 65 ทวิ(13)ส่วนเงินได้จากสหกรณ์ชาวไร่อ้อยเมืองกำแพงเพชร ปรากฏว่าการให้เงินของสหกรณ์กระทำโดยโรงงานได้หักเงินค่าอ้อยของชาวไร่อ้อยซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์แล้วส่งเงินไปให้โจทก์ ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับเงินที่โจทก์ได้รับจากการหักจากสมาชิก จึงถือไม่ได้ว่าเงินได้จากสหกรณ์ดังกล่าวเป็นเงินที่โจทก์ได้รับจากการรับบริจาคหรือให้โดยเสน่หา อันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีตามมาตรา 65 ทวิ(13) เช่นเดียวกัน สิ่งที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ทวิ(13) มีอยู่ 3 ประเภท คือ (1) เงินค่าลงทะเบียน (2) เงินค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก (3) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา โดยเป็นเงินหรือทรัพย์สินคนละประเภทแยกจากกัน เงินหรือทรัพย์สินรายหนึ่งรายใดจะเป็นได้แต่เพียงประเภทหนึ่งใน 3 ประเภทนี้เท่านั้น จะเป็นพร้อมกันหลายประเภทไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อตามคำบรรยายฟ้องทั้งหมดของโจทก์กล่าวถึงเงินได้พิพาทรายเดียวคือ เงินที่รับจากโรงงานน้ำตาลซึ่งหักมาจากสมาชิกของโจทก์ผู้นำอ้อยไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาล แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่า "เงินค่าบำรุงที่โจทก์ได้รับเป็นเงินที่สมาชิกบริจาคหรือให้โดยเสน่หา" ก็ย่อมมีความหมายเพียงว่าเงินที่สมาชิกบริจาคหรือให้โดยเสน่หาเพื่อเป็นการบำรุงกิจการของโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างโดยมีสาระสำคัญว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินที่ได้รับบริจาคหรือให้โดยเสน่หา อันเป็นเงินที่จัดอยู่ในประเภทที่ 3 เท่านั้น มิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าเงินจำนวนนี้เป็น"เงินค่าบำรุง" ตามความหมายของบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ทั้งตามข้อบังคับของสมาคมโจทก์ได้ระบุค่าบำรุงปีละ 50 บาท ไว้แล้วคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องเงินค่าบำรุงที่จำเลยทั้งหกจะต้องให้การต่อสู้ฟ้องของโจทก์อีก และการที่จำเลยทั้งหกให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าเงินได้พิพาทไม่ใช่เงินที่โจทก์ได้รับจากการรับบริจาคหรือการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้ตาม มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรจำเลยทั้งหกย่อมมีสิทธิสืบพยานได้ตามประเด็นที่ให้การต่อสู้ไว้ เมื่อยังมิได้มีการจัดตั้งศาลภาษีอากรจังหวัดและเปิดทำการในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีเขตอำนาจในท้องที่ของศาลจังหวัดกำแพงเพชรอันเป็นศาลแห่งท้องที่ที่พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรรับราชการประจำอยู่ด้วย คดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งเป็นทนายจำเลยทั้งหกจึงมีอำนาจดำเนินคดีได้ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัท: การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนโจทก์โดยประทับตราบริษัท
ช.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีต่อจำเลยโดยระบุว่า"ช.ขอมอบอำนาจให้ ส.เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้าโดย ให้มีอำนาจฟ้องกรมศุลกากร..." มิได้ระบุว่า ช. ได้มอบอำนาจในฐานะใด แต่เมื่อช.ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราของโจทก์ไว้ ในช่องลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ และกิจการที่มอบให้ ส.ฟ้อง ก็เป็นกิจการของโจทก์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัท: การตีความหนังสือมอบอำนาจ
แม้หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมีข้อความในตอนต้นระบุไว้เพียงว่า " ช.ขอมอบอำนาจให้ส. เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้าโดยให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับกรมศุลกากรตามใบขนสินค้าขาเข้า..." โดยมิได้ระบุไว้ในตอนนี้ว่า ช. ได้มอบอำนาจในฐานะใดก็ตาม แต่เมื่อ ช. ซึ่งเป็นกรรมการแต่ผู้เดียวที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้โดยต้องประทับตราของบริษัทเป็นสำคัญด้วยได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจนั้น และได้มีการประทับตราของโจทก์ไว้ในช่องที่ ช. ลงลายมือชื่อด้วย ซึ่งกิจการที่มอบให้กระทำตามใบมอบอำนาจนี้ก็เป็นกิจการของโจทก์ จึงไม่มีกรณีที่จะแปลใบมอบอำนาจนี้เป็นอย่างอื่นได้นอกเหนือจาก ช. ในฐานะผู้แทนของโจทก์มอบอำนาจให้ ส. กระทำการตามที่ปรากฏในใบมอบอำนาจแทนโจทก์ก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเพื่อประกันหนี้ตนเอง – พยานหลักฐาน – การบังคับจำนอง
สัญญาจำนองเป็นสัญญาที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่า จำเลยมิได้จำนองเพื่อประกันหนี้ของตนเองไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย และการรับฟังพยานเอกสารที่มิได้ปิดอากรแสตมป์
หนังสือมอบอำนาจให้รับเงินแทนและใบรับเงินของผู้ซ่อมรถเป็นตราสารที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรข้อ 6 และ ข้อ 28ตามลำดับ แม้เอกสารดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็นำมารับฟังประกอบพยานบุคคลว่ามีการจ่ายเงินแล้วได้ เงื่อนไขตามสัญญาประกันภัยเป็นข้ออ้างของคู่สัญญาที่จะปฏิบัติต่อกันหรือลดหย่อนผ่อนกันได้โดยหลักประนีประนอม คู่กรณีเท่านั้นที่จะยกเป็นข้อต่อสู้ระหว่างกัน บุคคลอื่นหา ยก ขึ้นกล่าวอ้างได้ไม่ จำเลยซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดจึงไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ว่าโจทก์ที่ 1 ผู้รับประกันภัยจ่ายค่าทดแทนไปโดยผิดเงื่อนไขในสัญญาประกันภัย เมื่อโจทก์ที่ 1 จ่ายค่าทดแทนไปโดยสุจริตมิได้มีการสมยอมกับผู้เอาประกันภัย ย่อมมีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: คำร้องยกเลิกขายทอดตลาดหลังเสร็จสิ้นกระบวนการเป็นไปตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินจำนองทั้งสามแปลงโดยปลอดจำนองให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2530และผู้ซื้อได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ต่อมาศาลแพ่งได้มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนระงับจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงให้ผู้ซื้อ และโจทก์ได้รับเงินสุทธิจากการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 ดังนี้ ถือได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2531 จึงเป็นการยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดหลังจากการขายทอดตลาดเสร็จสิ้นลงแล้วถึง 9 เดือน คำร้อง ของ จำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การที่โจทก์เป็นผู้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินร่วมกับ ส. ทุกฉบับที่นำไปจำนำแก่ผู้รับจำนำ ทำให้เห็นว่าโจทก์กับ ส. ทำกิจการร่วมกัน และการที่โจทก์เป็นผู้มีชื่อในสารบัญจดทะเบียนของโฉนด ที่ดินที่โจทก์กับพวกซื้อมาจากบริษัท บ. จำกัดร่วมกับ ส. และคนอื่น ๆ รวม 20 คน อันเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ร่วมกับ ส.ซื้อที่ดินดังกล่าวมาแต่ต้น เป็นการแสดงให้เห็นและฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่ร่วมซื้อที่ดินที่นำมาแบ่งแยกและปลูกสร้างอาคารขาย กรณีจึงต้องถือ ว่าการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับที่ดินที่ซื้อมา การ ปลูกสร้างอาคารลง ในที่ดินที่แบ่งแยกเป็นโฉนดแปลงย่อย และการที่ ได้มีการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่แบ่งแยกมา ได้ ดำเนินการโดยการรู้เห็น ของโจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ดำเนินการ เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งการดำเนินการ ดังกล่าวเป็นการประกอบการค้า ประเภทการค้า 11 การค้า อสังหาริมทรัพย์ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าใน ป.รัษฎากร โจทก์จึง มีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากรายรับ และภาษีเงินได้จากการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5251/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การตรวจสอบบัญชี, ค่าใช้จ่ายที่หักได้, และการโต้แย้งการประเมิน
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย อ้างว่าเสียไว้เกินเจ้าพนักงานประเมินต้องตรวจสอบว่าโจทก์ชำระภาษีเกินหรือไม่ผลจากการตรวจสอบจึงพบว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงถือได้ว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ไปไต่สวนได้ตามความในมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์อ้างว่าได้รับยกให้ที่ดินที่ติดจำนอง 1,000,000 บาท โจทก์ไถ่ถอนจำนองและต้องชำระดอกเบี้ยจำนวนหลายแสนบาท จะต้องถือเป็นรายจ่ายนำไปหักจากรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่า โจทก์เสียดอกเบี้ยจริงหรือไม่และจำนวนเท่าไรเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบที่จะฟังว่าไม่มีดอกเบี้ยที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายของโจทก์ โจทก์และบริษัท ส. ต่างเป็นนิติบุคคลแยกจากกัน เงินที่โจทก์นำไปชำระแก่ธนาคารแทนบริษัท ส. มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์ จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ของโจทก์มิได้ตาม มาตรา 65 ตรี(13) ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินรายได้ของ โจทก์ในการจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์โดยวิธีสุ่มตัวอย่างไม่ชอบ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ประเด็นนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์ แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้น โต้แย้งการประเมินต่อศาลได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4670/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมและการยกฟ้องกรณีข้อหาที่ไม่อาจพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นซึ่งตามกฎหมายคำพิพากษาของศาลจะเพิกถอนไม่ได้ เว้นแต่จะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข กลับ หรืองดเสีย โดยคำพิพากษาของศาลในลำดับที่สูงกว่า เมื่อคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ขอให้ศาลพิพากษาในข้อที่ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้โดยชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำฟ้องและคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ทั้งหมด จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 72