พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: คดีเพิกถอนการประเมินภาษีค้างพิจารณา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเก็บภาษี
โจทก์โดยเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระภาษีให้โจทก์จำนวนหนึ่ง จำเลยทั้งสองได้ยื่นฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินดังกล่าวแล้ว ซึ่งศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์หรือไม่ อย่างไรก็ได้เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด จึงฟังว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ค่าภาษีโจทก์ตามที่มีการประเมินไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมิน อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับชำระภาษีค้าง เมื่อคดีเพิกถอนการประเมินยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของจำเลยนั้น ศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์หรือไม่ อย่างไรก็ได้ เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด จะถือว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีแก่โจทก์ตามที่มีการประเมินหาได้ไม่ คดีนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมินดังกล่าว
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระบุรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด แม้เกิดจากละเมิดของบุคคลภายนอก ถือเป็นค่าเสียหายโดยตรง
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ค. โดยมีข้อกำหนดให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดในค่าเสียหายอันเกิดแก่รถยนต์ทุกกรณีและต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยมิได้กำหนดให้หักค่าเสื่อมราคาได้ ข้อสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับได้ เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเสียหายทั้งคัน โจทก์ที่ 2ต้องชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือให้ผู้เช่าซื้อตามข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าค่าเช่าซื้อที่โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: การไม่ปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่ 5 เมษายน 2532 อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มีกำหนด 3 วัน หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้น โจทก์ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันอ่านคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคแรกซึ่งใช้บังคับในขณะโจทก์ยื่นฎีกาคือภายในวันที่ 20 เมษายน 2532 โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในวันที่ 26 เมษายน 2532 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะอุทธรณ์ได้แล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ความสำคัญของกำหนดเวลา และอำนาจศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่5 เมษายน 2532 อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มีกำหนด3 วัน หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้น โจทก์ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันอ่านคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคแรก ซึ่งใช้บังคับในขณะโจทก์ยื่นฎีกาคือภายในวันที่ 20 เมษายน 2532 โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในวันที่ 26 เมษายน 2532 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะอุทธรณ์ได้แล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3759/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คเพื่อเป็นประกัน (อาวัล) ทำให้ผู้สลักหลังต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือการที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหลังเช็คย่อมเป็นการสลักหลังเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3759/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คเพื่อเป็นประกัน (อาวัล) จำเลยมีหน้าที่รับผิดต่อผู้ทรงเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหลังเช็คย่อมเป็นการสลักหลังเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 921,989จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ต้องอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา หากเป็นคำสั่งในชั้นฎีกา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วนหรือมีคำสั่งให้ยกคำขอเสียทีเดียวถ้าเป็นการขอฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้น ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ถ้าเป็นการขอฟ้องหรือต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี คดีนี้โจทก์ขอฟ้องคดีในชั้นฎีกา เป็นเรื่องอยู่ในกระบวนพิจารณาของศาลฎีกา และในชั้นแรกศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์โดยเห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ โจทก์ยื่นคำร้องอ้างว่าประสบอุบัติเหตุรถยนต์คว่ำมาศาลช้ากว่ากำหนดเพราะเหตุสุดวิสัย ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งและให้ไต่สวนพยานโจทก์ต่อไป เท่ากับโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของตนใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมให้ยกคำร้องแม้คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าให้เป็นที่สุด แต่เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับไม่รับฎีกาของศาลชั้นต้น ซึ่งทำแทนศาลฎีกาเป็นอำนาจของศาลฎีกาโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้า โจทก์จึงชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกา ที่โจทก์กลับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้ามีคุณสมบัติป้องกันสนิมและอื่น ๆ ต้องเสียอากรตามพิกัด 'อื่น ๆ'
สินค้าพิพาทเป็นผลิตภัณฑ์เคมีตามพิกัดอัตราอากรแนบท้ายพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ประเภท 38.14 ซึ่งนอกจากจะมีคุณสมบัติป้องกันการเป็นสนิมแล้ว ยังมีคุณสมบัติป้องกัน การรวมตัวของออกซิเจนและป้องกันการกัดกร่อน ผิวโลหะจึงมิใช่สินค้าในรายการ "เฉพาะสิ่งปรุงแต่งที่ใช้สำหรับกันการเป็นสนิม"ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.10/2527(อซ.19)ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 ซึ่งได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 60 ของอัตราที่เรียกเก็บหรือเสียอากรขาเข้าร้อยละ 18 ของราคาของที่นำเข้า แต่เป็นสินค้าในรายการ "อื่น ๆ" ตามบัญชี ท้ายประกาศฉบับเดียวกันซึ่งได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ80 หรือต้องเสียอากรขาเข้าร้อยละ 24 ของราคาของที่นำเข้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคุณสมบัติสินค้าเพื่อจัดประเภทอัตราอากร กรณีสารเคมีมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดสนิมและปฏิกิริยาออกซิเดชัน
สินค้าพิพาท โจทก์ซื้อจากประเทศสิงคโปร์ ประเทศในภาคีอาเซียน และเป็นสินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรที่ 38.14 ปรากฏว่า สินค้าพิพาทนอกจากจะมีคุณสมบัติกันการเป็นสนิมแล้ว ยังมีคุณสมบัติป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชันและป้องกันการกัดกร่อน ด้วย ดังนั้นสินค้าพิพาทจึงไม่ใช่สินค้าในรายการ "เฉพาะสิ่งปรุงแต่ง ที่ใช้สำหรับกันการเป็นสนิม" ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. 10/2527 ที่จะได้ลดอัตราศุลกากรลงเหลือร้อยละ 60 ของอัตราที่เรียกเก็บ หรือเสียอากรขาเข้าร้อยละ 18 ของราคา แต่เป็นสินค้าในรายการ "อื่น ๆ" ในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าว ซึ่งได้รับ ลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 80 หรือต้องเสียอากรร้อยละ 24 ของราคา เมื่อการเรียกเก็บอากรขาเข้าถูกต้องแล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยที่ 1 เรียกเก็บแทนจำเลยที่ 2 จึง ถูกต้องด้วย ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ก่อนหรือไม่ต่อไป เพราะไม่เป็น ประโยชน์แก่คดี.