พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ มีหน้าที่เสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัททำการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคารหลายครั้งหลายช่วงเวลา มีรายรับอันเป็นกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าดังกล่าว ประกอบกับโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ไว้ด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากกำไรอันเกิดจากการประกอบกิจการค้า ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 2 แถลงการณ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาล่วงหน้าด้วยเงินสกุลอื่น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมเงินตราต่างประเทศที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกาสามารถซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาล่วงหน้า และชำระด้วยเงินสกุลอื่นนอกเหนือจากเงินบาทได้เท่านั้น หามีผลทำให้หน้าที่ในการเสียภาษีการค้าดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเปลี่ยนแปลงไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเข้าข่ายเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ไว้และทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร ก. หลายครั้งหลายช่วงเวลาและการซื้อขายไม่มีการส่งมอบเงินตราต่างประเทศระหว่างกันหรือส่งเงินตราไปนอกราชอาณาจักร โจทก์มีรายรับอันเป็นกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากกำไรอันเกิดจากการประกอบการค้าดังกล่าวตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตามคำร้องรับของกลาง: ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญา แม้เจ้าของที่แท้จริงจะโต้แย้ง
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จะนำรถยนต์ของกลางส่งพนักงานสอบสวนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแล้ว จำเลยไม่ส่งมอบโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
สารวัตรใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนคนหนี่ง และเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนการมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
เอกสารคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษา และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน หาใช่สัญญาค้ำประกัน อันเป็นตราสารที่ต้องปิดอากร-แสตมป์ตามประมวลรัษฎากรไม่ เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปขอรับรถยนต์จากพนักงานสอบสวนนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ได้ด้วย เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นชื่อรับรถยนต์ไว้ การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องขอรับรถยนต์ทั้งสิ้นหาเป็นการกระทำเรื่องอื่น ๆ ต่างหากไม่ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว การปิดอากรแสตมป์ 5 บาท ของจำเลยชอบแล้ว
สารวัตรใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนคนหนี่ง และเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนการมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
เอกสารคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษา และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน หาใช่สัญญาค้ำประกัน อันเป็นตราสารที่ต้องปิดอากร-แสตมป์ตามประมวลรัษฎากรไม่ เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปขอรับรถยนต์จากพนักงานสอบสวนนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ได้ด้วย เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นชื่อรับรถยนต์ไว้ การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องขอรับรถยนต์ทั้งสิ้นหาเป็นการกระทำเรื่องอื่น ๆ ต่างหากไม่ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว การปิดอากรแสตมป์ 5 บาท ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาคืนของกลาง: การผูกพันตามสัญญาที่มอบอำนาจให้กระทำต่อพนักงานสอบสวน
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวนตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จะนำรถยนต์ของกลางมาส่งภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง และพนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแล้ว แต่จำเลยไม่ส่งมอบ กรมตำรวจโจทก์ที่ 1 และหัวหน้าพนักงานสอบสวนโจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริง เพราะพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง และไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จำเลยที่ 1 จะมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ แต่สารวัตรใหญ่ก็เป็นพนักงานสอบสวนคนหนึ่งและเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนด้วย การมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำภายในขออำนาจที่ได้รับมอบหมาย และผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย คำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษาและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน ไม่ใช่สัญญาค้ำประกันจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ การมอบอำนาจให้ขอรับรถยนต์คืนจากพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมรวมถึงการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นรับรถยนต์ไว้ ถือเป็นการกระทำการครั้งเดียวตามที่ได้รับมอบอำนาจให้ขอรับรถยนต์คืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ตามสัญญาการรับดูแลรถยนต์ของกลาง และขอบเขตอำนาจของผู้รับมอบอำนาจ
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จะนำรถยนต์ของกลางส่งพนักงานสอบสวนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแล้ว จำเลยไม่ส่งมอบโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ สารวัตรใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนคนหนึ่ง และเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน การมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ การที่จำเลยที่ 2ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย เอกสารคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษา และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน หาใช่สัญญาค้ำประกันอันเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรไม่ เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ การที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปขอรับรถยนต์จากพนักงานสอบสวนนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ได้ด้วย เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นชื่อรับรถยนต์ไว้ การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องขอรับรถยนต์ทั้งสิ้น หาเป็นการกระทำเรื่องอื่น ๆ ต่างหากไม่จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว การปิดอากรแสตมป์5 บาท ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การแยกค่าเช่าที่ดินและโรงงาน, ความรับผิดของผู้เสียภาษี และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
สัญญาเช่าที่ดินที่โจทก์เช่าจากกระทรวงการคลังระบุเฉพาะการเช่าที่ดินเท่านั้น แต่ในที่ดินดังกล่าว มีโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ซึ่งโจทก์เป็นผู้ปลูกสร้างและยกให้แก่จำเลยที่ 1ตามสัญญาเช่าที่โจทก์ได้ทำไว้กับจำเลยที่ 1 อีกต่างหาก แสดงว่าการเช่าโรงงานแยกออกจากการเช่าที่ดิน ที่ดินที่ตั้งโรงงานเป็นของกระทรวงการคลัง ส่วนโรงงานเป็นของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่โจทก์จะอ้างว่ามีค่ารายปีเฉพาะค่าเช่าที่ดิน ดังนั้นการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้นำค่าเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2มาตั้งเป็นฐานในการคำนวณค่ารายปีรวมกับค่าเช่าที่ดินแล้วกำหนดให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามค่ารายปีที่โจทก์เสียค่าเช่าทั้งที่ดินและโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วยจึงชอบแล้ว จำเลยที่ 3 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ตามอำนาจหน้าที่ เมื่อผู้รับประเมินไม่พอใจได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ จำเลยที่ 4 และที่5 ก็ได้พิจารณามีคำชี้ขาดอันเป็นการปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมายไม่ได้กระทำการใดเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดหน้าที่ จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อได้รับแจ้งคำชี้ขาดให้เสียภาษีแล้ว แม้จะมิได้ฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด แต่ก็ได้แจ้งให้ทราบ เพื่อโจทก์จะได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาที่ให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 นับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามควรแก่พฤติการณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2มิได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลเป็นเหตุให้โจทก์ต้องฟ้องคดีเองมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเมื่อมีการเช่าที่ดินและโรงงานแยกกัน การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
สัญญาเช่าที่ดินที่โจทก์เช่าจากกระทรวงการคลังระบุเฉพาะการเช่าที่ดินเท่านั้นแต่ในที่ดินดังกล่าว มีโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ซึ่งโจทก์เป็นผู้ปลูกสร้างและยกให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าที่โจทก์ได้ทำไว้กับจำเลยที่ 1 อีกต่างหากแสดงว่าการเช่าโรงงานแยกออกจากการเช่าที่ดิน ที่ดินที่ตั้งโรงงานเป็นของกระทรวง-การคลัง ส่วนโรงงานเป็นของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่โจทก์จะอ้างว่ามีค่ารายปีเฉพาะค่าเช่าที่ดิน ดังนั้นการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้นำค่าเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 มาตั้งเป็นฐานในการคำนวณค่ารายปีรวมกับค่าเช่าที่ดินแล้วกำหนดให้โจทก์เสีย-ภาษีโรงเรือนและที่ดินตามค่ารายปีที่โจทก์เสียค่าเช่าทั้งที่ดินและโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย จึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 3 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ตามอำนาจหน้าที่เมื่อผู้รับประเมินไม่พอใจได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ได้พิจารณามีคำชี้ขาด อันเป็นการปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ได้กระทำการใดเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดหน้าที่ จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อได้รับแจ้งคำชี้ขาดให้เสียภาษีแล้ว แม้จะมิได้ฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด แต่ก็ได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อโจทก์จะได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาที่ให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 นับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามควรแก่พฤติการณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลเป็นเหตุให้โจทก์ต้องฟ้องคดีเอง มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
จำเลยที่ 3 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ตามอำนาจหน้าที่เมื่อผู้รับประเมินไม่พอใจได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ได้พิจารณามีคำชี้ขาด อันเป็นการปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ได้กระทำการใดเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดหน้าที่ จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อได้รับแจ้งคำชี้ขาดให้เสียภาษีแล้ว แม้จะมิได้ฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด แต่ก็ได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อโจทก์จะได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาที่ให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 นับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามควรแก่พฤติการณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลเป็นเหตุให้โจทก์ต้องฟ้องคดีเอง มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาหลังมีคำพิพากษาและการขอพิจารณาคดีใหม่จำกัดเฉพาะกรณีขาดนัด
การที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 นั้น ต้องขอก่อนศาลมีคำพิพากษา ส่วนการขอให้พิจารณาใหม่หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว ต้องเป็นเรื่องแพ้คดีเพราะขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 จำเลยอ้างว่า ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ไม่ได้แต่งทนาย สัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ทนายความทำแทนไม่ผูกพันจำเลย คำพิพากษาตามยอมไม่อาจบังคับได้ ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นเวลาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว และมิใช่เป็นการพิจารณาคดีโดยขาดนัดพิจารณา จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น และไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ หากจำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรก็ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ไม่ผูกพันตนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาหลังมีคำพิพากษา และผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยต้องดำเนินการก่อนมีคำพิพากษา
ที่จำเลยอ้างว่าไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้อง ไม่ได้แต่งทนายความ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทนายความทำแทนจำเลยไม่ผูกพันจำเลย คำพิพากษาตามยอมไม่อาจบังคับจำเลยได้ ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวซึ่งเป็นเวลาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้วและมิใช่จำเลยแพ้คดีเพราะขาดนัดพิจารณาจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น และ ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ หากจำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรก็ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ไม่ผูกพันตนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องคดีอาญาเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาล และสิทธิในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์อันเป็นการยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 181 ไม่ใช่เป็นการยกฟ้องโดยเหตุที่โจทก์ไม่มีพยานมาสืบตามฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์เมื่อวันที่11 ธันวาคม 2532 โจทก์มายื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2532 หลังจากศาลชั้นต้นสั่งยกฟ้องเพียง3 วัน ยังไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันศาลยกฟ้อง ทั้งคำร้องของโจทก์ก็ได้แสดงเหตุที่มาไม่ได้ไว้ด้วยแล้ว ซึ่งหากเป็นความจริงตามคำร้องก็นับว่ามีเหตุสมควรที่มาไม่ได้ จึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องของโจทก์เสียก่อน จึงจะวินิจฉัยได้ว่าที่โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดนั้นมีเหตุสมควรหรือไม่ การยื่นคำร้องเช่นนี้ไม่จำต้องยื่นเสียในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งหรืออย่างน้อยในวันรุ่งขึ้น การที่โจทก์มายื่นคำร้องหลังจากศาลชั้นต้นยกฟ้อง 3 วัน ก็ยังมิได้แสดงว่าโจทก์ไม่นำพาคดี ถือว่าโจทก์จงใจไม่มาศาลตามกำหนดนัดอันจะต้องยกคำร้องของโจทก์เสีย.