คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ตัน เวทไว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีสัญญาจ้างหมดอายุ: งานต่อเนื่องไม่เข้าข้อยกเว้น
กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดระยะเวลาการจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้าย นั้นจะต้องเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ งานหลักของจำเลยคืองานผลิตต้นคริสต์มาสประดิษฐ์ จำเลยให้โจทก์ทำงานในฝ่ายผลิตต้นคริสต์มาส ในสายงานหลักของจำเลยและลักษณะงานที่โจทก์ทำไม่แตกต่างไปจากงานของลูกจ้างที่จำเลยจ้างไว้ทำตลอดปี กระบวนการผลิตของจำเลยมีต่อเนื่องกันไปตลอดปี ลักษณะของงานที่จำเลยจ้างโจทก์ทำนั้นเป็นงานที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปโดยตลอด ดังนั้นแม้จำเลยจะให้โจทก์ทั้งสามหยุดงานเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้างก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามหมดสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะงานต่อเนื่องไม่เข้าข้อยกเว้นค่าชดเชย: แม้งานมีกำหนดเวลา แต่หากเป็นงานต่อเนื่องตลอดปี ไม่ถือเป็นงานครั้งคราวตามกฎหมาย
งานหลักของจำเลยคืองานผลิตต้นคริสต์มาสประดิษฐ์ จำเลยให้โจทก์ทั้งสามทำงานในฝ่ายผลิตต้นคริสต์มาสในสายงานหลักของจำเลยและลักษณะงานที่โจทก์ทำไม่แตกต่างไปจากงานของลูกจ้างที่จำเลยจ้างไว้ทำตลอดปี กระบวนการผลิตของจำเลยมีต่อเนื่องกันไปตลอดปี ลักษณะของงานที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งสามนั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ แต่เป็นงานที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปโดยตลอด ดังนั้น แม้จำเลยจะให้โจทก์ทั้งสามหยุดงานเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามหมดสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่
แม้โจทก์ทั้งสามจะกล่าวในฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามโดยไม่ปรากฎสาเหตุ แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสาม เพราะจำเลยจ้างโจทก์ทั้งสามเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ มีการทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาไว้ จึงมีประเด็นพิพาทเกิดขึ้นตามคำฟ้องและคำให้การว่า งานที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งสามทำนั้นมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องและไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานต่อเนื่องในสายงานหลักของนายจ้าง แม้มีสัญญาจ้างสิ้นสุด ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
งานหลักของนายจ้างคืองานผลิตต้นคริสต์มาสประดิษฐ์ นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในฝ่ายผลิตต้นคริสต์มาสในสายงานหลักของนายจ้างและลักษณะงานที่ลูกจ้างทำไม่แตกต่างไปจากงานของลูกจ้างที่จ้างไว้ทำตลอดปี กระบวนการผลิตของนายจ้างมีต่อเนื่องกันไปตลอดปีไม่มีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรเป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ แต่เป็นงานที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปโดยตลอด ดังนั้นแม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างหยุดงานเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ก็ไม่เป็นเหตุให้ลูกจ้างหมดสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับคดีแรงงาน: ศาลแรงงานพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเพียงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้เรียกค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากจำเลย ทั้งมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวแต่อย่างใด การที่ศาลแรงงานพิพากษาล่วงเลยไปให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง และไม่ใช่เป็นกรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความซึ่งศาลแรงงานจะมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้ ที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอและขอบเขตอำนาจศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
โจทก์กล่าวในฟ้องเพียงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ย โจทก์ไม่ได้เรียกค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากจำเลย ทั้งมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาล่วงเลยไปให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องและไม่ใช่เป็นกรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52 ที่ศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีแรงงานเกินคำขอในฟ้อง และขอบเขตอำนาจศาลแรงงานตามมาตรา 52 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเพียงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจากจำเลย ทั้งมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวแต่อย่างใด การที่ศาลแรงงานพิพากษาล่วงเลยไปให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และไม่ใช่เป็นกรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความซึ่งศาลแรงงานจะมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้ ที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษีอากร: การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล, ค่าใช้จ่ายต้องห้าม, เงินเพิ่ม, และการพิสูจน์หลักฐานทางบัญชี
ในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นชอบด้วยนั้น อาจถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรที่กล่าวมาแล้วก็จะไร้ผล คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล และคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลซึ่งยังไม่ถึงที่สุด กรมสรรพากรจำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ที่กำหนดให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี ในการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบภายในกำหนดเวลาเท่าใด และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ดังนั้น แม้จะแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบเกิน 5 ปี นับแต่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินก็ไม่ทำให้การประเมินที่ผ่านมาแล้วเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ในการจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ได้แบ่งจ่ายให้แก่ผู้อื่นตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอก ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าผู้มีเงินได้ค่าลิขสิทธิ์จริงคือผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนผู้ที่มารับเงินเพียงแต่เป็นบุคคลที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอกให้โจทก์จ่ายจึงถือได้ว่าเป็นเงินได้ที่โจทก์จ่ายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว โจทก์ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายเหมือนเช่นจ่ายเงินได้ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว ไม่ชอบที่โจทก์จะคำนวณหักภาษีณ ที่จ่ายหลังจากแบ่งค่าลิขสิทธิ์ให้แก่บุคคลต่าง ๆ ที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอกให้โจทก์จ่ายแล้วซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งไม่ครบถ้วน ทั้งนี้เพราะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นถ้ามีเงินได้มากขึ้นก็จะต้องเสียภาษีในอัตราเพิ่มมากขึ้น แม้โจทก์จะไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากการหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่กฎหมายกำหนดให้โจทก์ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีณ ที่จ่าย และนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อโจทก์หักและนำส่งไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์ก็ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ขาดตามมาตรา 54 ค่าซื้อเครื่องถ่ายเอกสารตามหลักฐานปรากฏว่าโรงพิมพ์ ก.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์เป็นผู้ซื้อ จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (13) ค่ากระเช้าดอกไม้ ค่าช่วยงานแต่งงาน ค่าช่วยงานบวชนาค และค่าช่วยงานศพ ล้วนมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หา และเป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ในทางการงานหรือสังคมของตนเอง และมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจการค้าของโจทก์โดยตรงจึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) รายจ่ายค่าซ่อมรถซึ่งโจทก์ไม่มีหลักฐานว่าเป็นค่าซ่อมรถของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (13) ค่ารับรองและค่าพาหนะซึ่งล้วนแต่เป็นรายจ่ายที่เป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินยิ่งกว่าประโยชน์ทางการค้าของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (3) ค่าขนส่ง ค่านายหน้า และค่าจ้างทำของ และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (18) ค่าซ่อมแซมพื้นห้องที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าโจทก์ได้ซ่อมแซมพื้นห้องของโจทก์จริง จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (13) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์หลีกเลี่ยงภาษีและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ผ่อนผันลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์แล้ว คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมายจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะงดเงินเพิ่มให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย แม้เกินขอบเขตที่จำเลยบอกไว้
จำเลยที่ 2 ได้แต่งตั้ง ส. เป็นทนายของตน โดยระบุไว้ในใบแต่งทนายความว่าให้มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ด้วยเมื่อทนายจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยที่ 2 แม้จะฟังเป็นความจริงว่า ทนายจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยยอมรับจะผ่อนชำระเงินแต่ละงวดเกินกว่าจำนวนที่จำเลยที่ 2ได้บอกแก่ทนายจำเลยที่ 2 ไว้ก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 2กับทนายของตนจำเลยที่ 2 ไม่อาจจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้เปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาตามยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงาน vs. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องคดีโจทก์แล้วได้สั่งให้โจทก์ มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการ ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตาม มาตรา 38 เท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์แล้ว ได้นัดพิจารณา และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดด้วย ซึ่งต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ได้มาศาลตามวันเวลานัด ดังกล่าวและศาลได้ทำการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 แต่ตกลงกัน ไม่ได้ จึงได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ตามมาตรา 39 และได้นัดวัน สืบพยานโจทก์ดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไม่มาศาลตามมาตรา 37 เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ตามมาตรา 37,38 และ 39 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้ โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้
กรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลรับฟ้องแล้วสั่งให้คู่ความมาศาลในวันนัดตามมาตรา 37 เพื่อศาลจะได้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 หากตกลงกันไม่ได้จึงจะจดประเด็นข้อพิพาทตามมาตรา 39 และนัดสืบพยานโจทก์แต่กรณีที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานภายหลังจากนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้เฉพาะต้องนำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 31.
of 72