คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ตัน เวทไว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้
กรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลรับฟ้องแล้วสั่งให้คู่ความมาศาลในวันนัดตามมาตรา 37 เพื่อศาลจะได้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 หากตกลงกันไม่ได้จึงจะจดประเด็นข้อพิพาทตามมาตรา 39 และนัดสืบพยานโจทก์แต่กรณีที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานภายหลังจากนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้เฉพาะต้องนำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทสินค้าเพื่อเสียภาษี: แผ่นพลาสติกปูพื้นเป็นวัตถุก่อสร้าง ไม่ใช่สิ่งทอหรือเครื่องแต่งกาย
โจทก์ผลิตสินค้าแผ่นพลาสติกดูราฟลอร์ซึ่งเป็นแผ่นพี.วี.ซี.หรือแผ่นพลาสติกนิ่มเพื่อให้ผู้ใช้สินค้านำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุสำหรับปูพื้นอาคารและปิดผนังอาคารโดยเฉพาะ หาได้มีความประสงค์จะให้ใช้เป็นสินค้าประเภทอื่นไม่การที่มีผู้นำสินค้าที่โจทก์ผลิตไปใช้ประกอบเป็นสินค้าอื่น เช่น รองเท้า กระเป๋าที่รองจานเป็นเพียงผลพลอยได้นอกเหนือจากความประสงค์ของโจทก์เท่านั้นสินค้าของโจทก์จึงจัดเป็นวัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือนเข้าลักษณะสิ่งปูลาดตามความหมายในหมวด 4(7) บัญชี 1 ท้าย พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มิใช่ประเภทผ้า เครื่องหนัง เครื่องประดับหรือเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์เครื่องแต่งกายในหมวด 2(2)จึงไม่ได้รับการลดหย่อนภาษีการค้าตาม พ.ร.ฎ. ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสินค้าพลาสติก: สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างหรือพลาสติกเป็นผืน และอัตราภาษีที่ถูกต้อง
ผลิตภัณฑ์สินค้าของโจทก์เป็นแผ่น พี.วี.ซี หรือแผ่นพลาสติกนิ่มมีความเหนียวแน่นทนทาน กว้าง 2 เมตร ยาว 20-30 เมตร หนา1-1.5 มิลลิเมตร โจทก์ผลิตขึ้นด้วยความประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้สินค้านำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุสำหรับปูพื้นอาคารและปิดผนังอาคารโดยเฉพาะการที่มีผู้นำไปใช้ประกอบเป็นสินค้า เช่น รองเท้า กระเป๋าที่รองจานเป็นเพียงผลพลอยได้ที่นอกเหนือจากความประสงค์ของโจทก์สินค้าของโจทก์จึงจัดเป็นวัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือนเข้าลักษณะสิ่งปูลาดตามความหมายในหมวด 4(7) บัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ซึ่งมิได้รับการลดหย่อนภาษีการค้า ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1. การขายของชนิด 1(ก) ในประมวลรัษฎากร ไม่อาจจัดเป็นสินค้าพลาสติกเป็นผืนประเภท ผ้า เครื่องหนัง เครื่องประดับหรือเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์เครื่องแต่งกายในหมวด 2(2) ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าเพียงอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราปกติของสถาบันการเงินต้องมีการนำสืบหลักฐานยืนยันอัตราที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
การที่โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2524ซึ่งให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดจากผู้กู้ยืมสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปี แต่ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประกาศให้สถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ประกาศดังกล่าวหากมีอยู่จริงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ศาลจะรับรู้เอง และมิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้ได้เอง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราตามที่โจทก์อ้าง ซึ่งเกินไปจากอัตราปกติตามที่กฎหมายกำหนด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากหนังสือเตือนหมดอายุ และขาดการตักเตือนเป็นหนังสือก่อนเลิกจ้าง
หากนับจากวันออกหนังสือเตือนถึงวันที่โจทก์กระทำผิดอันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน 13 วัน หรือหากนับตั้งแต่วันที่โจทก์กระทำผิดอันเป็นเหตุให้จำเลยออกหนังสือเตือนจนถึงวันที่โจทก์กระทำผิดอันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน 21 วัน ซึ่งไม่ว่าจะเริ่มนับระยะเวลาของหนังสือเตือน โดยวิธีใด ก็ล้วนแต่เป็นระยะเวลาที่เนิ่นนานเกินสมควร ถือว่าหนังสือเตือนดังกล่าวสิ้นผล ไม่สามารถจะนำมาเป็นเหตุในการพิจารณาประกอบการเลิกจ้างโจทก์ตามข้อบังคับได้ถือว่าโจทก์ไม่ได้ถูกตักเตือนเป็นหนังสือมาก่อน จำเลยไม่มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ตามความในข้อ 9 แห่งข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากหนังสือเตือนหมดอายุ และนายจ้างไม่มีสิทธิเลิกจ้างตามข้อบังคับ
ตามข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่านายจ้างจะลงโทษผู้กระทำผิดด้วยการให้ออกได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำผิดเคยถูกตักเตือนเป็นหนังสือมาก่อน เมื่อหนังสือเตือนฉบับสุดท้ายก่อนที่ลูกจ้างกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างหากนับตั้งแต่วันออกหนังสือเตือนถึงวันกระทำความผิดเป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน 13 วัน หรือนับตั้งแต่วันกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้นายจ้างออกหนังสือเตือนจนถึงวันกระทำผิดอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างก็เป็นเวลาถึง 1 ปี5 เดือน 15 วัน ซึ่งไม่ว่าจะนับโดยวิธีใด ก็เป็นระยะเวลาที่เนิ่นนานเกินสมควรไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการพิจารณาประกอบการเลิกจ้างลูกจ้างตามข้อบังคับของนายจ้างได้ หนังสือเตือนดังกล่าวจึงสิ้นผลไปก่อนที่ลูกจ้างกระทำผิดวินัย อันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างจึงถือว่าลูกจ้างมิได้ถูกตักเตือนเป็นหนังสือในความผิดนั้นมาก่อนนายจ้างไม่มีสิทธิที่จะเลิกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าวได้ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับของนายจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคมกรณีคลอดบุตร: คู่สมรสต้องจดทะเบียนสมรส
แม้ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 จะไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่เนื่องจากเป็นถ้อยคำในจดหมาย จึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า"คู่สมรส" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามบทบัญญัติ มาตรา 4แห่ง ป.พ.พ. คือ มาตรา 1552,1553 และ 1559 ซึ่งหมายถึงสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น คำว่า คู่สมรสตามพ.ร.บ. ประกันสังคม มาตรา 65 วรรคแรก จึงต้องหมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วยเช่นกัน ขณะที่น.ภริยาโจทก์คลอดบุตรโจทก์และ น. ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันน. จึงไม่ใช่คู่สมรสของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่ น. คลอดบุตร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสเป็นเงื่อนไขการเป็นคู่สมรสตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม เพื่อสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร
คำว่า คู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 65 วรรคแรก หมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่สมรสตามพรบ.ประกันสังคม ต้องเป็นการจดทะเบียนสมรส การอยู่กินฉันสามีภริยาไม่ถือเป็นคู่สมรส
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ว่า มีความหมายอย่างไร จึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า "คู่สมรส" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งก็คือบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว บทบัญญัติดังกล่าวให้ความหมายคู่สมรสว่าหมายถึงชายหญิงที่ทำการสมรสกันและการสมรสจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น คำว่าคู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 65วรรคแรก จึงหมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วย ขณะภริยาโจทก์คลอดบุตร โจทก์และภริยายังมิได้จดทะเบียนสมรสกัน จึงมิใช่คู่สมรสของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีภริยาคลอดบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้จัดการบริษัทในการเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการและจำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานได้และทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 5 จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 ต้องถือว่าจำเลยที่ 5เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามคำว่า นายจ้างในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
of 72