พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเลิกจ้างลูกจ้างต้องมาจากกรรมการผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจ
ร.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยภรรยาของร.ไม่ใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้ และภรรยาของ ร. ไม่ได้รับมอบหมายจากร. ผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของ ร.จึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ การที่ภรรยาของ ร.ให้ส. บอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานกับจำเลยอีกต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเลิกจ้างพนักงาน: ภรรยาผู้บริหารไม่มีอำนาจ
ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้ และภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิได้รับมอบหมายจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงาน การที่ภรรยากรรมการผู้จัดการของจำเลยบอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องมีอำนาจจากนายจ้าง การมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นเลิกจ้างต้องชัดเจน
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง หมายความถึงการเลิกจ้างโดยนายจ้างหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง ร. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย เมื่อไม่ปรากฏว่าภรรยาของ ร. ได้รับมอบหมายจากร.ให้มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์การที่ภรรยาของร.ให้ส.ไปบอกโจทก์ว่าไม่ให้มาทำงานกับจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลไม่รับฟังเหตุอื่นนอกเหนือจากนั้น
หนังสือเลิกจ้างระบุเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพียง 2 ประการคือ โจทก์ยักยอกเงินของจำเลย โดยใช้ใบเสร็จของบริษัท อ. และโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการกู้ยืมเงิน พ. มิได้อ้างเหตุว่าโจทก์ยักยอกหรือโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นจำเลยจึงยกเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ยักยอกหรือโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ จำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนั้นไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าโจทก์ยักยอกและโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สัญญากู้ยืมเงินและค้ำประกันเป็นหลักฐานในคดีแพ่ง แม้จะติดอากรแสตมป์หลังทำสัญญา
ป.รัษฎากร มาตรา 118 หาได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไม่ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้ว ในขณะฟ้องคดีจะโดยผู้อ้างเป็นผู้กระทำเองหรือผู้อ้างขอให้ศาลสั่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรจัดการให้ก็มีผลเช่นเดียวกัน ศาลจึงรับฟังสัญญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์ไม่จำเป็นต้องปิดในขณะทำสัญญา เพียงแต่ต้องปิดและขีดฆ่าก่อนนำมาใช้เป็นหลักฐานในคดี
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในตราสารในขณะทำสัญญา แม้มิได้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์แต่แรกในขณะทำสัญญา แต่เมื่อได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้วในขณะฟ้องจะโดยผู้อ้างเป็นผู้กระทำเองหรือผู้อ้างขอให้ศาลสั่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรจัดการให้ก็มีผลเช่นเดียวกัน ศาลจึงรับฟังสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการฟ้องทายาทของผู้กู้เพื่อชำระหนี้
ป. กู้เงินไปจากโจทก์ เมื่อ ป. ตายโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ป. ให้ชำระหนี้เงินกู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737 โดยชั้นนี้ไม่จำต้องพิจารณาว่า จำเลยได้รับมรดกของ ป. หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีตามมาตรา 1601,1738 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตาย: สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องทายาท แม้ยังมิได้มีการแบ่งมรดก
ป. กู้เงินไปจากโจทก์ เมื่อ ป. ตาย โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ป. ให้ชำระหนี้เงินกู้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1737 โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยได้รับมรดกของ ป. หรือไม่เพราะเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีตาม มาตรา1601,1738 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องเปิดทางจำเป็น แม้ไม่ครอบครอง และฟ้องซ้ำที่ไม่เป็นเหตุต้องห้าม
โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทที่โจทก์อ้างว่าตกเป็นทางจำเป็นได้โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ครอบครองทางพิพาทและการที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วขอถอนฟ้องและนำมูลคดีนั้นมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมาย มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อน ศาลชั้นต้นจึงยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันมาฟ้องเป็นคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ดังนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำอันต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148 ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่โดยรอบ โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะมา 40 กว่าปี โดยไม่ได้ใช้ทางอื่น ทางพิพาทอยู่ริม สุดของเขตที่ดินของจำเลยทำให้ที่ดินของจำเลยที่ 2 เสียหายน้อยที่สุดและเป็นทางจำเป็นซึ่งพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์ ดังนี้จำเลยไม่มีสิทธิก่อกำแพงปิดกั้นทางพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องเปิดทางจำเป็น แม้ไม่ครอบครอง และฟ้องซ้ำไม่สำเร็จหากยังไม่มีคำพิพากษา
โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางจำเป็นได้โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ครอบครองทางพิพาท โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อน ศาลชั้นต้นจึงยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันมาฟ้องจำเลยคนเดียวกันอีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148