พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีเช็ค การรับฟังพยานหลักฐาน และการฟ้องร้องที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
แบบพิมพ์อุทธรณ์ที่จำเลยใช้มีสาระสำคัญเหมือนกับกระดาษแบบพิมพ์ที่ศาลจัดไว้จะต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อยและมิใช่สาระสำคัญทั้งศาลชั้นต้นก็สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้สั่งให้ทำใหม่เสียให้ถูกต้องดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบบพิมพ์อุทธรณ์ที่ใช้มีลักษณะใกล้เคียงกับแบบพิมพ์ศาล แม้ไม่ตรงทุกประการ ก็ถือเป็นอุทธรณ์ที่ชอบแล้ว
แบบพิมพ์อุทธรณ์ที่จำเลยใช้มีสาระสำคัญเหมือนกับกระดาษแบบพิมพ์ที่ศาลจัดไว้ จะต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อยและมิใช่สาระสำคัญ ทั้งศาลชั้นต้นก็สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้สั่งให้ทำใหม่เสียให้ถูกต้อง ดังนี้ อุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์เกินกรอบคำขอเดิม และคำสั่งศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
แม้คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะใช้แบบพิมพ์คำร้องเป็นคำฟ้องอุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นข้ออื่น จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจวินิจฉัยแล้วว่าเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายถึงขนาดที่จะรับไว้พิจารณาไม่ได้ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้เถียงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดไต่สวนและยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 215.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ: การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดแล้ว
แม้คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะใช้แบบพิมพ์คำร้องเป็นคำฟ้องอุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นข้ออื่น จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจวินิจฉัยแล้วว่าเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายถึงขนาดที่จะรับไว้พิจารณาไม่ได้
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้เถียงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดไต่สวนและยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 215
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้เถียงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดไต่สวนและยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง