พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงและการโอนสิทธิเช่าหลังเลิกบริษัท: สิทธิของผู้ให้เช่าช่วงและผู้รับโอน
แม้โจทก์จะถูกศาลสั่งให้เลิกบริษัทแล้ว แต่ก็ยังหาได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลไปทันทีไม่จะยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เมื่อโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่และยังอยู่ในระหว่างการชำระบัญชี โจทก์ก็ย่อมจะรับสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้กับม. และ อ.ได้
แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับ ด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่า ด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดี กำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดี หรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของ ด.ก็ตาม ล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.ทั้งสิ้น คู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้ เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้น หาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ม.และ อ. ข้อ 6 และ ข้อ 7 แล้ว จะเห็นได้ว่าในข้อ 7 นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้ แต่ในข้อ 6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่น จะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ 2,000 บาท ดังนั้น ในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรง แต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่ สัญญาระหว่างโจทก์กับ ด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่า โจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับ ม.และ อ.อยู่ ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้
แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่า การโอนสิทธิการเช่าให้ ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.เป็นบุตรและผู้จัดการ-มรดกของ ด.ผู้เช่าช่วง เมื่อ ด.ถึงแก่กรรมไป โจทก์และ ม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับ ด.ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.เลิกกันไปเพราะความตายของ ด.แล้ว โจทก์ยินยอมให้ ม.สืบสิทธิของ ด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของ ม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตาม ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และ 1259 (2)(3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับ ด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่า ด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดี กำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดี หรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของ ด.ก็ตาม ล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.ทั้งสิ้น คู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้ เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้น หาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ม.และ อ. ข้อ 6 และ ข้อ 7 แล้ว จะเห็นได้ว่าในข้อ 7 นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้ แต่ในข้อ 6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่น จะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ 2,000 บาท ดังนั้น ในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรง แต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่ สัญญาระหว่างโจทก์กับ ด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่า โจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับ ม.และ อ.อยู่ ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้
แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่า การโอนสิทธิการเช่าให้ ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.เป็นบุตรและผู้จัดการ-มรดกของ ด.ผู้เช่าช่วง เมื่อ ด.ถึงแก่กรรมไป โจทก์และ ม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับ ด.ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.เลิกกันไปเพราะความตายของ ด.แล้ว โจทก์ยินยอมให้ ม.สืบสิทธิของ ด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของ ม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตาม ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และ 1259 (2)(3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพการเป็นนิติบุคคลหลังเลิกบริษัท สิทธิในการเช่าช่วง และการโอนสิทธิการเช่าเพื่อชำระบัญชี
แม้โจทก์จะถูกศาลสั่งให้เลิกบริษัทแล้วแต่ก็ยังหาได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลไปทันทีไม่ว่าจะยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249เมื่อโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่และยังอยู่ในระหว่างการชำระบัญชีโจทก์ก็ย่อมจะรับสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้กับม. และอ. ได้ แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่าด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดีกำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดีหรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของด.ก็ตามล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับด.ทั้งสิ้นคู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้นหาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับม.และอ. ข้อ6และข้อ7แล้วจะเห็นได้ว่าในข้อ7นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้แต่ในข้อ6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่นจะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ2,000บาทดังนั้นในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงแต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่สัญญาระหว่างโจทก์กับด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่าโจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับม. และอ. อยู่ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่าการโอนสิทธิการเช่าให้ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไรแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม.เป็นบุตรและผู้จัดการมรดกของด.ผู้เช่าช่วงเมื่อด.ถึงแก่กรรมไปโจทก์และม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับด.ต่อไปไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับด. เลิกกันไปเพราะความตายของด.แล้วโจทก์ยินยอมให้ม.สืบสิทธิของด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตามผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1250และ1259(2)(3)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8177/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยสุจริตคัดค้านการรังวัด และอำนาจฟ้องของผู้ที่จะซื้อที่ดิน
ร่องน้ำระหว่างที่ดินของจำเลยและโจทก์ที่ 1 เป็นร่องสวนเดิมที่ขุดขึ้นเพื่อนำน้ำจากคลองสาธารณะเข้ามาใช้ทำสวน ซึ่งมิใช่ลำรางหรือลำกระโดงสาธารณะ แต่สภาพที่ดินพิพาทเป็นร่องสวนที่มีมานานหลายสิบปีน่าจะเป็นร่องน้ำสาธารณ-ประโยชน์ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียง และจากการที่จำเลยได้ตรวจสอบหลักเขตที่ดินเขตติดต่อกันแต่หลักเขตต่างกัน ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินยังแจ้งว่าหลักทั้งสองห่างกัน 3.16 เมตร ย่อมทำให้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเข้าใจว่าระหว่างที่ดินทั้งสองแปลงมีช่องว่างอยู่ และได้คัดค้านการรังวัดแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ดังนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตน มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์อันเนื่องมาจากการคัดค้านดังกล่าว
แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นเพียงผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์ที่ 1 ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ทำการรังวัด แต่โจทก์ที่ 2 ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในฐานที่จำเลยทั้งสี่ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหาย มิได้ฟ้องคดีโดยอาศัยการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ก่อละเมิดให้ตนต้องได้รับความเสียหายได้ หาจำเป็นจะต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยทั้งสี่มาก่อนไม่ โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 หากจำเลยไม่จัดการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ดำเนินคดีต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานที่ดินกำหนด เจ้าพนักงานที่ดินจึงยกเลิกการรังวัดที่ดินไป กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานที่ดินจะต้องมีการดำเนินการต่อไปภายหลังมีคำพิพากษาของศาล ดังนี้คำคัดค้านนั้นย่อมสิ้นสุดไปด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจจะมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ที่ 1 ขอได้
แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นเพียงผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์ที่ 1 ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ทำการรังวัด แต่โจทก์ที่ 2 ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในฐานที่จำเลยทั้งสี่ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหาย มิได้ฟ้องคดีโดยอาศัยการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ก่อละเมิดให้ตนต้องได้รับความเสียหายได้ หาจำเป็นจะต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยทั้งสี่มาก่อนไม่ โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 หากจำเลยไม่จัดการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ดำเนินคดีต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานที่ดินกำหนด เจ้าพนักงานที่ดินจึงยกเลิกการรังวัดที่ดินไป กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานที่ดินจะต้องมีการดำเนินการต่อไปภายหลังมีคำพิพากษาของศาล ดังนี้คำคัดค้านนั้นย่อมสิ้นสุดไปด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจจะมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ที่ 1 ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8177/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่องสวนติดที่ดินพิพาทเป็นร่องสวนเดิม ไม่ใช่ลำรางสาธารณะ จำเลยคัดค้านรังวัดโดยสุจริต ไม่ต้องรับผิด
ร่องน้ำระหว่างที่ดินของจำเลยและโจทก์ที่ 1 เป็นร่องสวนเดิมที่ขุดขึ้นเพื่อนำน้ำจากคลองสาธารณะเข้ามาใช้ทำสวน ซึ่งมิใช่ลำรางหรือลำกระโดงสาธารณะ แต่สภาพที่ดินพิพาทเป็นร่องสวนที่มีมานานหลายสิบปีน่าจะเป็นร่องน้ำสาธารณะประโยชน์ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียง และจากการที่จำเลยได้ตรวจสอบหลักเขตที่ดินเขตติดต่อกันแต่หลักเขตต่างกัน ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินยังแจ้งว่าหลักทั้งสองห่างกัน 3.16 เมตร ย่อมทำให้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมเข้าใจว่าระหว่างที่ดินทั้งสองแปลงมีช่องว่างอยู่ และได้ตัดค้านการรังวัดแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ดังนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตน มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์อันเนื่องมาจากการคัดค้านดังกล่าว แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นเพียงผู้ซื้อที่ดินจากโจทก์ที่ 1ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ทำการรังวัด แต่โจทก์ที่ 2ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในฐานที่จำเลยทั้งสี่ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหาย มิได้ฟ้องคดีโดยอาศัยการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้โจทก์ที่ 2มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ก่อละเมิดให้ตนต้องได้รับความเสียหายได้ หาจำเป็นจะต้อง มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยทั้งสี่มาก่อนไม่ โจทก์ที่ 2จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 หากจำเลยไม่จัดการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ดำเนินคดีต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานที่ดินกำหนด เจ้าพนักงานที่ดินจึงยกเลิกการรังวัดที่ดินไป กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานที่ดินจะต้องมีการดำเนินการต่อไปภายหลังมีคำพิพากษาของศาล ดังนี้คำคัดค้านนั้นย่อมสิ้นสุดไปด้วยศาลฎีกาจึงไม่อาจจะมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ที่ 1 ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเข้าร่วมทำร้ายจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ถือมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
ก่อนเกิดเหตุ ผู้เสียหายมีเรื่องโต้เถียงกับจำเลยที่ 6 ต่อมาจำเลยที่ 6 กับพวกรวมทั้งจำเลยที่ 5 วิ่งไล่ทำร้ายผู้เสียหายและเข้าทำร้ายผู้ตายโดยเข้าใจว่าเป็นพวกผู้เสียหาย การเข้ากลุ้มรุมทำร้ายเช่นนี้ มิใช่ต่างคนมาพบและทำร้ายผู้ตายโดยลำพัง แต่มีเจตนาวิ่งไล่ตามทำร้ายผู้เสียหายมาด้วยกันตั้งแต่แรกแล้วและเมื่อมีเจ้าพนักงานตำรวจมาพบก็วิ่งหนีไปด้วยกัน ย่อมฟังว่าจำเลยทุกคนมีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการร่วมกันทำร้ายนั้น แม้การกระทำของจำเลยที่ 5 จะไม่อาจทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ก็ตาม จำเลยที่ 5ก็ย่อมต้องได้รับผลจากการตายของผู้ตายนั้นด้วย จำเลยที่ 5 มิได้มีเจตนาฆ่าผู้ตายแต่การร่วมกับพวกทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 5 จึงมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันทำร้ายจนถึงแก่ความตาย แม้ไม่มีเจตนาฆ่า ก็มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายมีเรื่องโต้เถียงกับจำเลยที่6ต่อมาจำเลยที่6กับพวกรวมทั้งจำเลยที่5วิ่งไล่ทำร้ายผู้เสียหายและเข้าทำร้ายผู้ตายโดยเข้าใจว่าเป็นพวกผู้เสียหายการเข้ากลุ้มรุมทำร้ายเช่นนี้มิใช่ต่างคนมาพบและทำร้ายผู้ตายโดยลำพังแต่มีเจตนาวิ่งไล่ตามทำร้ายผู้เสียหายมาด้วยกันตั้งแต่แรกแล้วและเมื่อมีเจ้าพนักงานตำรวจมาพบก็วิ่งหนีไปด้วยกันย่อมฟังว่าจำเลยทุกคนมีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการร่วมกันทำร้ายนั้นแม้การกระทำของจำเลยที่5จะไม่อาจทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ก็ตามจำเลยที่5ก็ย่อมต้องได้รับผลจากการตายของผู้ตายนั้นด้วยจำเลยที่5มิได้มีเจตนาฆ่าผู้ตายแต่การร่วมกับพวกทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยที่5จึงมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: สิทธิครอบครองเดิม, การครอบครองปรปักษ์, และหลักฐานการครอบครอง
ที่จำเลยฎีกาว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ยอมรับว่าต.ครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้วต้องฟังว่า ต.ครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีแล้วนั้นตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงแต่ว่าเมื่อ 20 ปีมาแล้ว ต.เคยมาขออนุญาตมารดาโจทก์ปลูกตะไคร้กล้วยเท่านั้นซึ่งเท่ากับว่าต.เคยครอบครองที่ดินพิพาทในนามของมารดาโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเองเกินกว่า 1 ปี ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้วตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้น แม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู้กระบวนการพิจารณาของศาล อีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้ จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตาย จำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ: ประเด็นการนำสืบพยานและข้อจำกัดในการฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ยอมรับว่าต.ครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ต้องฟังว่า ต.ครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีแล้วนั้น ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงแต่ว่าเมื่อ 20 ปีมาแล้ว ต.เคยมาขออนุญาตมารดาโจทก์ปลูกตะไคร้ กล้วย เท่านั้นซึ่งเท่ากับว่า ต.เคยครอบครองที่ดินพิพาทในนามของมารดาโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเองเกินกว่า 1 ปี
ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้น แม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล อีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้
จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตาย จำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้น แม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล อีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้
จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตาย จำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิโดยพยานหลักฐานและผลของการครอบครองปรปักษ์
ที่จำเลยฎีกาว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ยอมรับว่าต.ครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อประมาณ20ปีมาแล้วต้องฟังว่าต.ครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า1ปีแล้วนั้นตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงแต่ว่าเมื่อ20ปีมาแล้วต.เคยมาขออนุญาตมารดาโจทก์ปลูกตะไคร้กล้วยเท่านั้นซึ่งเท่ากับว่าต.เคยครอบครองที่ดินพิพาทในนามของมารดาโจทก์เท่านั้นไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเองเกินกว่า1ปี ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา10กว่าปีแล้วตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้นแม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้วแต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู้กระบวนการพิจารณาของศาลอีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วยจึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้ จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตายจำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1381จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา1375ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7136/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินปันผลตามสัดส่วนระยะเวลาถือหุ้น สหกรณ์ต้องจ่ายปันผลตามจริง แม้ถือหุ้นไม่ครบปี
ระเบียบว่าด้วยหุ้นฯของจำเลยข้อ12ระบุว่าการคิดเงินปันผลตามหุ้นให้คิดตามส่วนแห่งระยะเวลาการถือหุ้นตามจำนวนเดือนเต็มและเงินค่าหุ้นที่สหกรณ์ได้รับภายในวันที่7ของเดือนสหกรณ์จะคิดเงินปันผลให้สำหรับเดือนนั้นส่วนเงินค่าหุ้นที่สหกรณ์ได้รับหลังวันที่7ของเดือนสหกรณ์จะคิดเงินปันผลให้ตั้งแต่เดือนถัดไปหมายความว่าจำเลยจะต้องคิดเงินปันผลตามหุ้นให้แก่สมาชิกตามส่วนแห่งระยะเวลาการถือหุ้นจะจ่ายให้แต่เฉพาะผู้ถือหุ้นอยู่ครบปีหรือจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นที่มีอยู่ณวันสิ้นปีทางบัญชีหาได้ไม่ ระเบียบว่าด้วยหุ้นฯของจำเลยข้อ9.1ระบุว่าในกรณีที่สมาชิกขาดสมาชิกภาพเพราะเหตุตายลาออกหรือขาดคุณสมบัติสหกรณ์จะจ่ายคืนค่าหุ้นแก่ผู้มีสิทธิได้รับโดยไม่มีเงินปันผลหมายความว่าระเบียบนี้ใช้เฉพาะสมาชิกของจำเลยที่ขาดสมาชิกภาพเท่านั้นโจทก์ไม่ได้ขาดสมาชิกภาพจึงนำมาปรับใช้กับกรณีของโจทก์ไม่ได้