คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญศรี กอบบุญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าฉาง + ฝากทรัพย์: อายุความ 10 ปี ดอกเบี้ยเป็นค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาเช่าฉางกับจำเลยเพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บข้าวเปลือกของโจทก์และมีข้อสัญญาว่าจำเลยจะเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้มิให้สูญหายหากสูญหายจำเลยจะรับผิดชอบชดใช้ราคาข้าวเปลือกให้มีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วยเมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไปจำเลยต้องใช้ราคาแทนการฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์กรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามมาตรา164เดิมหนี้เงินนี้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างเวลาที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระได้ตามมาตรา224วรรคแรกไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166เดิมแต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน - สัญญาไม่เป็นโมฆะแม้ผู้ขายไม่แจ้งความจำนงขายแก่ผู้เช่า - การโอนให้ผู้อื่นเพื่อฉ้อฉลเจ้าหนี้
บทบัญญัติพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา53ที่บัญญัติว่าผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคชก.ตำบลเพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคชก.ตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้นั้นเป็นบทบัญญัติที่มีความประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่เกษตรกรผู้เช่านาเท่านั้นผู้เช่านาฝ่ายเดียวมีสิทธิที่จะยกบทบัญญัติดังกล่าวนั้นขึ้นอ้างอิงได้จำเลยที่1ผู้จะขายนายกขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้จะซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ โจทก์เป็นบุคคลภายนอกฟ้องบังคับจำเลยที่1โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อกรณีมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับผู้เช่านาจะซื้อนาที่บังคับผู้ให้เช่าจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวสัญญานั้นไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่1นำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่2ที่มอบให้จำเลยที่1เป็นผู้มีอำนาจให้ถ้อยคำมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่2ไม่ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้เจ้าพนักงานที่ดินจึงบันทึกถ้อยคำดังกล่าวไว้และจดทะเบียนลงในโฉนดที่ดินให้จำเลยที่1เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้กรณีจึงถือได้ว่าตามคำขอจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินเฉพาะส่วนและบันทึกถ้อยคำดังกล่าวนั้นจำเลยที่2ได้สละมรดกรายนี้แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ: ไม่ผูกพันสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ
มาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 บัญญัติเพื่อให้ความคุ้มครองแก่เกษตรกรผู้เช่านาโดยเฉพาะเท่านั้น ผู้เช่านาฝ่ายเดียวจึงมีสิทธิที่จะยกบทบัญญัตินั้นขึ้นอ้างอิงได้ หาได้เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิผู้จะขายนายกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกที่จะซื้อนาไม่ เมื่อคดีนี้มิได้มีปัญหาเกี่ยวกับผู้เช่านาจะซื้อที่นาบังคับให้ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์ผู้จะขายและจำเลยผู้จะซื้อที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริง แม้มีการโต้แย้งดุลพินิจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยที่1กระทำละเมิดยึดรถยนต์ที่โจทก์ที่1ซื้อไว้จากตัวแทนของจำเลยที่1ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายโดยโจทก์ที่1ไม่ได้รับเงินค่ารถยนต์ส่วนที่เหลือจากการขายให้โจทก์ที่2และโจทก์ที่2ต้องเสียเงินที่ชำระให้จำเลยที่1แล้วกับไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้รถยนต์แต่ละวันจำเลยที่1ให้การต่อสู้ว่ารถยนต์เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่1ไม่ได้ให้ผู้ใดเป็นตัวแทนไปขายให้โจทก์ที่1เป็นการโต้เถียงกรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคารถยนต์เมื่อโจทก์แต่ละคนต่างเรียกร้องให้จำเลยที่1รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับเท่านั้นจึงเป็นหนี้ที่แบ่งแยกกันชำระได้เมื่อคดีสำหรับโจทก์แต่ละคนเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7355/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการทำแผนที่พิพาท
ศาลสั่งให้คู่ความไปนำชี้ในการทำแผนที่พิพาทพร้อมทั้งระบุว่าหากโจทก์ไม่ไปนำชี้ถือว่าทิ้งฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่ไปนำชี้ตามที่ศาลกำหนด จึงถือว่าเป็นการไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่กำหนดไว้เพื่อการนั้น อันเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ศาลชอบที่จะสั่งจำหน่ายคดีได้ตามมาตรา 132(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7323/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถเช่าซื้อ และความรับผิดทางอาญาของผู้ให้เช่าซื้อ
รถยนต์กระบะของกลางเป็นของผู้ร้อง แม้ต่อมาผู้ร้องจะทำสัญญากับ ป. และส่งมอบรถยนต์ดังกล่าวให้ ป. นำไปใช้ แต่สัญญาที่ผู้ร้องกับ ป. ทำขึ้นตามเอกสารหมาย ร.5 นั้นมีข้อความเห็นได้ชัดว่า เป็นสัญญาเช่าซื้อหาได้เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดไม่รถยนต์กระบะดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ระบุว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระเงินค่าประจำงวดถึงสองงวดติดต่อกัน เจ้าของมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้โดยทันที และทางนำสืบของผู้ร้องที่ว่า ป. ชำระเงินค่าประจำงวดถึงสองงวดเพียงงวดเดียวแล้วไม่ชำระอีกจนรถยนต์กระบะของกลางถูกริบ อันเป็นการผิดนัดชำระเงินค่าประจำงวดถึงสองงวดติดต่อกัน แต่ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา เป็นที่เห็นได้ว่าเพื่อประสงค์จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วน ซึ่งผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดจนกว่าสัญญาเช่าซื้อจะสิ้นสุดลงนั้น กรณีดังกล่าวเป็นคนละเรื่องกับความผิดทางอาญา หาถือได้ว่าผู้ร้องได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดไม่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์กระบะดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7323/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อ: ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีกรรมสิทธิ์จนกว่าจะชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ไม่ถือเป็นการรู้เห็นเป็นใจกับความผิด
รถยนต์กระบะของกลางเป็นของผู้ร้อง แม้ต่อมาผู้ร้องจะทำสัญญากับ ป. และส่งมอบรถยนต์ดังกล่าวให้ ป. นำไปใช้ แต่สัญญาที่ผู้ร้องกับ ป.ทำขึ้นตามเอกสารหมาย ร.5 นั้นมีข้อความเห็นได้ชัดว่า เป็นสัญญาเช่าซื้อหาได้เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดไม่ รถยนต์กระบะดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง
แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ระบุว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระเงินค่าประจำงวดถึงสองงวดติดต่อกัน เจ้าของมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้โดยทันที และทางนำสืบของผู้ร้องที่ว่า ป. ชำระเงินค่าประจำงวดถึงสองงวดเพียงงวดเดียวแล้วไม่ชำระอีกจนรถยนต์กระบะของกลางถูกริบ อันเป็นการผิดนัดชำระเงินค่าประจำงวดถึงสองงวดติดต่อกัน แต่ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา เป็นที่เห็นได้ว่าเพื่อประสงค์จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วน ซึ่งผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดจนกว่าสัญญาเช่าซื้อจะสิ้นสุดลงนั้น กรณีดังกล่าวเป็นคนละเรื่องกับความผิดทางอาญา หาถือได้ว่าผู้ร้องได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดไม่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์กระบะดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่ซ้ำซ้อนหลังศาลตัดสินเรื่องกรรมสิทธิ์เดิม: ฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
แม้คดีก่อนที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยกับคดีนี้คู่ความที่ฟ้องและถูกฟ้องจะผลัดกันเป็นโจทก์ จำเลย แต่คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ในคดีก่อนกับคดีฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยในคดีนี้ก็ถือเป็นคดีประเภทเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(1) เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นได้พิพากษาในประเด็นแห่งคดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์ฟ้องคดีนี้ให้ขับไล่จำเลยอีก โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท คดีโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเดียวกัน อันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: คดีเกี่ยวเนื่องต้องห้ามตามกฎหมาย
แม้คดีก่อนที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยกับคดีนี้คู่ความที่ฟ้องและถูกฟ้องจะผลัดกันเป็นโจทก์ จำเลย แต่คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ในคดีก่อนกับคดีฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยในคดีนี้ก็ถือเป็นคดีประเภทเดียวกัน ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นได้พิพากษาในประเด็นแห่งคดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์ฟ้องคดีนี้ให้ขับไล่จำเลยอีก โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทคดีโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเดียวกัน อันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7082/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น.ส.3 ก. ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาท และมีผลให้เพิกถอนได้
ปัญหาว่า น.ส.3 ก. ออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทหรือไม่มีคำขอของคู่ความให้วินิจฉัย ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ท. และครอบครองมาโดยตลอดส่วนโจทก์มีชื่อเป็นผู้ทรงสิทธิครอบครองตาม น.ส. 3 ก.ในที่ดินพิพาทเพราะโจทก์รับสมอ้างไปดำเนินการแทนจำเลยเท่านั้น แสดงว่ามีการออก น.ส.3 ก.ในนามโจทก์ ทั้งที่โจทก์มิได้เป็นผู้ซื้อและครอบครองที่ดินพิพาท เป็นการออกโดยฝ่าฝืนต่อ ป.ที่ดิน จึงไม่มีผลเป็น น.ส.3 ก. โจทก์และจำเลยต่างไม่มีสิทธิจะใช้ประโยชน์จากน.ส.3 ก. ดังกล่าวได้ เมื่อ น.ส.3 ก. นั้นออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ฉบับนั้นเสียด้วย
of 87