พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7082/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออก น.ส.3ก. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่ใช่ประเด็นพิพาท และเพิกถอนได้
ปัญหาว่า น.ส.3 ก. ออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทหรือไม่มีคำขอของคู่ความให้วินิจฉัย ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ จำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ท. และครอบครองมาโดยตลอดส่วนโจทก์มีชื่อเป็นผู้ทรงสิทธิครอบครองตาม น.ส. 3 ก.ในที่ดินพิพาทเพราะโจทก์รับสมอ้างไปดำเนินการแทนจำเลยเท่านั้นแสดงว่ามีการออก น.ส.3 ก. ในนามโจทก์ ทั้งที่โจทก์มิได้เป็นผู้ซื้อและครอบครองที่ดินพิพาท เป็นการออกโดยฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายที่ดิน จึงไม่มีผลเป็น น.ส.3 ก. โจทก์และจำเลยต่างไม่มีสิทธิจะใช้ประโยชน์จาก น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้ เมื่อ น.ส.3 ก.นั้นออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนน.ส.3 ก. ฉบับนั้นเสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7020/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนในการฎีกาคดีละเมิด และข้อจำกัดในการฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคน ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากมูลละเมิดรวมกันมา การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจะต้องถือตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนดังนั้น เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์ที่ 2 ที่เรียกร้องไม่เกิน200,000 บาท คดีสำหรับโจทก์ที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7020/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์โจทก์แต่ละคนกำหนดสิทธิฎีกา คดีโจทก์ที่ 2 ทุนทรัพย์ไม่ถึง 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคน ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากมูลละเมิดรวมกันมา การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจะต้องถือตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน ดังนั้น เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์ที่ 2ที่เรียกร้องไม่เกิน 200,000 บาท คดีสำหรับโจทก์ที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาท เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีใช้หนี้ด้วยที่ดินและผลของการไม่ตกลงราคาตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของ ส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองให้การเพียงแต่ว่า ส.จะเคยยืมเงินโจทก์เมื่อใด จำนวนเท่าไรและมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์หรือไม่ จำเลยทั้งสองไม่รับรอง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ อีกทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงต้องฟังตามที่โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของ ส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อประกันการชำระหนี้
โจทก์นำสืบว่า ปี 2527 โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินยืมกับค่าทำบุญศพให้ ส.เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 กว่าบาท จำเลยทั้งสองจึงพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยที่ 2 จะไปขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้ดังนี้ แม้จะได้ความตามที่โจทก์นำสืบก็ตาม ก็เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ให้ยืมยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าที่ดินที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม โจทก์จึงไม่อาจจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการโอนที่ดินพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้
การที่จำเลยทั้งสองพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้นั้นยังมีเงื่อนไขต่อไปว่า จำเลยที่ 2 จะต้องไปร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้โจทก์เนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ส.ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ มิได้เป็นการยกให้โดยเด็ดขาดทันที จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มีเจตนาสละการครอบครองที่ดินโจทก์ครอบครองที่ดินโดย ส.มอบให้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการใช้หนี้เงินยืมเป็นการครอบครองแทน ส. เมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก็ถือได้ว่าโจทก์ยังครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็หาได้สิทธิครอบครองไม่
โจทก์นำสืบว่า ปี 2527 โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินยืมกับค่าทำบุญศพให้ ส.เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 กว่าบาท จำเลยทั้งสองจึงพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยที่ 2 จะไปขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้ดังนี้ แม้จะได้ความตามที่โจทก์นำสืบก็ตาม ก็เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ให้ยืมยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าที่ดินที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม โจทก์จึงไม่อาจจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการโอนที่ดินพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้
การที่จำเลยทั้งสองพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้นั้นยังมีเงื่อนไขต่อไปว่า จำเลยที่ 2 จะต้องไปร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้โจทก์เนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ส.ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ มิได้เป็นการยกให้โดยเด็ดขาดทันที จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มีเจตนาสละการครอบครองที่ดินโจทก์ครอบครองที่ดินโดย ส.มอบให้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการใช้หนี้เงินยืมเป็นการครอบครองแทน ส. เมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก็ถือได้ว่าโจทก์ยังครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็หาได้สิทธิครอบครองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน แม้คำสั่งศาลถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้
ฟ้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินยุติการจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน หากจดแก้ไขแล้วให้ทำการให้กลับคืนสภาพเดิม มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า หากมีการแก้ไขชื่อจากบุคคลอื่นในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยก็ขอให้ศาลเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน เมื่อปรากฏว่าได้มีการแก้ไขชื่อในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยแล้ว ศาลจึงพิพากษาให้เพิกถอนชื่อของจำเลยออกจากโฉนดที่ดินได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือที่ปรากฏในคำฟ้อง แม้ศาลมีคำสั่งว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีก็มีสิทธิที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ฎีกาขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นได้ถูกศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับไปแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลภายนอกฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขชื่อในโฉนดที่ดิน แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
ฟ้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินยุติการจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน หากจดแก้ไขแล้วให้ทำการให้กลับคืนสภาพเดิม มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า หากมีการแก้ไขชื่อจากบุคคลอื่นในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยก็ขอให้ศาลเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน เมื่อปรากฏว่าได้มีการแก้ไขชื่อในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยแล้ว ศาลจึงพิพากษาให้เพิกถอนชื่อของจำเลยออกจากโฉนดที่ดินได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือที่ปรากฏในคำฟ้อง
แม้ศาลมีคำสั่งว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีก็มีสิทธิที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (2)
ฎีกาขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นได้ถูกศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับไปแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
แม้ศาลมีคำสั่งว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีก็มีสิทธิที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (2)
ฎีกาขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นได้ถูกศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับไปแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6767/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาวุธปืน: ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย แม้มีพยานหลักฐานไม่ชัดเจน ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้อง
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา55,78วรรคแรกหรือไม่และยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา227วรรคสองศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา371พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา8ทวิวรรคหนึ่ง,72ทวิวรรคสองได้ด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา185ประกอบมาตรา215และ225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6767/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยกฟ้องอาญาเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และความผิดเกี่ยวพันกัน
ป.วิ.อ. มาตรา 185, 215, 225
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา 55, 78 วรรคแรกหรือไม่ และยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง ได้ด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215และ 225
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา 55, 78 วรรคแรกหรือไม่ และยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง ได้ด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6767/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าสงสัยของพยานหลักฐานในความผิดอาวุธปืนฯ ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 55,78 วรรคแรกหรือไม่ และยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง,72 ทวิ วรรคสอง ได้ด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6679/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจยังสมบูรณ์แม้ผู้มอบอำนาจลาออก และการเรียกเก็บเช็คจากผู้ล้มละลายโดยรู้อยู่แล้วถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ขณะที่ ต. ลงชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ ซ.ฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นต. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ แม้ภายหลัง ต. จะลาออกหนังสือมอบอำนาจนั้นคงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เหตุที่ ต. พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ หาได้ทำให้ฐานะของผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์สิ้นสุดตามไปไม่ ท. ทราบว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้สั่งจ่ายเด็ดขาดก่อนที่จะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ เมื่อ ท.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยทราบ จึงถือว่าจำเลยทราบด้วย เมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยต้องนำเช็คไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27,91การที่จำเลยนำเช็คของผู้สั่งจ่ายไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ทั้งที่รู้อยู่ว่าผู้สั่งจ่ายถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้างความไม่สุจริตของตนมาเป็นเหตุที่จะไม่คืนเงินตามเช็คที่ได้รับจากโจทก์หาได้ไม่