คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญศรี กอบบุญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดีอาญาที่เกิดในทะเลหลวง และขอบเขตการฟ้องคดีปล้นทรัพย์-ฆ่า
ความผิดเกิดขึ้นในทะเลหลวง นอกราชอาณาจักรไทยศาลไทยจะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตาม ป.อ.มาตรา 8 (4) ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 8 (ก)แต่คดีนี้ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใครบ้าง และไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ได้ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษ ที่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษก็เฉพาะผู้เสียหายทั้งสี่ที่ถูกปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเท่านั้น ฉะนั้น จึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้ คงลงโทษได้เฉพาะข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสี่ซึ่งผู้เสียหายทั้งสี่ได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยแล้วเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาปล้นทรัพย์ไว้ในข้อ 1 ก.แยกต่างหากจากข้อหาฆ่าและพยายามฆ่าซึ่งอยู่ในข้อ 1 ข. เพียงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้มีดและขวานเป็นอาวุธในการปล้นทรัพย์โดยใช้เรือยนต์ซึ่งใช้ในการประมงเป็นยานพาหนะเท่านั้น ไม่ได้บรรยายว่าในการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายด้วยถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยดังกล่าว ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคท้าย ได้เพราะเป็นการเกินคำขอที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อการทำผิดเท่านั้น
หลังจากที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ได้แล้ว ได้ถอยเรือไปอยู่ห่างจากเรือของผู้เสียหายาทั้งสี่กับพวกประมาณ 20 เมตร เพื่อรอดูเรือประมงลำที่ 3 และลำที่ 4 เข้ามาเทียบกับเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกแล้วลูกเรือประมงลำที่ 3 ขึ้นไปพาพวกของผู้เสียหายทั้งสี่ที่เป็นหญิง 6 คน ขึ้นไปบนเรือประมงลำที่ 3เสร็จ แล้วเรือประมงลำที่ 3 และลำที่ 4 จึงแล่นออกไป หลังจากนั้นจำเลยกับพวกขับเรือประมงพุ่งเข้าชนเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกจนมีพวกของผู้เสียหายตกทะเลหายไปประมาณ 20 คน นั้น ยังอยู่ในช่วงแห่งการปล้นทรัพย์ เพราะเป็นเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องจากการได้ทรัพย์และพาเอาทรัพย์ที่ปล้นได้ไป เจตนาที่จำเลยกับพวกต้องการให้ผู้เสียหายกับพวกถึงแก่ความตายก็เพื่อปกปิดการที่ตนกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง การพยายามฆ่าผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการปล้นทรัพย์ซึ่งต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
ปัญหาข้อกฎหมายเหล่านี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามป.วิ.อ. มาตรา 195, 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ในทะเลหลวงและการลงโทษความผิดต่อชีวิตนอกอาณาเขตไทย
ความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นเกิดขึ้นในทะเลหลวงนอกราชอาณาจักรศาลไทยจะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตามมาตรา8(4)ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา8(ก)เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใครและไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา5(2)ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษจึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาปล้นทรัพย์ไว้แยกต่างหากจากข้อหาฆ่าและพยายามฆ่าโดยไม่ได้บรรยายว่าในการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายด้วยถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายคงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ลงโทษจำเลยในความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา340วรรคท้ายจึงเป็นการเกินคำขอที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192 หลังจากที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ได้แล้วถอยเรือไปอยู่ห่างจากเรือของผู้เสียหายกับพวกประมาณ20เมตรเพื่อรอดูการที่เรือประมงของพวกจำเลยอีก2ลำเข้ามาปฏิบัติการเทียบกับเรือผู้เสียหายเมื่อเรือประมงดังกล่าวปฏิบัติการเสร็จแล้วโดยนำหญิงในเรือของผู้เสียหายขึ้นไปบนเรือแล้วแล่นออกไปจำเลยกับพวกได้ขับเรือประมงพุ่งเข้าชนเรือผู้เสียหายจนมีพวกของผู้เสียหายตกทะเลหายไปประมาณ20คนดังนี้การกระทำดังกล่าวยังอยู่ในช่วงแห่งการปล้นทรัพย์เพราะเป็นเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องจากการได้ทรัพย์และพาเอาทรัพย์ที่ปล้นได้ไปจำเลยกับพวกต้องการให้ผู้เสียหายกับพวกถึงแก่ความตายก็เพื่อปกปิดการที่ตนกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์การพยายามฆ่าผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการปล้นทรัพย์ซึ่งต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90 ปัญหาว่าศาลไทยลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดต่อชีวิตที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรได้หรือไม่ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาลงโทษเกินคำขอหรือไม่การกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหายเป็นกรรมเดียวกันหรือไม่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195,225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษอาญาในความผิดที่เกิดในทะเลหลวง ต้องรอการร้องขอจากผู้เสียหาย และการพิจารณาความผิดกรรมเดียว
ความผิดเกิดขึ้นในทะเลหลวง นอกราชอาณาจักรไทย ศาลไทยจะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 8(4) ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8(ก) แต่คดีนี้ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใครบ้าง และไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)ได้ ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษ ที่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษก็เฉพาะผู้เสียหายทั้งสี่ที่ถูกปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเท่านั้น ฉะนั้น จึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้ คงลงโทษได้เฉพาะข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสี่ซึ่งผู้เสียหายทั้งสี่ได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยแล้วเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาปล้นทรัพย์ไว้ในข้อ 1 ก. แยกต่างหากจากข้อหาฆ่าและพยายามฆ่าซึ่งอยู่ในข้อ 1 ข. เพียงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้มีดและขวานเป็นอาวุธในการปล้นทรัพย์โดยใช้เรือยนต์ซึ่งใช้ในการประมงเป็นยานพาหนะเท่านั้น ไม่ได้บรรยายว่าในการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายด้วยถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยดังกล่าว ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคท้าย ได้เพราะเป็นการเกินคำขอที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อการทำผิดเท่านั้น หลังจากที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ได้แล้ว ได้ถอยเรือไปอยู่ห่างจากเรือของผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกประมาณ 20 เมตร เพื่อรอดูเรือประมงลำที่ 3 และลำที่ 4 เข้ามาเทียบกับเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกแล้วลูกเรือประมงลำที่ 3 ขึ้นไปพาพวกของผู้เสียหายทั้งสี่ที่เป็นหญิง 6 คน ขึ้นไปบนเรือประมงลำที่ 3 เสร็จแล้วเรือประมงลำที่ 3และลำที่ 4 จึงแล่นออกไป หลังจากนั้นจำเลยกับพวกขับเรือประมงพุ่งเข้าชนเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกจนมีพวกของผู้เสียหายตกทะเลหายไปประมาณ 20 คน นั้น ยังอยู่ในช่วงแห่งการปล้นทรัพย์ เพราะเป็นเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องจากการได้ทรัพย์และพาเอาทรัพย์ที่ปล้นได้ไปเจตนาที่จำเลยกับพวกต้องการให้ผู้เสียหายกับพวกถึงแก่ความตายก็เพื่อปกปิดการที่ตนกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง การพยายามฆ่าผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการปล้นทรัพย์ซึ่งต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหาข้อกฎหมายเหล่านี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195,225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลไทยพิจารณาคดีอาญาในทะเลหลวง, การลงโทษเกินคำขอ, และกรรมเดียวผิดหลายบท
ความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นเกิดขึ้นในทะเลหลวงนอกราชอาณาจักร ศาลไทยจะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตามมาตรา 8(4) ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8(ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใคร และไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(2) ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษ จึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาปล้นทรัพย์ไว้แยกต่างหากจากข้อหาฆ่าและพยายามฆ่า โดยไม่ได้บรรยายว่าในการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายด้วย ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำเลยในความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคท้ายจึงเป็นการเกินคำขอที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 หลังจากที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ได้แล้ว ถอยเรือไปอยู่ห่างจากเรือของผู้เสียหายกับพวกประมาณ 20 เมตร เพื่อรอดู การที่เรือประมงของพวกจำเลยอีก 2 ลำ เข้ามาปฏิบัติการเทียบกับเรือผู้เสียหายเมื่อเรือประมงดังกล่าวปฏิบัติการเสร็จแล้ว โดยนำหญิงในเรือของผู้เสียหายขึ้นไปบนเรือแล้วแล่นออกไป จำเลยกับพวกได้ขับเรือประมงพุ่งเข้าชนเรือผู้เสียหาย จนมีพวกของผู้เสียหายตกทะเลหายไปประมาณ20 คน ดังนี้ การกระทำดังกล่าวยังอยู่ในช่วงแห่งการปล้นทรัพย์เพราะเป็นเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องจากการได้ทรัพย์และพาเอาทรัพย์ที่ปล้นได้ไป จำเลยกับพวกต้องการให้ผู้เสียหายกับพวกถึงแก่ความตายก็เพื่อปกปิดการที่ตนกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ การพยายามฆ่าผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการปล้นทรัพย์ซึ่งต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหาว่าศาลไทยลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดต่อชีวิตที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรได้หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษเกินคำขอหรือไม่ การกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหายเป็นกรรมเดียวกันหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195,225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับหรือไม่: ศาลฎีกาชี้ว่าต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องการส่งคืนรถก่อนพิจารณาปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้โจทก์แล้ว สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เป็นอันเลิกกัน ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยมีว่าจำเลยที่ 1 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งคืนให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ เพราะถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 3นำสืบก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 3 ไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อต่อกันไว้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับไปนั้น ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความโต้เถียงกัน คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 คงฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายแต่ในการวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดย นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งคืนให้แก่โจทก์และตกลงให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าซื้อแทนหรือไม่แล้ว ศาลฎีกาย่อมมิอาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระงับไปแล้วได้เพราะข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6219/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการใช้ที่ดินและการกระทำละเมิดจากโรงงานใกล้เคียง: การใช้สิทธิโดยสุจริตและการรบกวนการอยู่อาศัย
แม้ก่อนโจทก์จะปลูกบ้านพักอาศัยโจทก์ได้ทราบว่าจำเลยซื้อที่ดินจากโจทก์เพื่อก่อสร้างโรงงานทำลูกชิ้นปลากับก่อสร้างปล่องไฟแต่เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่อยู่ติดต่อกับที่ดินของจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิใช้สอยโดยปลูกบ้านเพื่ออยู่อาศัยบนที่ดินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และแม้โจทก์จะเคยอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างปล่องไฟบนที่ดินของโจทก์บางส่วน แต่เป็นกรณีที่โจทก์ให้ความสะดวกแก่จำเลยในการประกอบอาชีพของจำเลยเท่านั้นหาแปลได้ว่าหากจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ให้โจทก์จำทนรับความเสียหายหรือทนเดือดร้อนต่อผลร้ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยไม่ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ปลูกบ้านพักอาศัยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความผูกพันจำเลย: สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทนายทำไป จำเลยต้องรับผิดชอบหากไม่ได้ถอนทนาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ส. ทนายจำเลยทั้งสามร่วมกับฝ่ายโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสาม การที่ ส. ทนายจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสามมิได้รู้เห็นยินยอมหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามจะต้องไปว่ากล่าวกับ ส. เองเมื่อจำเลยทั้งสามตั้ง ส. เป็นทนายความดำเนินคดีแทนโดยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ตราบใดที่จำเลยทั้งสามยังมิได้ขอถอน ส.จากการเป็นทนายความของตนการกระทำของส. ในฐานะทนายความของจำเลยทั้งสามย่อมจะต้องผูกพันจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันต่อจำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ส. ทนายจำเลยทั้งสามร่วมกับฝ่ายโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสาม การที่ ส. ทนายจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสามมิได้รู้เห็นยินยอมหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามจะต้องไปว่ากล่าวกับ ส.เอง เมื่อจำเลยทั้งสามตั้ง ส. เป็นทนาย-ความดำเนินคดีแทนโดยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ตราบใดที่จำเลยทั้งสามยังมิได้ขอถอน ส. จากการเป็นทนายความของตน การกระทำของ ส.ในฐานะทนายความของจำเลยทั้งสามย่อมจะต้องผูกพันจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายเดิม ยังใช้เป็นหลักฐานได้ แม้กฎหมายแก้ไขใหม่
แม้ขณะโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 17 (ก) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทในสัญญาค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ แต่ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12)พ.ศ.2526 มาตรา 16 ก็บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงยังคงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายเดิม ยังใช้เป็นหลักฐานได้ แม้กฎหมายใหม่กำหนดอัตราอากรแสตมป์ที่สูงขึ้น
แม้ขณะโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะแห่งตราสารข้อ 17(ก) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526 มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทในสัญญาค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ แต่ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526มาตรา 16 ก็บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงยังคงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
of 87