คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญศรี กอบบุญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการขยายเวลาศึกษาเกินกำหนดสัญญา
สัญญาระหว่างกรมวิเทศสหการโจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้กำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนว่าจำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 5 ปี และสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ก็ระบุว่าค้ำประกันหนี้ซึ่งจะเกิดขึ้นตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ซึ่งกำหนดไว้แน่นอนแล้วเท่านั้น เมื่อโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อไปอีกเกินกว่ากำหนด 5 ปี โดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมด้วยในการขยายกำหนดเวลาการศึกษา จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับกำหนดระยะเวลาที่เกินกว่า 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5574/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดตั้งบริษัท: เงื่อนไขการโอนหุ้นและการปฏิบัติตามสัญญา
ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ตั้งเงื่อนไขในการจัดตั้งบริษัทไว้ว่า บริษัทจำเลยที่ 1 และผู้เริ่มก่อการตกลงให้โจทก์ถือหุ้น30 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการให้เปล่าก็ต่อเมื่อกรมการค้าภายในได้จัดสรรสินค้าที่ได้จัดสรรให้บริษัทจังหวัดต่าง ๆ อยู่แล้วให้บริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อโจทก์อนุมัติให้ตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้โดยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอไว้ในคำเสนอขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในคำเสนอดังกล่าวในส่วนที่เป็นหน้าที่ของโจทก์ด้วย เพราะถือว่าโจทก์สนองรับคำเสนอของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 เกิดเป็นสัญญาที่คู่กรณีต้องปฏิบัติชำระหนี้ซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ไม่เคยจัดสรรสินค้าต่าง ๆ ตามสัญญาให้แก่บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการโอนหุ้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการครอบครองที่ดินพิพาท: การยกอายุความฟ้องเรียกคืนเมื่อจำเลยอ้างสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์จำนองแก่จำเลยและมอบให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้ต่อมาโจทก์ประสงค์จะไถ่ถอนจำนอง แต่จำเลยปฏิเสธ จึงขอให้จำเลยรับเงินและคืนที่ดินแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์ได้ขายที่ดินพิพาทโดยสละการครอบครองให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลย และจำเลยครอบครองเกินกว่าหนึ่งปี จึงพ้นกำหนดเวลาฟ้องเรียกคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ดังนี้ เมื่อจำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ เพราะเหตุแย่งการครอบครองตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้น ที่ดินต้องเป็นสิทธิครอบครองของผู้อื่น หาได้หมายความถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นใบรับ เนื่องจากศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความว่าผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินไปครบถ้วนแล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินจึงเป็นใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมายมิได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยให้ไม่ถูกอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่ไม่มีการจดทะเบียนและขาดการปิดอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานได้ หากศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยโจทก์ก็ต้องฎีกาให้ชัดเจน
โจทก์ฎีกาว่า หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความว่า ผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินไปครบถ้วนแล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินจึงเป็นใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมายมิได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยให้ไม่ถูกอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจแจ้งความไม่สมบูรณ์ไม่กระทบการฟ้องคดีอาญา และพยานหลักฐานเชื่อมโยงความผิดฐานรับของโจร
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า คดีนี้มิได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษเพราะหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่ได้ปิดอากรแสตมป์นั้น ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 บัญญัติความว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้" เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวตราสารที่ปิดแสตมป์ไม่บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้นไม่รวมถึงคดีอาญาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเอกสารหมาย ป.จ.2ของศาลอาญา เป็นเอกสารที่แท้จริงที่ผู้เสียหายมอบอำนาจให้นายสวัสดีวงศ์อริยจิต ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวก และนายสวัสดีได้ไปร้องทุกข์ตามหนังสือมอบอำนาจนี้ จึงเป็นการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า คดีนี้มิได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษเพราะหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่ได้ปิดอากรแสตมป์นั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติความว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้... เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้..." เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวตราสารที่ปิดแสตมป์ไม่บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงคดีอาญาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเอกสารหมายป.จ.2 ของศาลอาญา เป็นเอกสารที่แท้จริงที่ผู้เสียหายมอบอำนาจให้นายสวัสดีวงศ์อริยจิต ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวก และนายสวัสดีได้ไปร้องทุกข์ตามหนังสือมอบอำนาจนี้ จึงเป็นการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยเช่า ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ครอบครองเกิน 10 ปี
ผู้ร้องอยู่ในที่ดินพิพาทโดยการเช่าจากผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดจึงเป็นการครอบครองที่ดินแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดตลอดมาจนถึงผู้คัดค้าน แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทมาเกิน 10 ปี ก็หาได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ทำให้เกิดกรรมสิทธิ์โดยอายุความ แม้ครอบครองเกิน 10 ปี
ผู้ร้องอยู่ในที่ดินพิพาทโดยการเช่าจากผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดจึงเป็นการครอบครองที่ดินแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดตลอดมาจนถึงผู้คัดค้าน แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทมาเกิน 10 ปี ก็หาได้กรรมสิทธฺ์โดยการครอบครองตามป.พ.พ มาตรา 1382 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3890/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการทำกล่องกระดาษ: พิจารณาความหมายของ 'อุตสาหกรรม' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำนิยามความหมายของคำว่า "อุตสาหกรรม" ไว้ว่า การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร ดังนี้ เมื่อกล่องกระดาษที่โจทก์ทำขึ้นนั้น จำเลยนำมาใช้สำหรับบรรจุเครื่องไฟฟ้าที่ผลิตสำเร็จแล้ว กล่องกระดาษเช่นว่านี้โดยลำพังคงเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้ประจำอยู่กับสินค้าที่ผลิตเท่านั้นหาได้เป็นสินค้าที่จำเลยจำหน่ายได้ผลประโยชน์เป็นกำไรไม่เท่ากับการประดิษฐ์กล่องกระดาษนั้นมิได้อยู่ในความหมายที่ว่า เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้ายสิทธิเรียกร้องหนี้สินรายนี้ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปีโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คดีจึงขาดอายุความ
of 87