คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญศรี กอบบุญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3890/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าทำของ: การประดิษฐ์กล่องกระดาษเพื่อบรรจุสินค้า ไม่ถือเป็นการทำเพื่ออุตสาหกรรม
คำว่า "อุตสาหกรรม" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1) เดิม หมายถึงกิจการที่มีการประดิษฐ์สิ่งของขึ้นเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร ดังที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำนิยามไว้ เมื่อกล่องกระดาษที่โจทก์ทำขึ้นนั้นจำเลยนำมาใช้สำหรับบรรจุเครื่องไฟฟ้าที่ผลิตสำเร็จแล้วกล่องกระดาษโดยลำพังคงเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้ประจำอยู่กับสินค้าที่ผลิตเท่านั้น หาได้เป็นสินค้าที่จำเลยจำหน่ายได้ผลประโยชน์เป็นกำไรไม่ เท่ากับการประดิษฐ์กระดาษนั้นมิได้อยู่ในความหมายที่ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้ายสิทธิเรียกร้องของโจทก์คงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3890/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการทำกล่องกระดาษ: พิจารณาความหมายของ 'อุตสาหกรรม' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำนิยามความหมายของคำว่า "อุตสาหกรรม" ไว้ว่า การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร ดังนี้ เมื่อกล่องกระดาษที่โจทก์ทำขึ้นนั้น จำเลยนำมาใช้สำหรับบรรจุเครื่องไฟฟ้าที่ผลิตสำเร็จแล้ว กล่องกระดาษเช่นว่านี้โดยลำพังคงเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้ประจำอยู่กับสินค้าที่ผลิตเท่านั้นหาได้เป็นสินค้าที่จำเลยจำหน่ายได้ผลประโยชน์เป็นกำไรไม่เท่ากับการประดิษฐ์กล่องกระดาษนั้นมิได้อยู่ในความหมายที่ว่า เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้ายสิทธิเรียกร้องหนี้สินรายนี้ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปีโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการคำนวณทุนทรัพย์คดี: การพิจารณาแยกส่วนการครอบครองที่ดินของจำเลยแต่ละคน
ตามฟ้องและแผนที่พิพาทไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันละเมิดในที่ดินของโจทก์ ปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยทั้งแปดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคนละคดีได้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งแปดเข้ามาเป็นคดีเดียวกันก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใดนั้นย่อมจะต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไปยึดถือครอบครอง มิใช่นับรวมกัน เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5ถึงที่ 8 ยึดถือครอบครองปรากฎว่ามีเนื้อที่ไม่ถึงคนละ 50 ไร่ คำนวณเป็นราคาไม่เกินคนละสองแสนบาท คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5ถึงที่ 8 แต่ละคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินคนละสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคแรก แห่ง ป.วิ.พ.
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ม. โดยโจทก์ที่ 3 ผู้จัดการมรดกของ ม. เป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ได้ครอบครองและแสดงเจตนาครอบครองที่พิพาทเป็นของตนเองมาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จำเลยทั้งเจ็ดจึงได้สิทธิครอบครอง โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยทั้งเจ็ดเพิ่งแสดงเจตนายึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ที่ 1 และสามีเคยขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นการไม่ชอบ เพราะจำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนั้น แม้จะเป็นข้อกฎหมายแต่โจทก์มิได้ยกเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา และการได้สิทธิครอบครองโดยอายุความในคดีแย่งการครอบครองที่ดิน
ตามฟ้องและแผนที่พิพาทไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันละเมิดในที่ดินของโจทก์ ปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยทั้งแปดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคนละคดีได้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งแปดเข้ามาเป็นคดีเดียวกันก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใดนั้นย่อมจะต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไปยึดถือครอบครองมิใช่นับรวมกัน เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5ถึงที่ 8 ยึดถือครอบครองปรากฏว่ามีเนื้อที่ไม่ถึงคนละ 50 ไร่คำนวณเป็นราคาไม่เกินคนละสองแสนบาท คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 แต่ละคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินคนละสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ม.โดยโจทก์ที่ 3 ผู้จัดการมรดกของ ม. เป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ได้ครอบครองและแสดงเจตนาครอบครองที่พิพาทเป็นของตนเองมาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จำเลยทั้งเจ็ดจึงได้สิทธิครอบครองโจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยทั้งเจ็ดเพิ่งแสดงเจตนายึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ที่ 1 และสามีเคยขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นการไม่ชอบ เพราะจำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนั้น แม้จะเป็นข้อกฎหมายแต่โจทก์มิได้ยกเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดทุนทรัพย์คดีขับไล่: การพิจารณาตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนครอบครองและข้อจำกัดในการฎีกา
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามและแผนที่พิพาทไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันทำละเมิดในที่ดินของโจทก์ทั้งสาม โดยปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยทั้งแปดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคนละคดีได้และแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งแปดเข้ามาเป็นคดีเดียวกัน แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใด ย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไปยึดถือครอบครอง มิใช่นับรวมกัน เมื่อที่พิพาททั้งหมดซึ่งมีเนื้อที่รวม 159 ไร่เศษ ราคาประมาณ 640,000 บาท จึงคิดเป็นราคาประมาณไร่ละอย่างสูงไม่เกิน 4,000 บาท ฉะนั้น เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ยึดถือครอบครองมีเนื้อที่ไม่ถึงคนละ 50 ไร่ ซึ่งคำนวณเป็นราคาไม่เกินคนละสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3818/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกสภาจังหวัดสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยไม่ลาออก ถือเป็นความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง
จำเลยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดแม่ฮ่องสอนในขณะที่ยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน จึงเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล มาตรา 21(7)และมาตรา 65 แม้สมาชิกภาพการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดของจำเลยจะสิ้นสุดก่อนรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3818/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยยังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัด มีความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง
จำเลยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดอยู่ในขณะที่ยื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาเทศบาล โดยไม่ยอมลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาจังหวัด เป็นการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21(7) และมาตรา 65 แม้จำเลยได้ปรึกษา ผู้ตรวจการส่วนท้องถิ่นก่อนแล้วว่าจำเลยสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้ เพราะสภาพการเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ของจำเลยจะสิ้นสุดก่อนวันเลือกตั้ง ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิด ทางอาญาโดยแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64 และจะอ้างว่าได้รับยกเว้นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 ประกอบด้วยมาตรา 59 ก็ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับฐานความผิดและการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดนั้นแยกออกจากกันได้เป็น 3 กรณี กล่าวคือ จำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22, 65 วรรคหนึ่ง กระทงหนึ่งจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง, 67 กระทงหนึ่งและจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคสอง,65 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทง ทั้งคำฟ้องของโจทก์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดนั้นเป็นที่เห็นได้ชัดว่า ความผิดทั้ง 3 กระทง ดังกล่าวได้เกิดขึ้นต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ตามบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลนั้น ฟ้องข้อ 1 (ก) โจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคือ จำเลยดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยระบุว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงนั้นเลขที่ 940/43 ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลียง 1 ถนนสายบางนา - ตราด แขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 8.90 เมตร ยาว 22.10 เมตร และขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8.00 เมตร ต่อเนื่องกันเชื่อมกับอาคารเลขที่ดังกล่าว ส่วนฟ้องข้อ 1 (ข) และ (ค) ที่เกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร ตลอดจนให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40วรรคหนึ่ง และ 42 วรรคสองนั้น ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ กท 9009/5082 แจ้งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร แต่เมื่อระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 2กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 9 วัน เมื่อระหว่างวันที่ 9กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม6 วัน และเมื่อระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 7 วัน จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวตลอดระยะเวลารวม 22 วันและเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งที่ กท. 9009/5082แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งที่ กท 9009/7380 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง โดยคำสั่งทั้งสองกรณีนั้นจำเลยได้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2534 และวันที่ 16 สิงหาคม 2534ตามลำดับ แต่จำเลยฝ่าฝืนโดยไม่รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ดังนี้ฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงมีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19ได้บังคับไว้เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยทำการดัดแปลงอาคารอย่างไร เชื่อมส่วนใดของอาคารเดิม อาคารเดิมมีชั้นเดียวหรือหลายชั้น เชื่อมชั้นใดของอาคารเดิม และจำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีใด ทั้งไม่ได้แนบหนังสือคำสั่งมาท้ายฟ้องนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับฐานความผิดและการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดนั้นแยกออกจากกันได้เป็น 3 กรณี กล่าวคือจำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22,65 วรรคหนึ่ง กระทงหนึ่งจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง,67 กระทงหนึ่งและจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคสอง,65 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่งรวมเป็นความผิด 3 กระทง ทั้งคำฟ้องของโจทก์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดนั้นเป็นที่เห็นได้ชัดว่าความผิดทั้ง 3 กระทง ดังกล่าวได้เกิดขึ้นต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลนั้น ฟ้องข้อ 1(ก) โจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคือ จำเลยดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยระบุว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงนั้นเลขที่ 940/43 ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลียง 1 ถนนสายบางนา-ตราดแขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 8.90 เมตร ยาว 22.10 เมตร และขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8.00 เมตร ต่อเนื่องกันเชื่อมกับอาคารเลขที่ดังกล่าว ส่วนฟ้องข้อ 1(ข)และ(ค) ที่เกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคารตลอดจนให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และ 42 วรรคสองนั้นระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ กท 9009/5082 แจ้งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร แต่เมื่อระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2534ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 9 วัน เมื่อระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 6 วัน และเมื่อระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2534ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 7 วัน จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวตลอดระยะเวลารวม22 วัน และเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งที่ กท.9009/5082 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งที่ กท 9009/7380 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง โดยคำสั่งทั้งสองกรณีนั้นจำเลยได้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2534 และวันที่ 16สิงหาคม 2534 ตามลำดับ แต่จำเลยฝ่าฝืนโดยไม่รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ดังนี้ฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงมีรายละเอียดต่าง ๆครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 ได้บังคับไว้เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยทำการดัดแปลงอาคารอย่างไรเชื่อมส่วนใดของอาคารเดิม อาคารเดิมมีชั้นเดียวหรือหลายชั้นเชื่อมชั้นใดของอาคารเดิม และจำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีใด ทั้งไม่ได้แนบหนังสือคำสั่งมาท้ายฟ้องนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้ยานอนหลับ ผู้ร่วมกระทำผิดมีส่วนร่วมในการกระทำทั้งหมด
จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ยานอนหลับผสมลงในเครื่องดื่มเบียร์ให้ผู้เสียหายดื่ม จนไม่รู้สึกตัวหลับไป แล้วปลดเอาเครื่องประดับของผู้เสียหายไป ดังนั้นจึงเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
of 87