คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญศรี กอบบุญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเบิกความของผู้ถูกร้องในคดีไม่มีข้อพิพาท เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คดีไม่มีข้อพิพาท ศาลอาจเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นจำเป็น และวินิจฉัยชี้ขาดตามที่เห็นสมควรและยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(2) ทั้งศาลสามารถรับฟังพยานที่คู่ความมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานได้ ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) อีกทั้งเมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดให้ผู้ร้องทำคำคัดค้านในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องแต่งตั้งทนายความมาศาลทุกนัดทั้งได้ถามค้านพยานที่ผู้คัดค้านนำเข้าสืบในการไต่สวนด้วยแม้ผู้ร้องจะไม่ได้ยื่นหรือแถลงขอให้ศาลจดคำคัดค้านไว้ แต่พฤติการณ์ที่ผู้ร้องแต่งตั้งทนายความมาศาลและถามค้านพยานผู้คัดค้านเช่นนี้ ก็ย่อมแสดงให้เห็นได้โดยปริยายว่า ผู้ร้องมีเจตนาคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านผู้ร้องเป็นผู้ที่จะถูกถอนอำนาจในการจัดการมรดก ศาลชั้นต้นจึงควรที่ไต่สวนฟังข้อเท็จจริงและเหตุผลต่าง ๆ จากผู้ร้องบ้าง เพื่อจะได้นำมาวินิจฉัยชี้ขาดได้ถูกต้องแท้จริงแห่งความยุติธรรม ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมควรให้โอกาสผู้ร้องเข้าเบิกความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินส่วนแบ่งและการบังคับคดีกระทบสิทธิบุคคลภายนอก
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3 หากผู้ร้องทั้งสองกับจำเลยได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดตามคำร้องแล้ว ความตกลงที่ให้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดย่อมผูกมัดจำเลยและผู้ร้องทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ผู้ร้องทั้งสองและจำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินตามส่วนสัดที่แบ่งกันครอบครองมานั้นโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินนั้น ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องทั้งสองมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมายซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองนั้นก่อนนำที่ดินทั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินส่วนแบ่งและการบังคับคดีกระทบสิทธิบุคคลภายนอก
หากผู้ร้องทั้งสองกับจำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมี น.ส.3 ร่วมกันได้แบ่งกันครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว ความตกลงดังกล่าวย่อมผูกมัดจำเลยและผู้ร้องทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ผู้ร้องทั้งสองและจำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินตามส่วนสัดที่แบ่งกันครอบครองมาโจทก์ซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินนั้น ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องทั้งสองมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิดังกล่าวของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองนั้นก่อนนำที่ดินทั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 หรือเป็นกรณีการร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินตามตกลงแบ่งแยกและการบังคับคดีต่อบุคคลภายนอก
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3 หากผู้ร้องทั้งสองกับจำเลยได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดตามคำร้องแล้ว ความตกลงที่ให้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดย่อมผูกมัดจำเลยและผู้ร้องทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ผู้ร้องทั้งสองและจำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินตามส่วนสัดที่แบ่งกันครอบครองมานั้นโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินนั้นไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องทั้งสองมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมายซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองนั้นก่อนนำที่ดินทั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3061/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากมรดกและทรัพย์สินที่ได้จากการขายมรดก แม้มีการหย่าขาด กรรมสิทธิ์ในสินสมรสยังคงอยู่
ผู้ร้องได้รับมรดกจากบิดาระหว่างสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มรดกที่ได้จึงเป็นสินสมรส การที่ผู้ร้องนำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์มรดกดังกล่าวไปซื้อที่ดินพิพาทภายหลังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 แม้ต่อมาจะหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาก็หากระทบกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ในที่ดินพิพาทใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาท และผลกระทบต่อการพิพากษา
ข้อพิพาทตามคำฟ้องของโจทก์ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยและคำให้การของโจทก์แก้ฟ้องแย้งของจำเลยมีเพียงว่า สัญญาซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนาหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนาเป็นการซื้อขายธรรมดาแล้ววินิจฉัยต่อไปอีกว่า แต่เป็นการซื้อขายมีเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระราคาให้โจทก์อีก 49,000 บาท การชำระราคายังไม่เสร็จเรียบร้อย กรรมสิทธิ์ในเครื่องถ่ายเอกสารยังไม่โอนไปยังจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ และเครื่องถ่ายเอกสารที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถถ่ายเอกสารได้ถึง 3,500 แผ่น ต่อผงหมึก 1 หลอดตามคำโฆษณาของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ เป็นการวินิจฉัยคดีที่ขัดแย้งกันเอง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเช่นเดียวกับศาลชั้นต้นว่าการซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการซื้อขายที่มีเงื่อนไขตามป.พ.พ มาตรา 459 แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
การวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1), 247 และเห็นสมควรย้อนสำนวนไปยังศาลชั้นต้น เพื่อให้พิพากษาใหม่ให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการที่ศาลล่างวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อพิพาทตามคำฟ้องของโจทก์ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยและคำให้การของโจทก์แก้ฟ้องแย้งของจำเลยมีเพียงว่าสัญญาซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนาหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนาเป็นการซื้อขายธรรมดาแล้ววินิจฉัยต่อไปอีกว่า แต่เป็นการซื้อขายมีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อจำเลยที่ 1ยังไม่ได้ชำระราคาให้โจทก์อีก 49,000 บาท การชำระราคายังไม่เสร็จเรียบร้อย กรรมสิทธิ์ในเครื่องถ่ายเอกสารยังไม่โอนไปยังจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ และเครื่องถ่ายเอกสารที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถถ่ายเอกสารได้ถึง 3,500 แผ่นต่อผงหมึก 1 หลอด ตามคำโฆษณาของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ เป็นการวินิจฉัยคดีที่ขัดแย้งกันเองและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเช่นเดียวกับศาลชั้นต้นว่าการซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการซื้อขายที่มีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 การวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 243(1),247 และเห็นสมควรย้อนสำนวนไปยังศาลชั้นต้น เพื่อให้พิพากษาใหม่ให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดคุณสมบัติ/ใบอนุญาต การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ ศาลต้องเริ่มกระบวนการใหม่
เมื่อบุคคลที่โจทก์แต่งตั้งเป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้น และลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้น เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้องคำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์คำฟ้องฎีกา ฯลฯ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 44(3) และมาตรา 33 มาแต่แรก แม้ภายหลังจากนั้นต่อมาบุคคลดังกล่าวจะได้จดทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความประเภทตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์ได้ขาดจากการเป็นทนายความแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่บุคคลดังกล่าวรับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรกและมาตรา 62 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดคุณสมบัติ การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ขณะที่โจทก์แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้นและลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้นป.เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้อง คำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา ฯลฯตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 44(3) และมาตรา 33มาแต่แรก แม้ต่อมาภายหลัง ป. จะได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์นั้นป. ได้ขาดจากการเป็นทนายความ ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตั้งแต่วันที่ ป. รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมา จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรก และมาตรา 62ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดคุณสมบัติ ผู้รับแต่งตั้งว่าต่างคดี กระบวนพิจารณาไม่ชอบ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
เมื่อบุคคลที่โจทก์แต่งตั้งเป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้น และลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้น เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้อง คำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์คำฟ้องฎีกา ฯลฯ ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา44 (3) และ มาตรา 33 มาแต่แรก แม้ภายหลังจากนั้นต่อมาบุคคลดังกล่าวจะได้จดทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความประเภทตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์ได้ขาดจากการเป็นทนายความแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่บุคคลดังกล่าวรับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคแรกและมาตรา 62 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ ตามป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 87