พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคู่สมรสในสัญญาจ้างเหมาที่ทำร่วมกัน โดยอ้างอิงสินสมรส
ย. กับโจทก์เป็นสามีภริยาและร่วมกันประกอบอาชีพรับจ้างขุดดิน แม้ชื่อคู่สัญญาฝ่ายผู้รับจ้างจะทำในนามของ ย. เพียงคนเดียว แต่โจทก์กับ ย. ก็มีอำนาจจัดกิจการร่วมกันทั้งเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องจ่ายก็เป็นสินสมรสระหว่าง ย.กับโจทก์เมื่อย. ทำหนังสือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ชำระเงินค่าจ้างเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหมิ่นประมาท: การบรรยายฟ้อง & การเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย เพราะการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โดยมิได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยเรื่องผู้เสียหายไม่ถูกต้องอย่างไร และการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 195, 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกล่าวใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3และใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยวิธีการโฆษณาด้วยเอกสาร เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว ส่วนเรื่องที่ว่าบุคคลที่ 3 เป็นใครจำเลยกระทำการหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะของการโฆษณาอย่างไรแค่ไหนเพียงใดจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหมิ่นประมาทตามฟ้องที่ไหนเมื่อใดนั้น เป็นราย-ละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เมื่อจำเลยผิดตาม ป.อ.มาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกล่าวใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3และใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยวิธีการโฆษณาด้วยเอกสาร เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว ส่วนเรื่องที่ว่าบุคคลที่ 3 เป็นใครจำเลยกระทำการหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะของการโฆษณาอย่างไรแค่ไหนเพียงใดจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหมิ่นประมาทตามฟ้องที่ไหนเมื่อใดนั้น เป็นราย-ละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เมื่อจำเลยผิดตาม ป.อ.มาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยเรื่องผู้เสียหายในคดีหมิ่นประมาท และความสมบูรณ์ของคำฟ้อง การปรับบทลงโทษซ้ำซ้อน
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย เพราะการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โดยมิได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยเรื่องผู้เสียหายไม่ถูกต้องอย่างไรและการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195,225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกล่าวใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3และใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยวิธีการโฆษณาด้วยเอกสาร เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 แล้ว ส่วนเรื่องที่ว่าบุคคลที่ 3 เป็นใครจำเลยกระทำการหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะของการโฆษณาอย่างไรแค่ไหนเพียงใดจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหมิ่นประมาทตามฟ้องที่ไหนเมื่อใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เมื่อจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาอุทธรณ์คดีเช็คต้องใช้กฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นอุทธรณ์ แม้จะเกิดเหตุการณ์ก่อนกฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ
การพิจารณาว่าโจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ มิใช่ในขณะกระทำผิด พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534กำหนดอัตราโทษไว้อย่างสูงตามมาตรา 4 อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดและในขณะยื่นอุทธรณ์อันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดในส่วนของโทษปรับ กรณีจึงต้องใช้บทบัญญัติของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาวินิจฉัยอัตราโทษว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญา: หลักการพิจารณาบทหนัก-บทเบา และประโยชน์แห่งความสงสัย
การวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา193 ทวิ หรือไม่ ต้องพิจารณาความผิดแต่ละกระทง เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ศาลก็ต้องถือว่าทุกบทไม่ต้องห้ามคดีนี้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในกระทงความผิดฐานพาอาวุธปืนและมีดติดตัวไปในทางสาธารณะ และหมู่บ้าน อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ, วรรคแรก 72 ทวิวรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ความผิดตามประมวล-กฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่งเป็นบทเบาก็พลอยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ด้วย
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนและมีดยิงและแทงผู้เสียหายหรือไม่ และได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้วก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ให้แก่จำเลยด้วย
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนและมีดยิงและแทงผู้เสียหายหรือไม่ และได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้วก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ให้แก่จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในความผิดหลายกระทง หากบทหนักไม่ห้าม อุทธรณ์บทเบาก็ไม่ต้องห้าม และต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัย
การวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา193 ทวิ หรือไม่ ต้องพิจารณาความผิดแต่ละกระทง เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้ามศาลก็ต้องถือว่าทุกบทไม่ต้องห้าม คดีนี้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในกระทงความผิดฐานพาอาวุธปืนและมีดติดตัวไปในทางสาธารณะและหมู่บ้าน อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทเมื่อความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ, วรรคแรก72 ทวิ วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่งเป็นบทเบาก็พลอยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ด้วย เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนและมีดยิงและแทงผู้เสียหายหรือไม่ และได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้ว ก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยในความผิดตาม ป.อ.มาตรา 371 ให้แก่จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อค่าเสียหายไม่เกินสองแสนบาท
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกันนั้น ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาเฉพาะค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ได้เสียหายตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาซึ่งเป็นค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 แต่ละคนมีสิทธิได้รับไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในข้อเท็จจริงถูกจำกัดวงเนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสนบาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกันนั้น ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาเฉพาะค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5ไม่ได้เสียหายตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาซึ่งเป็นค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 แต่ละคนมีสิทธิได้รับไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันถูกยกเลิกโดยปริยายเมื่อมีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่สำหรับตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ว. ในตำแหน่งพนักงานของโจทก์ สาขานครราชสีมา ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้ ว.เป็นผู้จัดการของโจทก์ สาขาสีคิ้ว โจทก์ยอมรับจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ว. ในตำแหน่งผู้จัดการสาขาสีคิ้ว แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 2 ผูกพันตามสัญญาค้ำประกันต่อไป ถือว่าสัญญาค้ำประกันถูกยกเลิกโดยปริยาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันยกเลิกโดยปริยายจากการทำสัญญาค้ำประกันใหม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ว.ในตำแหน่งพนักงานของโจทก์ สาขานครราชสีมา ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้ ว.เป็นผู้จัดการของโจทก์ สาขาสีคิ้ว โจทก์ยอมรับจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ว.ในตำแหน่งผู้จัดการ สาขาสีคิ้ว แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 2ผูกพันตามสัญญาค้ำประกันต่อไป ถือว่าสัญญาค้ำประกันถูกยกเลิกโดยปริยาย