พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพาอาวุธและการพิพากษาโดยไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานพาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยด้วย แม้ความผิดในข้อหาพาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรจะยุติโดยต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องในข้อหาความผิดนี้ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215และมาตรา 225 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน
คำฟ้องมิได้บรรยายถึงองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 376 แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุให้ลงโทษมาด้วย ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดข้อหาดังกล่าว แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษายกฟ้องข้อหาดังกล่าวได้
คำฟ้องมิได้บรรยายถึงองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 376 แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุให้ลงโทษมาด้วย ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดข้อหาดังกล่าว แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษายกฟ้องข้อหาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดร่วม การไม่มีเจตนา การช่วยเหลือความผิด
ขณะเกิดเหตุ ท.และจำเลยกับพวกดื่มสุรากันมาจนมึนเมามิได้ร่วมสมคบกันมาก่อนที่จะทำร้ายผู้เสียหาย และการที่ ท.กับพวกรุมชกต่อยและ ท.ใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายนี้ได้ทำขึ้นทันทีทันใดหลังจากที่ผู้เสียหายบอก ท.ว่าผู้เสียหายเรียนอยู่ที่ ว.ค. ส่วนการที่จำเลยจับแขนของนางสาว อ.ไว้ก็เพราะกลัวว่านางสาวอ.จะไปช่วยผู้เสียหาย อีกทั้งจำเลยก็มิได้จับแขนนางสาว อ.ไว้แน่น แต่กลับปล่อยให้นางสาว อ.สะบัดหลุดส่อลักษณะเป็นการให้โอกาสนางสาว อ.สะบัดหลุดเพื่อวิ่งหนีไปเพราะอาจได้รับอันตรายจากเหตุที่เกิดขึ้น เช่นนี้พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับ ท.และพวก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วม ความผิดอาญา การกระทำโดยพลการจากฤทธิ์สุรา พยานหลักฐานไม่เพียงพอ
ขณะเกิดเหตุ ท. และจำเลยกับพวกดื่มสุรากันมาจนมึนเมามิได้ร่วมสมคบกันมาก่อนที่จะทำร้ายผู้เสียหาย และการที่ ท. กับพวกรุมชกต่อยและ ท. ใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายนี้ได้ทำขึ้นทันทีทันใดหลังจากที่ผู้เสียหายบอก ท.ว่าผู้เสียหายเรียนอยู่ที่ว.ค.ส่วนการที่จำเลยจับแขนของนางสาว อ.ไว้ก็เพราะกลัวว่านางสาวอ.จะไปช่วยผู้เสียหาย อีกทั้งจำเลยก็มิได้จับแขนนางสาว อ. ไว้แน่นแต่กลับปล่อยให้นางสาว อ. สะบัดหลุดส่อลักษณะเป็นการให้โอกาสนางสาว อ. สะบัดหลุดเพื่อวิ่งหนีไป เพราะอาจได้รับอันตรายจากเหตุที่เกิดขึ้น เช่นนี้พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับ ท. และพวก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีทรัพย์สินมูลค่าน้อยกว่า 5 หมื่นบาท และผลของการฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว
เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และจำเลยยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงภายหลังพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 มาตรา 14 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อคดีได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาจะรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์: พยานหลักฐานไม่เพียงพอพิสูจน์จำนวนและราคาทรัพย์ ศาลจำกัดการบังคับชดใช้เฉพาะทางแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามลักทรัพย์โจทก์ร่วมไปหลายรายการขอให้ลงโทษและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงินจำนวน 664,945บาท แก่โจทก์ร่วม แม้ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3ลักทรัพย์โจทก์ร่วมไปบางรายการ แต่พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมายังไม่อาจฟังเป็นยุติว่า สินค้าที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ลักไปมีจำนวนและราคาเท่าใด จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 คืนทรัพย์หรือใช้ราคาให้แก่โจทก์ร่วมได้ ชอบที่โจทก์ร่วมจะไปว่ากล่าวเอาทางแพ่งแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับตามความเสียหายจริง
การที่จำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ตรงตามกำหนดสัญญาโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที แต่ได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้จำเลยส่งมอบสิ่งของตามสัญญาและสงวนสิทธิจะเรียกร้องค่าปรับตามสัญญา การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยขยายกำหนดเวลาส่งมอบออกไปอันเป็นการยกเลิกกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาเดิมแต่เป็นกรณีที่โจทก์ให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และบอกสงวนสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับเอาไว้ในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนด เมื่อจำเลยมิได้ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนดังกล่าวแล้ว จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ยินยอมให้โจทก์ปรับเงินตามสัญญา ทั้งแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งมอบสิ่งของ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 โดยให้โอกาสจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ และจำเลยยังต้องการปฏิบัติตามสัญญาโดยยินยอมให้โจทก์ปรับแต่เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งสิ่งของตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้อีก และขอบอกเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันบอกเลิกสัญญาข้อ 9 วรรคแรก
โจทก์ได้ซื้อจอกทองเหลือง จำนวน 70,000 อัน ในราคา910,000 บาท จากคณะกรรมการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นการซื้อในราคาทิ่สูงกว่าที่จำเลยตกลงขายแก่โจทก์เป็นเงิน 252,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้โจทก์จะต้องนำไปหักกับหลักประกันจำนวน 65,800 บาท ที่จำเลยนำธนาคารทหารไทยจำกัด มาค้ำประกันไว้ และโจทก์ได้ริบไปแล้วเพราะถือเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งจำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อสิ่งของแพงขึ้นเป็นเงินเพียง186,200 บาท
การที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับรายวันให้จำเลยกึ่งหนึ่งคงเหลือเงินเบี้ยปรับจำนวน 120,414 บาท ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ โดยเห็นว่าโจทก์มิได้รับความเสียหายเป็นพิเศษอย่างอื่น เพียงแต่ต้องซื้อสิ่งของแพงขึ้น และจำเลยก็รับผิดไปแล้วเป็นจำนวนเงินพอสมควร จึงเป็นการพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างโดยชอบด้วยกฎหมายในเชิงทรัพย์สินเมื่อได้ใช้เบี้ยปรับแล้ว ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับให้จำเลยจึงนับว่าเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว
โจทก์ได้ซื้อจอกทองเหลือง จำนวน 70,000 อัน ในราคา910,000 บาท จากคณะกรรมการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นการซื้อในราคาทิ่สูงกว่าที่จำเลยตกลงขายแก่โจทก์เป็นเงิน 252,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้โจทก์จะต้องนำไปหักกับหลักประกันจำนวน 65,800 บาท ที่จำเลยนำธนาคารทหารไทยจำกัด มาค้ำประกันไว้ และโจทก์ได้ริบไปแล้วเพราะถือเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งจำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อสิ่งของแพงขึ้นเป็นเงินเพียง186,200 บาท
การที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับรายวันให้จำเลยกึ่งหนึ่งคงเหลือเงินเบี้ยปรับจำนวน 120,414 บาท ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ โดยเห็นว่าโจทก์มิได้รับความเสียหายเป็นพิเศษอย่างอื่น เพียงแต่ต้องซื้อสิ่งของแพงขึ้น และจำเลยก็รับผิดไปแล้วเป็นจำนวนเงินพอสมควร จึงเป็นการพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างโดยชอบด้วยกฎหมายในเชิงทรัพย์สินเมื่อได้ใช้เบี้ยปรับแล้ว ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับให้จำเลยจึงนับว่าเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขาย, การแจ้งเตือน, การลดเบี้ยปรับ และการชดใช้ค่าเสียหาย
การที่จำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ตรงตามกำหนดสัญญาโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที แต่ได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้จำเลยส่งมอบสิ่งของตามสัญญาและสงวนสิทธิจะเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาการที่โจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยขยายกำหนดเวลาส่งมอบออกไปอันเป็นการยกเลิกกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาเดิม แต่เป็นกรณีที่โจทก์ให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และบอกสงวนสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับเอาไว้ในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนด เมื่อจำเลยมิได้ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนดังกล่าวแล้ว จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ยินยอมให้โจทก์ปรับเงินตามสัญญา ทั้งแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งมอบสิ่งของจึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 โดยให้โอกาสจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ และจำเลยยังต้องการปฏิบัติตามสัญญาโดยยินยอมให้โจทก์ปรับ แต่เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งสิ่งของตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้อีก และขอบอกเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันบอกเลิกสัญญา ข้อ 9 วรรคแรก โจทก์ได้ซื้อจอกทองเหลือง จำนวน 70,000 อัน ในราคา 910,000 บาทจากคณะกรรมการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นการซื้อในราคาที่สูงกว่าที่จำเลยตกลงขายแก่โจทก์เป็นเงิน 252,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้โจทก์จะต้องนำไปหักกับหลักประกันจำนวน 65,800 บาท ที่จำเลยนำธนาคารทหารไทย จำกัด มาค้ำประกันไว้ และโจทก์ได้ริบไปแล้วเพราะถือเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่ง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อสิ่งของแพงขึ้นเป็นเงินเพียง 186,200 บาท การที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับรายวันให้จำเลยกึ่งหนึ่งคงเหลือเงินเบี้ยปรับจำนวน 120,414 บาท ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์โดยเห็นว่าโจทก์มิได้รับความเสียหายเป็นพิเศษอย่างอื่น เพียงแต่ต้องซื้อสิ่งของแพงขึ้น และจำเลยก็รับผิดไปแล้วเป็นจำนวนเงินพอสมควร จึงเป็นการพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างโดยชอบด้วยกฎหมายในเชิงทรัพย์สินเมื่อได้ใช้เบี้ยปรับแล้ว ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับให้จำเลยจึงนับว่าเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องที่ดินอุทิศ การฟ้องไม่ขาดอายุความเมื่อโจทก์รู้เรื่องความผิด
จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ ทั้งที่ได้อุทิศที่ดินให้ทางราชการสร้างอ่างเก็บน้ำแล้ว แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบทำให้โจทก์หลงเชื่อซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์โดยการปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในชั้นพิจารณาถึงวันที่โจทก์ได้ไปดูและเห็นที่ดินพิพาทเป็นอ่างเก็บน้ำอันเป็นวันที่โจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเป็นวันใดโดยเบิกความว่า ได้ไปดูที่ดินพิพาทในเดือนกุมภาพันธ์ 2533แต่โจทก์ก็ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า วันดังกล่าวคือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 จึงฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง – อายุความ – วันรู้ความผิด – ฟังได้จากชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในชั้นพิจารณาถึงวันที่โจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด โดยนำสืบแต่เพียงว่า ได้ไปดูที่ดินพิพาทในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 แต่โจทก์ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 เมื่อนำคำพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาฟังประกอบคำเบิกความพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ฟ้องวันที่ 21พฤษภาคม 2533 จึงไม่เกินกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการกระทำผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการปกปิดข้อเท็จจริงการอุทิศที่ดิน การฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ ทั้งที่ได้อุทิศที่ดินให้ทางราชการสร้างอ่างเก็บน้ำแล้ว แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์หลงเชื่อซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์โดยการปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในชั้นพิจารณาถึงวันที่โจทก์ได้ไปดูและเห็นที่ดินพิพาทเป็นอ่างเก็บน้ำอันเป็นวันที่โจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเป็นวันใด โดยเบิกความว่า ได้ไปดูที่ดินพิพาทในเดือนกุมภาพันธ์2533 แต่โจทก์ก็ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า วันดังกล่าวคือวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 จึงฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในชั้นพิจารณาถึงวันที่โจทก์ได้ไปดูและเห็นที่ดินพิพาทเป็นอ่างเก็บน้ำอันเป็นวันที่โจทก์ได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเป็นวันใด โดยเบิกความว่า ได้ไปดูที่ดินพิพาทในเดือนกุมภาพันธ์2533 แต่โจทก์ก็ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า วันดังกล่าวคือวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 จึงฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำผิดเมื่อวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96