คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญศรี กอบบุญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา กรณีจำเลยให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินฯ ตามขั้นตอนกฎหมาย
การที่คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลมีมติว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ทำนา เป็นเพียงความเห็นในการรับฟังถ้อยคำของจำเลยทั้งสี่ว่า ไม่น่าเชื่อถือและการที่คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดมีมติว่า จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ทำนา ก็เพราะเชื่อถ้อยคำของจำเลยทั้งสี่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสี่แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดต่อศาล เพื่อให้พิจารณาคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้แม้จำเลยที่ 1 จะคัดค้านการที่จำเลยที่ 2 จะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสาครไม่ยอมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 คัดค้านไว้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการใช้สิทธิเพื่อจะดำเนินตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)ไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานแจ้งความเท็จ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 4 จะได้ฎีกาและขอถอนฎีกาไปแล้ว แต่การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำร่วมกัน ซึ่งเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 4ให้ได้รับผลตามคำพิพากษาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของ ผู้ค้ำประกัน เมื่อมีการหักชำระหนี้จากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000 บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ผิดนัดแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิด ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้น ดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน196,186.28 บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการใช้สิทธิเรียกร้องจากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1ได้ผิดนัดแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้นดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน 196,186.28บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากราคาพิพาทต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แม้ข้อพิพาทเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า พ. ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ครอบครองทำประโยชน์มาตลอด โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยการรับมรดกมาจากบิดาและในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ฝ่ายโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 248 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนจำเลยยื่นฎีกาคู่ความจะฎีกาได้หรือไม่เพียงไร ต้องพิเคราะห์ตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวและการกระทำโดยบันดาลโทสะ กรณีถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ขณะที่จำเลยใช้มีดโต้ของกลางฟันผู้ตาย อาวุธปืนได้หลุดไปจากมือผู้ตายแล้ว ภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันผ่านพ้นไปแล้วไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงอันจะต้องป้องกันอีก การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน แต่การที่ผู้ตายพยายามจะใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายจำเลยก่อนจนจำเลยต้องเข้าแย่งอาวุธปืนกับผู้ตายและฟันผู้ตายถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ความรุนแรงเพื่อป้องกันตนเองและการกระทำโดยบันดาลโทสะ: การพิจารณาเหตุแห่งการกระทำผิด
เมื่อผู้ตายยกอาวุธปืนเล็งมายังจำเลย จำเลยได้เข้าแย่งอาวุธปืนจากผู้ตายทำให้มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด ผู้ตายจึงได้หักลำกล้องปืนและบรรจุกระสุนขึ้นใหม่ จำเลยได้เข้าแย่งอาวุธปืนอีกเป็นเหตุให้ปืนลั่นอีก 1 นัด และอาวุธปืนได้หลุดจากมือผู้ตายถือว่าภยันตรายที่จำเลยต้องป้องกันได้ผ่านพ้นไป ไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงอันจะต้องป้องกันอีก การที่จำเลยใช้มีดโต้ฟันผู้ตายในขณะนั้น จึงไม่อาจเป็นการกระทำโดยป้องกันได้ แต่การกระทำของผู้ตายถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยฟันผู้ตายจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีอาญา: การพิจารณาจากคำให้การก่อนหน้าและผลกระทบต่อรูปคดี
ขณะไฟไหม้บ้าน ส. จำเลยไม่เห็นโจทก์ แต่จำเลยเบิกความว่าจำเลยมองไปที่บ้านของ ส.เห็นโจทก์วิ่งไปทางตะวันตกแล้วลงคลองไป จึงเป็นการเบิกความเท็จทั้งความเท็จนั้นหากศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยเบิกความอาจเป็นผลให้โจทก์ได้รับโทษได้จึงเป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยจึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาศาลอุทธรณ์นอกฟ้อง และประเด็นค่าขึ้นศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ขายฝากทรัพย์พิพาทไว้แก่โจทก์ และไม่ได้ไถ่ถอนจนครบกำหนด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทจึงตกเป็นของโจทก์โดยเด็ดขาด จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์เพียงว่าสัญญาขายฝากทรัพย์พิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองและสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยวินิจฉัยว่าสัญญาขายฝากยังไม่ครบกำหนดการไถ่ถอน จำเลยที่ 1 ที่ 2มีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้ และวินิจฉัยข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้ขายฝากบ้านส่วนของตน และยังคงมีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นที่อุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ประกอบมาตรา 246 ไม่เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาพึงรับไว้วินิจฉัย จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า นิติกรรมขายฝากอำพรางนิติกรรมจำนองแต่เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ โจทก์ซึ่งยื่นคำฟ้องต่อศาลไม่ว่าศาลชั้นใด จะเสียค่าขึ้นศาลถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องของโจทก์และศาลเท่านั้น ถ้าเสียไม่ครบศาลสั่งให้เสียให้ครบได้ ถ้าศาลไม่สั่งและไม่มีคำสั่งประการอื่นคำฟ้องของโจทก์ก็ไม่เสียไป จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ฎีกาต้องอยู่กรอบประเด็นที่อุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยนอกประเด็นที่มิได้ยกขึ้นสู่การต่อสู้ในศาลล่าง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยได้ขายฝากที่ดินพร้อมบ้านไว้แก่โจทก์และไม่ได้ทำการไถ่ถอนการขายฝากปล่อยจนครบกำหนดการไถ่ถอน กรรมสิทธิ์จึงตกเป็นของโจทก์โดยเด็ดขาดจำเลยอุทธรณ์เพียงว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองและสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ ไม่ได้อุทธรณ์ว่าสัญญาขายฝากยังไม่ครบกำหนดการไถ่ถอน ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยวินิจฉัยว่าสัญญาขายฝากยังไม่ครบกำหนดการไถ่ถอน และจำเลยมีสิทธิที่จะไถ่ถอนการขายฝากได้ จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นที่อุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ประกอบด้วยมาตรา 246 และการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าจำเลยไม่ได้ขายฝากบ้านส่วนของตนและยังคงมีกรรมสิทธิ์ในบ้านก็เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นที่อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน โจทก์ซึ่งยื่นคำฟ้องต่อศาลไม่ว่าศาลชั้นใดจะเสียค่าขึ้นศาลถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องของโจทก์และศาลเท่านั้นถ้าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ครบศาลสั่งให้เสียให้ครบได้ ถ้าศาลไม่สั่งให้เสียเพิ่มให้ครบและไม่มีคำสั่งประการอื่นใด คำฟ้องของโจทก์ก็ไม่เสียไป จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ขายเดิมในการคัดค้านการเวนคืน
แม้นาง ต.ได้ซื้อบ้านพิพาทจากนาง ม.โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ ต่อมานาง ต.ได้ขายบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายไว้ต่อกัน และเมึ่อซื้อบ้านพิพาทดังกล่าวแล้วโจทก์ได้เช่าที่ดินซึ่งบ้านพิพาทตั้งอยู่จากนาง ข.เพื่ออยู่อาศัยตลอดมา ถือว่า โจทก์ได้รับมอบการครอบครองบ้านพิพาทจากผู้ขาย และได้เข้าครอบครองแล้ว ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา1367 การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุตรนาง ม.เจ้าของบ้านพิพาทเดิมมิได้ครอบครองบ้านดังกล่าวไปคัดค้านการจ่ายเงินทดแทนการเวนคืนบ้านพิพาทจากกรมทางหลวงจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนคำคัดค้านและห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องกับบ้าน-พิพาทได้
of 87