คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญศรี กอบบุญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ขายเดิมในการคัดค้านการเวนคืน
แม้นาง ต.ได้ซื้อบ้านพิพาทจากนาง ม.โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ ต่อมานาง ต.ได้ขายบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายไว้ต่อกัน และเมึ่อซื้อบ้านพิพาทดังกล่าวแล้วโจทก์ได้เช่าที่ดินซึ่งบ้านพิพาทตั้งอยู่จากนาง ข.เพื่ออยู่อาศัยตลอดมา ถือว่า โจทก์ได้รับมอบการครอบครองบ้านพิพาทจากผู้ขาย และได้เข้าครอบครองแล้ว ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา1367 การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุตรนาง ม.เจ้าของบ้านพิพาทเดิมมิได้ครอบครองบ้านดังกล่าวไปคัดค้านการจ่ายเงินทดแทนการเวนคืนบ้านพิพาทจากกรมทางหลวงจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนคำคัดค้านและห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องกับบ้าน-พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าไม่มีประเด็นขับไล่ และค่าเสียหายไม่เกินสองแสนบาท
คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ต้องแปลว่ามีประเด็นในเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าจำเลยได้ขนย้ายออกจากสถานที่เช่าและได้ส่งมอบสถานที่เช่าให้โจทก์แล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์จะนำคดีมาฟ้องคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าเสียหายเพียงอย่างเดียว เมื่อค่าเสียหายไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง: คดีค่าเสียหายที่ไม่เกินสองแสนบาทและมีลักษณะคล้ายคดีขับไล่
ในการวินิจฉัยว่าคดีต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้นต้องพิจารณาบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันยื่นคำฟ้องฎีกา คดีฟ้องขับไล่ตามสัญญาเช่าแม้จะไม่มีประเด็นเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกา แต่ในการวินิจฉัยว่าคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ก็ต้องแปลว่ามีประเด็นในเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาด้วย เพื่อให้บทบัญญัติของกฎหมายซึ่งใช้เฉพาะในชั้นฎีกามีผลเช่นเดียวกันอย่างแท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของวันเวลาในฟ้องอาญา การระบุช่วงเวลาที่โจทก์สามารถระบุได้ถือว่าไม่เคลือบคลุม
บรรยายฟ้องคดีอาญาฐานลักทรัพย์ว่าเหตุเกิดระหว่างต้นเดือนมีนาคม 2534 ถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดเป็นฟ้องที่บอกวันเวลาตามที่สามารถจะบอกให้จำเลยเข้าใจดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหายจากการยึดรถ, เบี้ยปรับ, การคำนวณค่าเสียหายที่เหมาะสม
ในสัญญาเช่าซื้อระบุว่า หากโจทก์ยึดและนำรถยนต์พิพาทออกขายได้เงินไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อต้องยอมชำระราคาที่ขาดแก่โจทก์นั้น เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าและไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับได้ แต่หากเบี้ยปรับกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงจากการซื้อขายที่ดิน: จำเลยไม่ทราบข้อมูลเวนคืน ไม่ถือว่าปกปิดข้อเท็จจริง
ในขณะที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าที่ดินจะถูกเวนคืน เพียงแต่จำเลยทั้งสองพูดรับรองว่าที่ดินไม่มีภาระผูกพันใด ๆ เท่านั้น ทั้งโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อที่ดินจากจำเลยทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องระวังอยู่แล้วการเวนคืนถึงหากจะมีก็ยังไม่เป็นการแน่นอน ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย พฤติการณ์แห่งคดีจำเลยทั้งสองไม่อาจทราบได้ว่าจะมีการเวนคืนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ถือว่าจำเลยทั้งสองมิได้ปกปิดข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับที่ดินซึ่งตกอยู่ในเขตที่ดินที่ต้องถูกทางราชการเวนคืนโดยทุจริตแต่อย่างใดจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน: ข้อแตกต่างในการรับเงินก่อนหรือหลังทำสัญญากู้ ไม่ทำให้สัญญากู้เป็นโมฆะ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์และทำหนังสือสัญญากู้เงินไว้ แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1กู้ยืมเงินไปสี่ห้าครั้งก่อนแล้วจึงได้ทำสัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย ล.1 ก็ไม่เป็นพิรุธหรือข้อแตกต่างอันจะทำให้สัญญากู้เงินเสียไป เพราะข้อสาระสำคัญอยู่ที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินและได้รับเงินจำนวนตามฟ้องจากโจทก์ไปแล้วก่อนทำสัญญากู้เงินหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจำนวนตามฟ้องจากโจทก์ในวันทำสัญญากู้เงินหรือก่อนวันทำสัญญาและรับเงินดังกล่าวครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องถึงรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรโดยปรากฏในสูติบัตร และผลทางกฎหมายต่อการเป็นผู้สืบสันดาน
สูติบัตรซึ่งเป็นเอกสารมหาชนได้ลงข้อเท็จจริงแสดงว่า โจทก์เป็นบุตรของ ส. จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยแท้จริงและถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินให้ตนเองและผู้อื่นโดยทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทายาทโดยธรรม
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งของศาลและรู้ว่าทรัพย์มรดกจะต้องแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมทุกคนเท่า ๆ กัน แต่จำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง กลับโอนที่ดินดังกล่าวให้ตนเองและโอนต่อให้ ส. เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล กระทำผิดหน้าที่ด้วยการโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตนเองและโอนต่อให้ผู้อื่นโดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแก่โจทก์ จำเลยมีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคแรก,354

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การ, อายุความ, และผลผูกพันตามหนังสือผ่อนชำระหนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทและขอบเขตอำนาจ
การที่ศาลชั้นต้นจ่ายสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยให้โจทก์ในวันชี้สองสถาน โดยไม่กำหนดวันพิจารณาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยออกไป เพื่อจะได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยให้โจทก์ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โดยไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181(1) แต่การแก้ไขคำให้การนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติว่าข้อความที่แก้ไขใหม่จะต้องเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิม คงบัญญัติเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้น การแก้ไขคำให้การจะยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่จึงไม่สำคัญทั้งเรื่องอายุความก็เป็นข้อตัดฟ้องโจทก์ จำเลยอ้างเหตุผลมาด้วยว่า มูลหนี้ตามฟ้องโจทก์กล่าวอ้างการเช่าและใช้บริการซึ่งตามกฎหมายโจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดอายุความสองปีดังนั้น คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามกฎหมายแล้ว ซึ่งเป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้วส่วนอายุความที่จำเลยต่อสู้นั้นต้องด้วยบทกฎหมายลักษณะใดเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเอง และโจทก์สามารถนำสืบว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดได้อยู่แล้ว จึงไม่เสียเปรียบเชิงคดีแต่อย่างใด หากจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใหม่ ผลก็เหมือนเดิม คือต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เช่นเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้สืบพยานหลักฐานในท้องสำนวนเสร็จสิ้น พอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ว.กรรมการจำเลยได้มีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ต่อโจทก์ แต่หนังสือดังกล่าว ว.ลงลายมือชื่อไว้เพียงผู้เดียวโดยไม่ประทับตราจำเลย ซึ่งตามหนังสือรับรองนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้ระบุจำนวนและอำนาจของกรรมการจำเลยไว้ว่า ให้กรรมการสองนายร่วมกันลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลย จึงมีอำนาจทำการแทนจำเลยได้ การที่ ว.กระทำการดังกล่าวโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาอ้างอิงให้เห็นว่า จำเลยได้มอบหมายหรือเชิดให้ ว. เป็นตัวแทนจำเลยมีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ต่อโจทก์ดังนั้นการที่ ว. ลงชื่อในหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย การที่โจทก์จัดให้มีการบริการพูดโทรศัพท์ทางไกลติดต่อไปต่างประเทศ และเรียกเก็บเงินค่าบริการในการพูดโทรศัพท์นั้นถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ และเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) ดังนั้น สิทธิเรียกร้องสำหรับค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ไปต่างประเทศของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี
of 87