คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญศรี กอบบุญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องจำเลยขึ้นอยู่กับการเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก่อน การเพิ่มเติมคำฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยหลังฟ้องไม่อาจบังคับได้
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 57 หมายความว่า คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดจะต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดเพราะตราบใดคำวินิจฉัยดังกล่าวยังไม่ถูกเพิกถอน ต้องถือว่าคำวินิจฉัยยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายดังนี้ เมื่อโจทก์ในฐานะผู้เช่าไม่ฟ้อง คชก.จังหวัด เพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์ซื้อที่ดินที่เช่าจากจำเลยทั้งสามในราคาไร่ละ 250,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินที่เช่าให้ขายให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ต้องการ การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยขอเพิ่มคำขอท้ายฟ้องให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดด้วยนั้นเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับตามคำขอได้ ศาลจึงชอบที่จะไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องซื้อที่ดินเช่า: ต้องเพิกถอนคำวินิจฉัย คชก.จังหวัดก่อน จึงจะฟ้องบังคับขายได้
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 57 คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด จะต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด หากคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอน คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก็ยังมีผลใช้บังคับได้ โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดสมุทรปราการ แต่ไม่ได้ฟ้องคชก.จังหวัดสมุทรปราการเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสมุทรปราการ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่นาที่เช่าให้ขายที่นาที่เช่าให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ต้องการ แต่เป็นราคาที่แตกต่างไปจากราคาตามคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสมุทรปราการได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องแล้วการที่โจทก์ขอเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดสมุทรปราการจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีเพราะศาลไม่อาจพิพากษาบังคับตามคำขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4670/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์: ข้อเท็จจริงในฟ้องไม่สอดคล้องกับพยานหลักฐาน ศาลยกฟ้องจำเลยทั้งหมด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งหกลักไม้เต็ง57แผ่นไม้แคมปัส 21 แผ่นแต่ในทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า ไม้ที่จำเลยทั้งหกลักไปเป็นไม้ยาง47 แผ่น ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง จึงต้องยกฟ้อง กรณีดังกล่าว แม้จำเลยบางคนไม่ได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องถึงจำเลยเหล่านั้นได้เพราะเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดบุกรุกต้องรบกวนการครอบครอง หากแค่ใช้สิทธิของตนเองไม่ถือเป็นบุกรุก
ความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362มีความหมายเป็น 2 ตอน ตอนแรกรบกวนกรรมสิทธิ์ ตอนที่สองรบกวนสิทธิครอบครอง โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาท แต่โจทก์ยังไม่เคยเข้าไปอยู่อาศัย เนื่องจากตึกทรุดและอยู่ระหว่างที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกต่อศาลแพ่งให้ส่งมอบตึกแถวในสภาพเรียบร้อย แสดงว่าโจทก์ยังไม่ได้รับมอบการครอบครองตึกแถวพิพาท การที่จำเลยที่ 1 นำเสาเข็มและอิฐมอญจำนวนมากไปวางใต้กันสาดตึกแถว จึงเป็นเพียงการใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ในทางแพ่ง ยังไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: การใช้สิทธิของตนเองไม่ถือเป็นการรบกวนกรรมสิทธิ์หากเจ้าของยังไม่ได้รับมอบครอง
ความผิดบานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362มีความหมายเป็น 2 ตอน ตอนแรกรบกวนกรรมสิทธิ์ตอนที่สองรบกวนสิทธิครอบครอง โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาท แต่โจทก์ยังไม่เคยเข้าไปอยู่อาศัย เนื่องจากตึกทรุดและอยู่ระหว่างที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกต่อศาลแพ่งให้ส่งมอบตึกแถวในสภาพเรียบร้อย แสดงว่าโจทก์ยังไม่ได้รับมอบการครอบครองตึกแถวพิพาท การที่จำเลยที่ 1 นำเสาเข็มและอิฐมอญจำนวนมากไปวางใต้กันสาดตึกแถวจึงเป็นเพียงการใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ ความเสียหาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ในทางแพ่งยังไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคู่ความจากการสอดคดี: ศาลต้องพิจารณาคดีใหม่โดยมีคู่ความครบถ้วน
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม มาตรา 58 การพิจารณาพิพากษาคดีจึงต้องกระทำโดยมีคู่ความสามฝ่าย ศาลจะแยกพิจารณาพิพากษาหาได้ไม่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่มีผู้ร้องสอดเข้ามาในคดี เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตามมาตรา 243(2),247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำร้องสอดและการพิจารณาคดีใหม่เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้รับคำร้องสอด
ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้แล้วผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ การพิจารณาพิพากษาคดีจึงต้องกระทำโดยมีคู่ความทั้งสามฝ่าย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่มีผู้ร้องสอดเข้ามาในคดี เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกามีอำนาจสั่งยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้ ในกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) นั้น ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาที่เสียมาทั้งหมดให้แก่คู่ความ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4522/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ แม้มีการผ่อนชำระ ก็ถือเป็นความผิด
จำเลยที่ 1 สัญญาว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาจำเลยที่ 1 ยอมโอนที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการใช้หนี้แทนจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ โจทก์เตือนให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอน กลับนำไปโอนขายให้แก่บุคคลอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลเพื่อให้ชำระหนี้ จำเลยที่ 1จึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งโดยขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์หาทำให้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำสำเร็จแล้วกลายเป็นผู้ไม่ได้กระทำความผิดไม่ และไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องนำสืบว่านอกจากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะนำมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้กับไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยเปิดเผยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4522/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินหนีหนี้ แม้ฟ้องแพ่งได้ ก็เป็นความผิดอาญา
จำเลยที่ 1 สัญญาว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาจำเลยที่ 1 ยอมโอนที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการใช้หนี้แทน จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ โจทก์เตือนให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1ไม่ยอมโอน กลับนำไปโอนขายให้แก่บุคคลอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลเพื่อให้ชำระหนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งโดยขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์หาทำให้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำสำเร็จแล้วกลายเป็นผู้ไม่ได้กระทำความผิดไม่ และไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องนำสืบว่านอกจากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะนำมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้กับไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยเปิดเผยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่แท้จริง: ตัวแทน vs. ผู้เช่าจริง สิทธิในการฟ้องขับไล่
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับบริษัท ท. โดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ไม่เคยอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทเลยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้อาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาท โดยจำเลยที่ 1ได้ประกอบการค้าอยู่ในตึกแถวพิพาทด้วย จำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทจำนวน 270,000 บาท ให้แก่บริษัท ท. หลังจากโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทแล้ว จำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระค่าเช่าตึกแถวพิพาทในนามของโจทก์มาตลอดพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับบริษัท ท. โจทก์ย่อมไม่อาจอ้างสิทธิตามสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทมาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้
of 87