พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยุยงให้กระทำผิด vs. ตัวการร่วม: ศาลแก้โทษจากตัวการเป็นผู้สนับสนุนอาญา
จำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจะใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายผู้ใดมาก่อนเมื่อชาวบ้านวิ่งไล่ตามจับ จำเลยที่ 2 ตะโกนว่า "ยิงเลย" เพื่อหลบหนีเอาตัวรอด จำเลยที่ 1 จึงใช้ปืนยิงผู้เสียหายในระยะห่าง2 วา ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 2 ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด จะถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2ตามที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการ จึงเป็นการแตกต่างในสาระสำคัญอย่างมากย่อมลงโทษไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 2 ร้องบอกดังกล่าวถือได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและการทำให้เสียทรัพย์ในเคหสถาน การกระทำโดยไม่มีเหตุอันสมควรและความรับผิดทางอาญา
แม้จำเลยจะไปมาหาสู่ ด. ที่บ้านโจทก์ร่วมเป็นประจำ แต่จำเลยไม่เคยเข้าไปในห้องนอนของ ด. เลย การที่จำเลยเข้าไปในห้องนอนของ ด.เพื่อตามหาด. ให้มาดื่มสุรากับตนโดยโจทก์ร่วมมิได้อนุญาตให้เข้าไป เป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันเป็นการรบกวนการครอบครองบ้านของโจทก์ร่วมโดยปกติสุข จำเลยมีความผิดฐานบุกรุก ข้อเท็จจริงได้ความว่าเมื่อจำเลยเข้าไปในห้องนอนของ ด.โจทก์ร่วมได้ปิดประตูห้องนอนไว้ เพื่อมิให้จำเลยออกมาเพราะจำเลยเมาสุราจำเลยได้ใช้เท้าถีบประตูห้องนอนจนบานประตูห้องนอนหลุดดังนี้นอกจากเป็นความผิดฐานบุกรุกกรรมหนึ่งแล้วยังผิดฐานทำให้เสียทรัพย์อีกกรรมหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องโดยตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไป มิใช่กิจการที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801
การโอนสิทธิเรียกร้อง มิใช่กิจการเฉพาะที่ต้องห้ามมิให้ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปกระทำการแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 จ. เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปของบริษัท ย. จึงเป็นผู้มีอำนาจโอนสิทธิเรียกร้องที่บริษัท ย. มีต่อจำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลบหนีเจ้าพนักงาน vs. พยายามฆ่า: การประเมินพฤติการณ์เพื่อตัดสินความผิด
เมื่อจำเลยชะลอความเร็วของรถเพราะติดรถยนต์คันอื่นซึ่งติดสัญญาณไฟแดงเพื่อจะเลี้ยวขวา เจ้าพนักงานตำรวจได้ลงจากรถยนต์ปิกอัพวิ่งไปกระโดดเกาะบันไดขึ้นหลังคารถตรงประตูรถด้านหน้าด้านคนขับ จำเลยได้ขับรถเบี่ยงลงถนนทางด้านซ้ายเฉียดเสาไฟฟ้า เมื่อเลยสี่แยกไป เจ้าพนักงานตำรวจปีนขึ้นไปอยู่บนหลังคารถ จำเลยได้ขับรถชิดซ้ายและขับรถส่ายไปมา ดังนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เพื่อที่จะหลบหนีเจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้จับกุมได้เท่านั้นแม้จะขับรถส่ายไปมาก็เป็นการกันมิให้รถยนต์ของเจ้าพนักงานตำรวจแซงขึ้นหน้ารถตนเองได้ซึ่งหากจำเลยมีเจตนาฆ่าคงจะกระทำในโอกาสแรกโดยการขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุพุ่งเข้าชนเจ้าพนักงานตำรวจในขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นยืนโบกมือ ขวางทางอยู่กลางถนนที่ด่านตำรวจ การที่จำเลยไม่หยุดรถเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจส่งสัญญาณให้หยุดที่ด่านตรวจโดยเร่งความเร็วหลบแผงกั้นเป็นด่านตรวจของเจ้าพนักงานตำรวจ และขับรถส่ายไปมาในขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจอยู่บนหลังคารถด้วยนั้น ตามพฤติการณ์จำเลยมีเจตนาที่จะหลบหนีให้พ้นการตรวจค้นและจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจเพียงอย่างเดียวอันเป็นความผิดฐานขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้ายเท่านั้น ส่วนที่จำเลยขับรถเบี่ยงลงถนนด้านซ้ายเฉียดเสาไฟฟ้าข้างถนน ก็ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยจะขับรถเบี่ยงไปเช่นนั้นมีรถยนต์หลายคันจอดขวางติดสัญญาณไฟแดงอยู่เมื่อได้สัญญาณไฟเขียว จำเลยก็รีบร้อนขับรถออกไปเพื่อให้พ้นจากการถูกจับกุม แต่เมื่อไม่อาจขับรถออกไปทันทีได้จึงต้องเบี่ยงลงข้างทางที่มีที่ว่างพอให้รถยนต์บรรทุกสิบล้อที่จำเลยขับผ่านไปได้เผอิญตรงนั้นมีเสาไฟฟ้าอยู่ 1 ต้น จำเลยจึงต้องขับรถเบี่ยงเฉียดเสาไฟฟ้านั้นไป อีกทั้งรถยนต์บรรทุกสิบล้อที่จำเลยขับเป็นรถขนาดใหญ่และเป็นขณะเพิ่งออกรถ ย่อมไม่อาจใช้ความเร็วสูงได้จำเลยจึงมีเพียงเจตนาหลบหนีเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้พ้นจากการถูกจับกุม การกระทำของจำเลยยังไม่ถึงขั้นพยายามฆ่าเจ้าพนักงานโดยเล็งเห็นผลการกระทำของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ & การเปลี่ยนแปลงภารยทรัพย์: การวางเสาไฟฟ้าต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน
ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ การที่โจทก์ไปขอใช้เงินแก่เจ้าของที่ดินจำเลยคนก่อนแต่เขาไม่ยอมก็ดีหรือโจทก์ขอให้ผลมะพร้าวให้จำเลยแล้วผิดข้อตกลงกันก็ดี เมื่อเป็นเรื่องโจทก์เสนอให้ค่าตอบแทนเพื่อโจทก์จะทำถนนได้กว้างขึ้นเท่านั้น จึงไม่ทำให้ทางพิพาทซึ่งตกเป็นภารจำยอมอยู่แล้วกลายเป็นไม่เป็นภารจำยอมหรือภารจำยอมหมดสิ้นไปแต่อย่างใด แม้ทางพิพาทจะตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แต่การปักเสาไฟฟ้าการวางสายไฟฟ้าในที่ดินจำเลยที่เป็นภารจำยอมนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ ทำให้เกิดภารเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ได้ เมื่อโจทก์ไม่ให้ค่าทดแทนและไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยโจทก์จึงหามีสิทธิปักเสาพาดสายไฟฟ้าตามทางพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาเช่าซื้อสูงเกินควร ศาลลดอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า เมื่อผู้ให้เช่าซื้อยึดทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืน แล้วนำออกขายได้เงินเท่าใดให้นำไปชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เหลือเท่าใดจำเลยยอมรับผิดในส่วนที่ขาด เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับหากสูงเกินควรศาลอาจลดลงได้ ดอกเบี้ยของค่าเสียหายที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อข้อ 7อัตราร้อยละ 18 ต่อปี เป็นเบี้ยปรับและสูงเกินส่วน เห็นสมควรกำหนดให้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้จ้างวานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ฯ ผู้ใช้เป็นผู้สนับสนุน ไม่ใช่ตัวการ ความผิดหลายกรรมต่างกัน
การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของเจ้าพนักงาน ผู้ใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริมด้วยวิธีอื่นใด ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการไม่ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84แต่ต้องรับโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86 และเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ กรอกข้อความและรับรองเอกสารเป็นหลักฐานอันเป็นเท็จในใบรับคำขอมีบัตรประชาชน (บ.ป.2) และแบบแจ้งย้ายที่อยู่(ท.ร.17) เป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินชำระหนี้ ธนาคารลดหนี้ ไม่ถือเจตนาโกงเจ้าหนี้
การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโอนขายสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ให้บุคคลภายนอกเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารซึ่งจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปประกันการกู้ยืมเงินไว้ โดยขายสิทธิการเช่าแล้วก็ยังไม่พอชำระต้นเงินและดอกเบี้ย แต่ธนาคารก็ลดจำนวนหนี้ให้ ยังไม่ถือว่าเป็นการโอนไปโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีแพ่งต้องห้าม หากมีคำขอเดียวกันในคดีอาญาอยู่ระหว่างพิจารณา
คำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ ทั้งโจทก์ก็ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวด้วย คำขอบังคับของโจทก์ในคดีนี้กับคำขอส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าวเป็นเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำฟ้องที่มีประเด็นซ้ำกับคดีแพ่งในคดีอาญา
ก่อนฟ้องคดีนี้ พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวง ในฐานความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายซึ่งขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ และเป็นโจทก์ในคดีนี้ เงินจำนวนตามคำขอดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องและมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคำขอบังคับของโจทก์ในคดีนี้กับคำขอส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว เป็นเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้อง-ซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว อันต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามป.วิ.พ มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้