พบผลลัพธ์ทั้งหมด 864 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการคืนเงินค่าสัญญาหลังบอกเลิกสัญญา คิดจากวันที่ได้รับเงิน ไม่ใช่จากวันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเพราะเหตุจำเลยผิดนัดแล้วโจทก์และจำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่โจทก์โดยบวกดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391เข้าด้วยไม่ใช่คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อจำกัดสิทธิโต้แย้งข้อเท็จจริงในคดีอาญาและการขอให้ลดโทษนอกเหนือคำพิพากษา
ข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้อื่นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก25ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคสอง ฎีกาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่อุกอาจและจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐานมิได้ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษเป็นการโต้แย้งดุลพินิจการ รับฟังพยานหลักฐานและ ดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยกระทำผิดโดยบันดาลโทสะมิได้มีเจตนาทำร้ายโจทก์ร่วมจำเลยสำนึกผิดแล้วขอให้ลดโทษจำเลยอีก5ปีเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกาจะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในคดีอาญา และการขอลดโทษนอกเหนือคำพิพากษา
ข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก25 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
ฎีกาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่อุกอาจ และจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน มิได้ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ มิได้มีเจตนาทำร้ายโจทก์ร่วม จำเลยสำนึกผิดแล้ว ขอให้ลดโทษจำเลยอีก 5 ปีเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกาจะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้
ฎีกาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่อุกอาจ และจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน มิได้ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ มิได้มีเจตนาทำร้ายโจทก์ร่วม จำเลยสำนึกผิดแล้ว ขอให้ลดโทษจำเลยอีก 5 ปีเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกาจะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามสัญญาประกันจากการยื่นคำร้องและจัดหาหลักประกันของผู้ประกันเอง
จำเลยที่1เป็นผู้ยื่นคำร้องและเป็นผู้ประกันตัว อ.ผู้ต้องหาจำเลยที่1จึง มีหน้าที่ต้องจัดหา หลักประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา114เมื่อไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าหลักประกันนั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียวการที่จำเลยที่1จัดหาหลักประกันเป็นที่ดินของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่2ยินยอมให้นำมาวางต่อโจทก์โดยจำเลยที่2ทำ หนังสือมอบอำนาจให้แก่จำเลยที่1เป็นผู้รับโฉนดที่ดินไปดำเนินการนั้นหาได้แปลว่าจำเลยที่1ยื่นคำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันตัว อ. ผู้ต้องหาในฐานะจำเลยที่1เป็น ตัวแทนจำเลยที่2เท่านั้นไม่แต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1มี เจตนาเข้าทำสัญญาประกันตัว อ. ผู้ต้องหาในนามของจำเลยที่1เองด้วยดังนั้นสัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่1เมื่อ ผิดสัญญาจำเลยที่1ต้องรับผิดตามสัญญาประกันต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหายจากการเช่าช่วง, และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสามรับว่าได้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์จึงไม่มีอำนาจต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจให้เช่าและการเช่าแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่โจทก์ได้บอกเลิกการเช่าแล้วจึงฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามและค่าเสียหายได้เพราะมิใช่กรณีฟ้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาเช่า จำเลยที่1และที่2เสียเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมตึกพิพาทก็เพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพย์สินที่เช่าส่วนเงินแป๊ะเจี๊ยะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าหาก่อให้เกิดเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ให้เช่าได้ค่าเช่าเดือนละไม่สูงกว่า7,000บาทและกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ7,000บาททั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงประเด็นนี้จึงถือได้ว่าทรัพย์พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ7,000บาทต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์โดยประมาทเลินเล่อทำให้เจ้าของสิทธิได้รับความเสียหาย เจ้าหนี้ต้องรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)จำเลยโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนำยึดที่ดินดังกล่าวขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ตนเองอ้างว่าเป็นที่ดินของ พ. ลูกหนี้จำเลยโดยไม่ได้ตรวจสอบว่าที่ดินดังกล่าวมีหนังสือสำคัญแล้วหรือไม่และเป็นที่ดินของลูกหนี้ของตนหรือไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยให้การเพียงว่าขณะที่จำเลยนำยึดที่ดินพิพาทมีเพียงใบภ.บ.ท.5ไม่มีหลักฐานเอกสารสิทธิอย่างอื่นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์เป็นเอกสารปลอมจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยยึดที่ดินพิพาทโดยประมาทเลินเล่ออันเป็นการยึดและขายทรัพย์สินโดยมิชอบหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยยึดที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา183วรรคสองอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา142(5)ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนด้วยการซื้อจาก พ. ได้รับความเสียหายอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ พ. โดยมิชอบจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา284วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของท.โจทก์กับม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมาแต่ให้ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม" โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 วรรคท้าย ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมาโดยท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับท.ด้วยเมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของท.บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของท.เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับท.และม.ด้วย นอกจากนั้นหลังจากท.ตามไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาทและโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพท.การที่ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือม.คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม.การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของท.และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้บังคับไม่ได้ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้อง มีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตามแต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถ.ได้บันทึกรับรองว่าคดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้วเมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่าถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มาศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: การครอบครองทำกินร่วมกัน และการแบ่งมรดกหลังการเสียชีวิต
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของ ท. โจทก์กับ ม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และ ม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมา แต่ให้ ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม..." โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 วรรคท้าย
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากถนนขาด จำเลยต้องติดตั้งป้ายเตือนและแสงสว่างเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง
อุทกภัยตัดถนนในเขตเทศบาลจำเลยขาดก่อนที่ผู้ตายจะขับ รถจักรยานยนต์มาตกลงไปในช่วงที่ถนนขาดถึงแก่ความตายเป็นเวลา หลายเดือนแล้ว จำเลยมีโอกาสติดป้ายแสดงทางเบี่ยง จัดหา สิ่งกีดขวางใหญ่ ๆ มองได้ชัดในเวลากลางคืนมากีดขวางถนนไว้และ ต้องจัดการติดตั้งสัญญาณไฟเพื่อแสดงให้เห็นว่าถนนขาดเป็นการเตือนว่าจะเป็นอันตรายผู้สัญจรผ่านไปมาจะต้องระมัดระวัง แต่จำเลยไม่ทำ เป็นการละเว้นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ และกรณีไม่ได้เกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ค่าปลงศพผู้ตายเป็นค่าสินไหมทดแทนซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ทำละเมิดต้องจ่าย โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายมีหน้าที่จัดการศพผู้ตายไม่ว่าจะทำเองหรือมีผู้อื่นทำแทน หรือโจทก์จะได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพด้วยตนเองหรือไม่ จำเลยก็ต้องรับผิดจ่ายค่าปลงศพแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยซ่อมถนนขาด-ติดป้ายเตือน เสี่ยงอันตรายแก่ผู้ใช้ทาง มีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
อุทกภัยตัดถนนในเขตเทศบาลจำเลยขาดก่อนที่ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์มาตกลงไปในช่วงที่ถนนขาดถึงแก่ความตายเป็นเวลาหลายเดือนแล้วจำเลยมีโอกาสติดป้ายแสดงทางเบี่ยงจัดหาสิ่งกีดขวางใหญ่ๆมองได้ชัดในเวลากลางคืนมากีดขวางถนนไว้และต้องจัดการติดตั้งสัญญาณไฟเพื่อแสดงให้เห็นว่าถนนขาดเป็นการเตือนว่าจะเป็นอันตรายผู้สัญจรผ่านไปมาจะต้องระมัดระวังแต่จำเลยไม่ทำเป็นการละเว้นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและกรณีไม่ได้เกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ค่าปลงศพผู้ตายเป็นค่าสินไหมทดแทนซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ทำละเมิดต้องจ่ายโจทก์เป็นทายาทของผู้ตายมีหน้าที่จัดการศพผู้ตายไม่ว่าจะทำเองหรือมีผู้อื่นทำแทนหรือโจทก์จะได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพด้วยตนเองหรือไม่จำเลยก็ต้องรับผิดจ่ายค่าปลงศพแก่โจทก์