พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9484/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค้างรับจากลูกค้าผิดสัญญา ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำไปคำนวณภาษี แม้ยังไม่ได้รับชำระ
สาระสำคัญของสัญญาทำธุรกิจเพื่อส่งออกมีว่าโจทก์จะจ่ายค่าสินค้าล่วงหน้าให้แก่ลูกค้าหรือนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาให้ลูกค้าผลิตสินค้าเงินที่โจทก์นำมาจ่ายให้แก่ลูกค้าหรือรับภาระแทนลูกค้านั้นโจทก์ได้มาจากธนาคารพาณิชย์โดยนำแอลซีไปวางเป็นประกันต่อธนาคารพาณิชย์ที่เรียกว่าการทำแพคกิ้งเครดิตกับธนาคารหรือโจทก์ออกตั๋วแลกเงินนำไปขายลดให้แก่ธนาคารค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคารลูกค้าจะต้องชำระคืนให้โจทก์ทั้งสิ้นตามจำนวนที่โจทก์จ่ายให้ธนาคารในกรณีที่ลูกค้าส่งสินค้าออกได้ตามกำหนดและมีการชำระเงินตามแอลซีหรือตั๋วแลกเงินแล้วโจทก์จะหักกลบลบหนี้ค่าใช้จ่ายต่างๆเสียก่อนรวมทั้งค่าบริการที่โจทก์ให้แก่ลูกค้าตามอัตราที่ตกลงกันไว้เหลือเงินเท่าใดจึงชำระให้แก่ลูกค้าแต่ถ้าลุกค้าผิดสัญญาตามสัญญาทำธุรกิจเพื่อส่งออกข้อ9ระบุว่าลูกค้าจะต้องคืนเงินทดรองจ่ายหรือเงินค่าสินค้าล่วงหน้าที่โจทก์ได้ชำระไปแล้วรวมทั้งลูกค้าต้องชำระค่าปรับค่าเสียหายต่างๆค่าวัตถุดิบหรือวัสดุที่ซื้อจากต่างประเทศและค่าดอกเบี้ยให้แก่โจทก์และข้อ11ระบุว่าในกรณีที่ลูกค้าผิดนัดไม่ชำระหนี้ลูกค้ายินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้จนหมดสิ้นนอกจากนี้ในกรณีที่ลูกค้าผิดสัญญาไม่ชำระเงินตามแอลซีหรือไม่ส่งสินค้าออกธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินค่าสินค้าบวกค่าปรับและโจทก์จะต้องชำระค่าภาษีในการนำเข้าและเบี้ยปรับในการนำสินค้าเข้าหรือในกรณีที่โจทก์นำตั๋วแลกเงินไปขายลดธนาคารจะเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามตั๋วพร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ต้องชำระเงินต่างๆดังกล่าวเท่าใดโจทก์ก็จะเรียกเอาจากลูกค้าที่ผิดสัญญาเท่านั้นจึงเป็นที่เห็นได้ว่าเมื่อลูกค้าของโจทก์ผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์โดยไม่มีการส่งออกสินค้าตามสัญญาทำธุรกิจเพื่อส่งออกข้อ9โจทก์ย่อมต้องรับผิดต่อธนาคารชำระเงินรวมทั้งดอกเบี้ยทันทีดังนั้นลูกค้าที่ผิดสัญญาก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ทันทีนับแต่วันที่โจทก์รับผิดต่อธนาคารโจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกค้าที่ผิดสัญญารับผิดในจำนวนเงินที่โจทก์ต้องรับผิดต่อธนาคารนับแต่วันที่ลูกค้าผิดสัญญาหาใช่โจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ธนาคารเสียก่อนจึงจะมีสิทธิเรียกให้ลูกค้าที่ผิดสัญญารับผิดต่อโจทก์ไม่ส่วนที่โจทก์อ้างว่าอัตราดอกเบี้ยที่จะให้ลูกค้าต้องรับผิดยังไม่แน่นอนจนกว่าลูกค้าจะมารับสภาพหนี้ต่อโจทก์เสียก่อนนั้นโจทก์ย่อมจะต้องทราบดีว่าในขณะที่ลูกค้าผิดสัญญาต่อโจทก์นั้นธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอัตราใดเอาแก่โจทก์ทั้งการขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยธนาคารมิใช่ข้ออ้างที่จะไม่ต้องลงบัญชีในดอกเบี้ยค้างรับที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าที่ผิดสัญญาแม้ดอกเบี้ยค้างรับจะมิใช่รายได้จากการประกอบกิจการโดยตรงของโจทก์แต่ก็เป็นรายได้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากรมาตรา65วรรคหนึ่งโจทก์จึงต้องนำลงบัญชีเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดดอกเบี้ยค้างรับนั้นตามมาตรา65วรรคสอง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าถ้าดอกเบี้ยค้างรับของโจทก์ดังกล่าวถือเป็นรายได้ตามเกณฑ์สิทธิโจทก์ย่อมมีสิทธิหักเป็นรายจ่ายในจำนวนเดียวกันได้ทำให้ไม่มีเงินได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีนั้นข้อที่ว่าเงินรายได้ที่โจทก์ถูกประเมินเพิ่มเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนี้จะนำไปหักเป็นรายจ่ายได้หรือไม่เพียงใดไม่เป็นประเด็นในคดีและมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9484/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกค้าต่อโจทก์เมื่อผิดสัญญาซื้อขายและผลกระทบทางภาษีของดอกเบี้ยค้างรับ
สาระสำคัญของสัญญาทำธุรกิจเพื่อส่งออกมีว่า โจทก์จะจ่ายค่าสินค้าล่วงหน้าให้แก่ลูกค้าหรือนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาให้ลูกค้าผลิตสินค้าเงินที่โจทก์นำมาจ่ายให้แก่ลูกค้าหรือรับภาระแทนลูกค้านั้น โจทก์ได้มาจากธนาคารพาณิชย์โดยนำแอลซีไปวางเป็นประกันต่อธนาคารพาณิชย์ที่เรียกว่าการทำแพคกิ้งเครดิตกับธนาคารหรือโจทก์ออกตั๋วแลกเงินนำไปขายลดให้แก่ธนาคาร ค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคาร ลูกค้าจะต้องชำระคืนให้โจทก์ทั้งสิ้นตามจำนวนที่โจทก์จ่ายให้ธนาคาร ในกรณีที่ลูกค้าส่งสินค้าออกได้ตามกำหนดและมีการชำระเงินตามแอลซีหรือตั๋วแลกเงินแล้ว โจทก์จะหักกลบลบหนี้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เสียก่อน รวมทั้งค่าบริการที่โจทก์ให้แก่ลูกค้าตามอัตราที่ตกลงกันไว้เหลือเงินเท่าใดจึงชำระให้แก่ลูกค้า แต่ถ้าลูกค้าผิดสัญญาตามสัญญาทำธุรกิจเพื่อส่งออก ข้อ 9 ระบุว่า ลูกค้าจะต้องคืนเงินทดรองจ่ายหรือเงินค่าสินค้าล่วงหน้าที่โจทก์ได้ชำระไปแล้ว รวมทั้งลูกค้าต้องชำระค่าปรับ ค่าเสียหายต่าง ๆ ค่าวัตถุดิบหรือวัสดุที่ซื้อจากต่างประเทศและค่าดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ และข้อ 11 ระบุว่าในกรณีที่ลูกค้าผิดนัดไม่ชำระหนี้ ลูกค้ายินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้จนหมดสิ้น นอกจากนี้ในกรณีที่ลูกค้าผิดสัญญาไม่ชำระเงินตามแอลซีหรือไม่ส่งสินค้าออก ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินค่าสินค้าบวกค่าปรับ และโจทก์จะต้องชำระค่าภาษีในการนำเข้าและเบี้ยปรับในการนำสินค้าเข้าหรือในกรณีที่โจทก์นำตั๋วแลกเงินไปขายลด ธนาคารจะเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามตั๋วพร้อมทั้งดอกเบี้ย ซึ่งโจทก์ต้องชำระเงินต่าง ๆ ดังกล่าวเท่าใด โจทก์ก็จะเรียกเอาจากลูกค้าที่ผิดสัญญาเท่านั้น จึงเป็นที่เห็นได้ว่า เมื่อลูกค้าของโจทก์ผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์โดยไม่มีการส่งออกสินค้าตามสัญญาทำธุรกิจเพื่อส่งออก ข้อ 9 โจทก์ย่อมต้องรับผิดต่อธนาคารชำระเงินรวมทั้งดอกเบี้ยทันที ดังนั้นลูกค้าที่ผิดสัญญาก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ทันทีนับแต่วันที่โจทก์ต้องรับผิดต่อธนาคาร โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกค้าที่ผิดสัญญารับผิดในจำนวนเงินที่โจทก์ต้องรับผิดต่อธนาคารนับแต่วันที่ลูกค้าผิดสัญญา หาใช่โจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ธนาคารเสียก่อนจึงจะมีสิทธิเรียกให้ลูกค้าที่ผิดสัญญารับผิดต่อโจทก์ไม่ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าอัตราดอกเบี้ยที่จะให้ลูกค้าต้องรับผิดยังไม่แน่นอนจนกว่าลูกค้าจะมารับสภาพหนี้ต่อโจทก์เสียก่อนนั้น โจทก์ย่อมจะต้องทราบดีว่าในขณะที่ลูกค้าผิดสัญญาต่อโจทก์นั้น ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอัตราใดเอาแก่โจทก์ทั้งการขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยธนาคารมิใช่ข้ออ้างที่จะไม่ต้องลงบัญชีในดอกเบี้ยค้างรับที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าที่ผิดสัญญา แม้ดอกเบี้ยค้างรับจะมิใช่รายได้จากการประกอบกิจการโดยตรงของโจทก์ แต่ก็เป็นรายได้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65วรรคหนึ่ง โจทก์จึงต้องนำลงบัญชีเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดดอกเบี้ยค้างรับนั้น ตามมาตรา 65 วรรคสอง
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าถ้าดอกเบี้ยค้างรับของโจทก์ดังกล่าวถือเป็นรายได้ตามเกณฑ์สิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิหักเป็นรายจ่ายในจำนวนเดียวกันได้ ทำให้ไม่มีเงินได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีนั้น ข้อที่ว่าเงินรายได้ที่โจทก์ถูกประเมินเพิ่มเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนี้จะนำไปหักเป็นรายจ่ายได้หรือไม่เพียงใด ไม่เป็นประเด็นในคดีและมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าถ้าดอกเบี้ยค้างรับของโจทก์ดังกล่าวถือเป็นรายได้ตามเกณฑ์สิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิหักเป็นรายจ่ายในจำนวนเดียวกันได้ ทำให้ไม่มีเงินได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีนั้น ข้อที่ว่าเงินรายได้ที่โจทก์ถูกประเมินเพิ่มเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนี้จะนำไปหักเป็นรายจ่ายได้หรือไม่เพียงใด ไม่เป็นประเด็นในคดีและมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9350/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายลิฟต์มีผลเมื่อผู้รับเหมาหลักลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลย สัญญาจึงสมบูรณ์
ข้อความในหนังสือยืนยันการซื้อขายที่ว่าเมื่อได้มีการทำสัญญาหลักแล้วโจทก์จะแจ้งให้ผู้รับเหมาหลักลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลยนั้นเป็นข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระหลักได้ลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลยสัญญาซื้อขายลิฟต์และอุปกรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีการตกลงกันได้หมดทุกข้อต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยยังมิได้มีสัญญาซื้อขายดังกล่าวต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9350/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ หากเงื่อนไขสำคัญยังไม่ตกลงกัน
ข้อความในหนังสือยืนยันการซื้อขายที่ว่า เมื่อได้มีการทำสัญญาหลักแล้ว โจทก์จะแจ้งให้ผู้รับเหมาหลักลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลยนั้น เป็นข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้รับเหมาหลักได้ลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลย สัญญาซื้อขายลิฟต์และอุปกรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีการตกลงกันได้หมดทุกข้อ ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยยังมิได้มีสัญญาซื้อขายดังกล่าวต่อกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 366 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารจำนองเป็นเอกสารมหาชน สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยตามสัญญา
เอกสารการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งป.วิ.พ.มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกเอกสารมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร แต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใด ดังนั้น โจทก์จึงนำสืบผู้รับมอบอำนาจโจทก์ประกอบเอกสารดังกล่าวก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำต้องนำสืบเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนอีก
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเงินทุนโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินเป็นความสมัครใจของจำเลยเอง อันเป็นการตกลงในเรื่องดอกเบี้ยสองลักษณะคือดอกเบี้ยปกติ (ร้อยละ 14.5 ต่อปี )กับดอกเบี้ยผิดนัด (ร้อยละ 18.5 ต่อปี)หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามปกติโจทก์ย่อมไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยในอัตราผิดนัดตามที่ตกลงกันส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามหนังสือต่ออายุสัญญานั้น โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้ตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวตามสัญญากู้เงินย่อมผูกพันใช้บังคับกันได้ หาใช่เป็นเบี้ยปรับเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนไม่ จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเงินทุนโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินเป็นความสมัครใจของจำเลยเอง อันเป็นการตกลงในเรื่องดอกเบี้ยสองลักษณะคือดอกเบี้ยปกติ (ร้อยละ 14.5 ต่อปี )กับดอกเบี้ยผิดนัด (ร้อยละ 18.5 ต่อปี)หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามปกติโจทก์ย่อมไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยในอัตราผิดนัดตามที่ตกลงกันส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามหนังสือต่ออายุสัญญานั้น โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้ตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวตามสัญญากู้เงินย่อมผูกพันใช้บังคับกันได้ หาใช่เป็นเบี้ยปรับเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนไม่ จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองที่ดิน-สัญญากู้-ดอกเบี้ย-สถาบันการเงิน-การบังคับจำนอง: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเป็นไปตามข้อตกลงและกฎหมาย
เอกสารการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกเอกสารมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารแต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นโจทก์จึงนำสืบผู้รับมอบอำนาจโจทก์ประกอบเอกสารดังกล่าวก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนอีก โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเงินทุนโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินเป็นความสมัครใจของจำเลยเองอันเป็นการตกลงในเรื่องดอกเบี้ยสองลักษณะคือดอกเบี้ยปกติ(ร้อยละ14.5ต่อปี)กับดอกเบี้ยผิดนัด(ร้อยละ18.5ต่อปี)หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามปกติโจทก์ย่อมไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดแต่เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยในอัตราผิดนัดตามที่ตกลงกันส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19ต่อปีตามหนังสือต่ออายุสัญญานั้นโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่1ได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ลงวันที่20พฤศจิกายน2533ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวตามสัญญากู้เงินย่อมผูกพันใช้บังคับกันได้หาใช่เป็นเบี้ยปรับเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนไม่จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9186/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ราคารถส่วนที่ขาด, ค่าขาดประโยชน์, ค่าติดตามยึดรถ มีอายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งไม่ใช่ค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่สงวนรักษาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนเป็นเหตุให้ชำรุดบุบสลายอันจะต้องนำอายุความ6 เดือน ในลักษณะเช่าทรัพย์มาใช้บังคับ ส่วนค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถก็เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถระหว่างที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาและภายหลังสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วก่อนที่จะยึดรถคืนมาได้ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและสำหรับค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถคืนเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและไม่ส่งมอบรถคืน การฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวข้างต้นล้วนมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีพิพาทที่ดินระหว่างรัฐกับเอกชน ต้องอาศัยพยานหลักฐานทางศาลมากกว่าพยานจากคณะกรรมการสอบสวน
แม้จะเป็นคดีที่มีข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนและคำสั่งฉบับพิพาทจะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม แต่การฟังพยานหลักฐานของศาลย่อมต้องเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พยานหลักฐานของจำเลยคือบันทึกถ้อยคำที่บุคคลให้การไว้ต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ทางราชการแต่งตั้งขึ้นย่อมรับฟังได้ แต่น้ำหนักของพยานหลักฐานดังกล่าวมีน้อยกว่าการที่ฝ่ายจำเลยจะนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความในศาล เพราะเป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยไม่มีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงที่ปรากฏในบันทึกคำให้การนั้น บันทึกคำให้การดังกล่าวจึงมีน้ำหนักน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. แม้เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ
แม้คดีนี้จะเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนและคำสั่งจังหวัด-กาญจนบุรีที่ 1139/2532 ที่ให้แก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงเพราะออกทับหนองน้ำสาธารณะหนองแฟบจะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมก็ตาม แต่การฟังพยานหลักฐานของศาลยุติธรรมย่อมต้องเป็นไปตามนัยของ ป.วิ.พ. บันทึกถ้อยคำที่บุคคลให้การไว้ต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ทางราชการแต่งตั้งขึ้นนั้นย่อมรับฟังได้ แต่น้ำหนักของพยานหลักฐานดังกล่าวมีน้อยกว่าการที่ฝ่ายผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีจำเลยจะนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความในศาลเพราะเป็นเพียงพยานบอกเล่า
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องดังกล่าวไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องดังกล่าวไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องโดยคู่ความที่ถูกต้อง ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันไม่มีสิทธิ
ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้ประกันประกันตัวจำเลยไปในระหว่างอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่จำเลยอาจยื่นอุทธรณ์ได้ ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันได้มายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเวลา 16.25 นาฬิกา ขอเลื่อนส่งตัวจำเลยและขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปเป็นเวลา 7 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำเลยได้นำอุทธรณ์มายื่นภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่ผู้ประกันจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้เพราะมิใช่คู่ความในคดี จึงไม่มีสิทธิร้องขอหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 198 เมื่อฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้ยื่นในกำหนด ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 210 แล้ว