พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์โดยผู้ไม่มีอำนาจทำให้การอุทธรณ์พ้นกำหนด ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้ประกันประกันตัวจำเลยไปในระหว่างอุทธรณ์วันสุดท้ายที่จำเลยอาจยื่นอุทธรณ์ได้ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันได้มายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเวลา16.25นาฬิกาขอเลื่อนส่งตัวจำเลยและขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปเป็นเวลา7วันศาลชั้นต้นอนุญาตและจำเลยได้นำอุทธรณ์มายื่นภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตแต่ผู้ประกันจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้เพราะมิใช่คู่ความในคดีจึงไม่มีสิทธิร้องขอหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงไม่ชอบไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา198เมื่อฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้ยื่นในกำหนดที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา210แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งและการแก้ไขข้อบกพร่องเอกสารแต่งตั้งทนายความที่ศาลมีอำนาจแก้ไขเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ใบแต่งทนายความของจำเลยจะลงชื่อส. หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยเพียงคนเดียวไม่เป็นไปตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการที่ระบุให้ส. ลงลายมือชื่อร่วมกับค. และประทับตราห้างจำเลยตามหนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งทำให้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลในการดำเนินคดีของจำเลยบกพร่องก็ตามแต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา66ให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องโดยการร้องขอต่อศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา73และให้จัดทำใบแต่งทนายความขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้เมื่อพบเห็นเองส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยตามที่จำเลยยื่นคำร้องขอมาโดยค.ยังเป็นหุ้นส่วนของจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับส.ในการทำนิติกรรมต่างๆของห้างอยู่แต่ปรากฎว่าค.แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยไม่ยอมลงชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับส.ตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้และไม่มีทางใดที่จะบังคับค. ได้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยและจำเลยได้เสนอใบแต่งทนายความฉบับใหม่ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่บกพร่องนั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรกจำเลยจึงมีอำนาจให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล: การแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายความและการตั้งผู้แทนชั่วคราวเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ใบแต่งทนายความของจำเลยจะลงชื่อ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยเพียงคนเดียว ไม่เป็นไปตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการที่ระบุให้ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ค. และประทับตราห้างจำเลยตามหนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งทำให้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลในการดำเนินคดีของจำเลยบกพร่องก็ตาม แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 66 ให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องโดยการร้องขอต่อศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวตาม ป.พ.พ.มาตรา 73 และให้จัดทำใบแต่งทนายความขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้เมื่อพบเห็นเอง ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ส.เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยตามที่จำเลยยื่นคำร้องขอมา โดย ค.ยังเป็นหุ้นส่วนของจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ส.ในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ของห้างอยู่ แต่ปรากฏว่า ค.แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจำเลย ไม่ยอมลงชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับ ส.ตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ และไม่มีทางใดที่จะบังคับ ค.ได้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ส.เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยและจำเลยได้เสนอใบแต่งทนายความฉบับใหม่ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่บกพร่องนั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรก จำเลยจึงมีอำนาจให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังศาลเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ และผลกระทบต่อค่าขึ้นศาล
คดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานและการสืบพยานเนื่องจากศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ดังนั้นตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษา ถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยที่ 2แก้ไขคำให้การได้ หาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ไม่ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 181 ซึ่งหมายถึงให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 เสียใหม่นั้น เมื่อโจทก์ได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การทั้งสองครั้งและมีโอกาสคัดค้านทั้งในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นควรสั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ไปเสียทีเดียว โดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอีก และเมื่อจะต้องรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การและดำเนินคดีต่อไปเช่นนี้แล้ว ก็เป็นอันยังไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งโจทก์ฎีกาขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ตามคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ยังไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเช่นเดียวกัน ดังนั้น ที่จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดี และโจทก์ก็เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีเช่นเดียวกัน จึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมา ซึ่งที่ถูกจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ 200 บาท เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีอาญาเดิมที่รอการลงโทษเข้ากับคดีใหม่ แม้โจทก์มิได้ขอ
ป.อ.มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2532 มาตรา 4 เมื่อจำเลยแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยเคยต้องโทษตามคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นจริง และคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจำคุก 6 เดือน โดยให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตาม ป.อ.มาตรา56 และในระหว่างที่ยังไม่ครบ 2 ปี จำเลยได้มากระทำความผิดคดีนี้ เช่นนี้แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษคดีนี้แต่เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ทั้งจำเลยก็ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วข้างต้น ศาลจึงต้องนำโทษที่รอไว้ในคดีอาญาเรื่องนั้นของศาลชั้นต้นมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีที่เคยรอการลงโทษไว้กับคดีใหม่ แม้โจทก์มิได้ขอ โดยอาศัยความปรากฏต่อศาล
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา58วรรคหนึ่งซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่10)พ.ศ.2532มาตรา4เมื่อจำเลยแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยเคยต้องโทษตามคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นจริงและคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจำคุก6เดือนโดยให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด2ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56และในระหว่างที่ยังไม่ครบ2ปีจำเลยได้มากระทำความผิดคดีนี้เช่นนี้แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษคดีนี้แต่เป็นกรณีที่ความปรากฎแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติทั้งจำเลยก็ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วข้างต้นศาลจึงต้องนำโทษที่รอไว้ในคดีอาญาเรื่องนั้นของศาลชั้นต้นมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและการบังคับแบ่งมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยทั้งสาม และขอให้ศาลบังคับเพื่อให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตาม ป.พ.พ. มาตรา1364 เป็นการบรรยายฟ้องถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนของโจทก์ และขอให้ศาลบังคับแบ่งแยกทรัพย์มรดกของ อ. ที่โจทก์และบรรดาทายาทของ อ.ได้รับมาโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว ส่วนที่เหลือขอให้แบ่งตามมาตรา 1364 ซึ่งกำหนดวิธีการแบ่งเอาไว้ ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับวิธีการแบ่ง คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกและเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงแบ่งการครอบครองทรัพย์พิพาทเป็นส่วนสัดและทรัพย์สินที่เหลือก็ขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์เป็นเด็ดขาด โจทก์ได้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 แล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งในข้อนี้จำเลยที่ 1 ก็ให้การว่า ได้แบ่งแยกทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนเป็นส่วนสัดแล้วและการแบ่งแยกทรัพย์สินตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 พร้อมจะแบ่งแยกแต่โจทก์ไม่ยอมส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงได้ฟ้องโจทก์ไว้แล้ว กรณีเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยไม่ยอมแบ่งทรัพย์พิพาทตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามข้อเท็จจริงโจทก์และจำเลยทั้งสามยอมรับว่า โจทก์ ป.,ด. และจำเลยที่ 3 ได้ตกลงแบ่งกันครอบครองตึกแถวในที่ดินพิพาทแล้ว บรรดาตึกแถวที่แบ่งกันครอบครองต่างทำสัญญาเช่าและเก็บค่าเช่ากันเองเป็นเวลานับ10 ปีแล้ว ดังนี้ ตึกแถวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ สำหรับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของตึกแถวดังกล่าว แม้ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์จะระบุว่าเป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์เฉพาะตึกแถวไม่รวมถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่โจทก์และจำเลยทั้งสามก็ไม่ขัดข้องจะแบ่งที่ดินอันเป็นที่ตั้งของตึกแถว ซึ่งน่าจะรวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วยเพราะถือเป็นบริเวณที่ดินส่วนหนึ่งของตึกแถว ที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยให้รวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วย จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก
วิธีการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 คือให้กระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกัน ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าการแบ่งไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ศาลจะสั่งให้ขาย โดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทบางรายการกันเองระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ขายทอดตลาดชอบด้วยมาตรา 1364 แล้ว
ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกและเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงแบ่งการครอบครองทรัพย์พิพาทเป็นส่วนสัดและทรัพย์สินที่เหลือก็ขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์เป็นเด็ดขาด โจทก์ได้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 แล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งในข้อนี้จำเลยที่ 1 ก็ให้การว่า ได้แบ่งแยกทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนเป็นส่วนสัดแล้วและการแบ่งแยกทรัพย์สินตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 พร้อมจะแบ่งแยกแต่โจทก์ไม่ยอมส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงได้ฟ้องโจทก์ไว้แล้ว กรณีเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยไม่ยอมแบ่งทรัพย์พิพาทตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามข้อเท็จจริงโจทก์และจำเลยทั้งสามยอมรับว่า โจทก์ ป.,ด. และจำเลยที่ 3 ได้ตกลงแบ่งกันครอบครองตึกแถวในที่ดินพิพาทแล้ว บรรดาตึกแถวที่แบ่งกันครอบครองต่างทำสัญญาเช่าและเก็บค่าเช่ากันเองเป็นเวลานับ10 ปีแล้ว ดังนี้ ตึกแถวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ สำหรับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของตึกแถวดังกล่าว แม้ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์จะระบุว่าเป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์เฉพาะตึกแถวไม่รวมถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่โจทก์และจำเลยทั้งสามก็ไม่ขัดข้องจะแบ่งที่ดินอันเป็นที่ตั้งของตึกแถว ซึ่งน่าจะรวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วยเพราะถือเป็นบริเวณที่ดินส่วนหนึ่งของตึกแถว ที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยให้รวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วย จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก
วิธีการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 คือให้กระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกัน ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าการแบ่งไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ศาลจะสั่งให้ขาย โดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทบางรายการกันเองระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ขายทอดตลาดชอบด้วยมาตรา 1364 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราเด็กนักเรียน ครูผู้ปกครองมีความผิดฐานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่
จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในขณะที่จำเลยซึ่งเป็นครูอาวุโสเข้าเวรเป็นครูผู้ปกครองประจำวันมีหน้าที่ควบคุมดูแลเด็กนักเรียนถือได้ว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ครูข่มขืนศิษย์: ความรับผิดชอบในฐานะผู้ดูแล
จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในขณะที่จำเลยซึ่งเป็นครูอาวุโสเข้าเวรเป็นครูผู้ปกครองประจำวันมีหน้าที่ควบคุมดูแลเด็กนักเรียน ถือได้ว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการรับรองฎีกาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีที่ราคาทรัพย์สินอันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งจำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงแต่ตามคำร้องขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกาของจำเลยดังกล่าวมิได้ระบุให้ผู้พิพากษาคนใดในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค1เป็นผู้พิจารณารับรองจึงเป็นการไม่ชอบตามมาตรา248วรรคสี่ทั้งอ. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงชื่อรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงมิได้เป็นผู้นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นด้วยคำสั่งรับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย