พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มิอาจกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์มิได้เรียกร้อง
โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระค่าติดตามยึดรถพิพาทและค่าซ่อมรถพิพาทโดยมิได้เรียกร้องเอาค่าขาดประโยชน์ในการที่จำเลยครอบครองรถพิพาทอยู่นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจนถึงวันที่โจทก์ติดตามยึดรถพิพาทคืนมาได้แต่อย่างใดแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์เรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จึงมิได้บรรยายฟ้องขอมาการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าประโยชน์ให้แก่โจทก์เดือนละ50,000บาทเป็นระยะเวลา7เดือนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าและนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องร้องค่าเสียหาย: ศาลมิอาจพิพากษาเกินหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ค่าติดตามยึดรถพิพาทและค่าซ่อมรถพิพาทโดยมิได้เรียกร้องเอาค่าขาดประโยชน์ในการที่จำเลยครอบครองรถพิพาทอยู่นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจนถึงวันที่โจทก์ติดตามยึดรถพิพาทคืนมาได้แต่อย่างใดแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์เรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ จึงมิได้บรรยายฟ้องขอมา การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าประโยชน์ให้แก่โจทก์เดือนละ 50,000 บาท เป็นระยะเวลา 7 เดือน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าและนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล: การแสดงเจตนาของผู้รับประกันภัยและผลบังคับใช้
กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลของบริษัทโจทก์ชื่อผู้เอาประกันภัยคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ชื่อเรือที่ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยคือ ฟาร์ อีสท์ นาวี การเรียกร้องตามกรมธรรม์นี้จะชำระให้ที่กรุงเทพ-มหานคร โดยโจทก์และตอนท้ายของกรมธรรม์ระบุชื่อโจทก์และผู้ที่ลงนามเพื่อและในนามผู้รับประกันภัยคือโจทก์ นอกจากนั้นในแต่ละลายมือชื่อยังระบุตำแหน่งด้วยว่าลายมือชื่อแรก ประธานกรรมการ ลายมือชื่อที่สอง กรรมการผู้จัดการ และลายมือชื่อที่สาม ผู้จัดการทางทะเล จึงเป็นการแสดงออกชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยทางทะเลและออกกรมธรรม์ฉบับดังกล่าว หาใช่กรรมการโจทก์ออกกรมธรรม์และลงนามในฐานะส่วนตัวไม่ การที่มิได้ประทับตราของโจทก์ในกรมธรรม์หาได้ทำให้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏชัดเจนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ และเมื่อโจทก์ได้ยอมรับเอากรมธรรม์ดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์เป็นกรมธรรม์ประกันภัยของโจทก์ผู้รับประกันภัยที่ออกให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยผู้เอาประกันภัย
กฎของเฮก (HAGUE RULES) จะมีอยู่อย่างไรหรือไม่และจะมีผลบังคับแค่ไหนเพียงใด เป็นข้อเท็จจริงที่ฝ่ายกล่าวอ้างจะต้องนำสืบ เมื่อมิได้นำสืบให้ปรากฏรายละเอียด จึงไม่อาจรับฟังได้
กฎของเฮก (HAGUE RULES) จะมีอยู่อย่างไรหรือไม่และจะมีผลบังคับแค่ไหนเพียงใด เป็นข้อเท็จจริงที่ฝ่ายกล่าวอ้างจะต้องนำสืบ เมื่อมิได้นำสืบให้ปรากฏรายละเอียด จึงไม่อาจรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับประกันภัยทางทะเล และผลของกฎเฮกต่อการเรียกร้องค่าเสียหาย
กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลของบริษัทโจทก์ชื่อผู้เอาประกันภัยคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยชื่อเรือที่ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยคือฟาร์อีสท์นาวีการเรียกร้องตามกรมธรรม์นี้จะชำระให้ที่กรุงเทพมหานครโดยโจทก์และตอนท้ายของกรมธรรม์ระบุชื่อโจทก์และผู้ที่ลงนามเพื่อและในนามผู้รับประกันภัยคือโจทก์นอกจากนั้นในแต่ละลายมือชื่อยังระบุตำแหน่งด้วยว่าลายมือชื่อแรกประธานกรรมการลายมือชื่อที่สองกรรมการผู้จัดการและลายมือชื่อที่สามผู้จัดการทางทะเลจึงเป็นการแสดงออกชัดเจนว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยทางทะเลและออกกรมธรรม์ฉบับดังกล่าวหาใช่กรรมการโจทก์ออกกรมธรรม์และลงนามในฐานะส่วนตัวไม่การที่มิได้ประทับตราของโจทก์ในกรมธรรม์หาได้ทำให้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏชัดเจนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่และเมื่อโจทก์ได้ยอมรับเอากรมธรรม์ดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์เป็นกรมธรรม์ประกันภัยของโจทก์ผู้รับประกันภัยที่ออกให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยผู้เอาประกันภัย กฎของเฮก(HAGUERULES) จะมีอยู่อย่างไรหรือไม่และจะมีผลบังคับแค่ไหนเพียงใดเป็นข้อเท็จจริงที่ฝ่ายกล่าวอ้างจะต้องนำสืบเมื่อมิได้นำสืบให้ปรากฏรายละเอียดจึงไม่อาจรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนการใช้ท่าเรือ: ผลผูกพันและเงินชดเชยเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
ก่อนที่จะทำบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง จำเลยเคยมีหนังสือร้องขอโจทก์ หลังจากนั้นมีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหารของโจทก์และจำเลยเพื่อตกลงในรายละเอียด ที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันกับข้อความในร่างบันทึกดังกล่าว และกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม2531 บันทึกดังกล่าวก็ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2531 เช่นเดียวกัน กับมีข้อความเหมือนกับร่างบันทึกดังกล่าวทุกประการ แสดงว่าคู่กรณีต่างมีเจตนาตรงกัน จึงได้ทำความตกลงตามข้อความในบันทึกดังกล่าว บันทึกดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ส่วนการที่มีเพียงจำเลยฝ่ายเดียวลงชื่อในบันทึก หาทำให้ข้อตกลงตามบันทึกใช้บังคับไม่ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขและข้อตกลงในบันทึกเป็นการต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อฝ่ายโจทก์ได้จัดให้จำเลยใช้ท่าเรือดังที่ระบุไว้ในบันทึกแล้ว จำเลยย่อมต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกนั้น แม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกก็ตาม สัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีนี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าทั้งโจทก์จำเลยได้ตกลงกันในสาระสำคัญหมดทุกข้อ ถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้ว หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 ไม่
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง
ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ 144,000 ทีอียู จำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์ โดยคิดเมื่อครบรอบ 1 ปี หรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ 4.3 ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่า ให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 3 วัน และหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ 4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลา 1 ปีที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ 1 ปีแล้วเท่านั้น หาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง
ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ 144,000 ทีอียู จำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์ โดยคิดเมื่อครบรอบ 1 ปี หรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ 4.3 ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่า ให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 3 วัน และหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ 4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลา 1 ปีที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ 1 ปีแล้วเท่านั้น หาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าท่าเรือ: การบังคับใช้สัญญา, สิทธิเรียกค่าชดเชย, และระยะเวลาของสัญญา
ก่อนที่จะทำบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่งจำเลยเคยมีหนังสือร้องขอโจทก์หลังจากนั้นมีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหารของโจทก์และจำเลยเพื่อตกลงในรายละเอียดที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันกับข้อความในร่างบันทึกดังกล่าวและกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่14ตุลาคม2531บันทึกดังกล่าวก็ลงวันที่14ตุลาคม2531เช่นเดียวกันกับมีข้อความเหมือนกับร่างบันทึกดังกล่าวทุกประการแสดงว่าคู่กรณีต่างมีเจตนาตรงกันจึงได้ทำความตกลงตามข้อความในบันทึกดังกล่าวบันทึกดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ส่วนการที่มีเพียงจำเลยฝ่ายเดียวลงชื่อในบันทึกหาทำให้ข้อตกลงตามบันทึกใช้บังคับไม่ได้ไม่เพราะเงื่อนไขและข้อตกลงในบันทึกเป็นการต่างตอบแทนซึ่งกันและกันเมื่อฝ่ายโจทก์ได้จัดให้จำเลยใช้ท่าเรือดังที่ระบุไว้ในบันทึกแล้วจำเลยย่อมต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกนั้นแม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกก็ตามสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีนี้เกิดขึ้นแล้วเพราะเป็นที่แน่ชัดว่าทั้งโจทก์จำเลยได้ตกลงกันในสาระสำคัญหมดทุกข้อถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้วหาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366ไม่ การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลยแต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่วข้อ4.1ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ144,000ทีอียูจำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์โดยคิดเมื่อครบรอบ1ปีหรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ4.3ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่าให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า3วันและหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ส่วนระยะเวลา1ปีที่ระบุไว้ในข้อ4.1เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ1ปีแล้วเท่านั้นหาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียนเอกชน เหตุไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สถานที่และการเช่าที่ดิน
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความในพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ข้อ 6 กำหนดว่า ที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นที่เช่าที่มีลักษณะดังนี้ คือ ถ้าเป็นที่ดินของเอกชนต้องมีสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลาเช่าเหลืออยู่นับแต่วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่าสิบปีและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา พ.ศ.2528 ข้อ 5 (1)ระบุว่าที่ดินของโรงเรียนต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 3,200ตารางเมตร หรือ 2 ไร่ และมีบทเฉพาะกาล ข้อ 16 ระบุว่าโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาอยู่แล้วก่อนวันใช้ระเบียบนี้ เกี่ยวกับสถานที่และอาคาร ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 5 (1) ถ้าโรงเรียนใดได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่แล้วให้ใช้ต่อไปได้ แต่ถ้าจะขอจัดตั้งใหม่หรือขอเปลี่ยนแปลงจะต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เห็นได้ว่าแม้ขณะที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนของโจทก์จะมีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวก็ตามแต่ต่อมาปรากฏว่าที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายเจ้าของมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และเจ้าของที่ดินที่อาคารของโรงเรียนตั้งอยู่ไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินต่อไป ทั้งไม่ยินยอมให้โจทก์เช่าที่ดินดังกล่าวด้วยดังนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนมิใช่เจ้าของที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียน ทั้งโจทก์ก็มิได้มีสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากเจ้าของที่ดิน ย่อมขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.ดังกล่าวข้อ 6 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 55 บัญญัติว่า ในกรณีที่สถานที่หรือบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนมีสภาพขัดต่อหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 18 ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขสภาพเช่นว่านั้น เมื่อเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาเอกชนได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ดำเนินการให้ถูกต้องแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงได้มีการออกคำสั่งให้หยุดทำการสอนชั่วคราวและเพิกถอนใบอนุญาตในเวลาต่อมา ฉะนั้นไม่ว่าโจทก์จะได้รับประโยชน์จากบทเฉพาะกาลของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังที่อ้างหรือไม่ ก็ไม่ทำให้กรณีของโจทก์ถูกต้องตามเงื่อนไขในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 แต่อย่างใด กรณีต้องด้วยมาตรา 85 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่บัญญัติให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนตามมาตรา 18 ได้ เมื่อปรากฏว่า ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.นี้ หรือกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ.นี้ และทำให้เกิดผลเสียหายกล่าวคือ เมื่อเจ้าของที่ดินที่อาคารเรียนตั้งอยู่ไม่ยินยอมให้ใช้ที่ดินต่อไป การเปิดการเรียนการสอนในอาคารดังกล่าวย่อมไม่อาจกระทำได้ต่อไป ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เด็กนักเรียนและครูผู้สอน คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับระดับประถมศึกษาจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียน: สถานที่ตั้งไม่เป็นไปตามกฎหมาย และเจ้าของที่ดินไม่ยินยอม
ตามกฎกระทรวงฉบับที่2(พ.ศ.2529)ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525ข้อ6กำหนดว่าที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนหรือเป็นที่เช่าที่มีลักษณะดังนี้คือถ้าเป็นที่ดินของเอกชนต้องมีสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลาเช่าเหลืออยู่นับแต่วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่าสิบปีและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาพ.ศ.2528ข้อ5(1)ระบุว่าที่ดินของโรงเรียนต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกันมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า2ไร่และมีบทเฉพาะกาลข้อ16ระบุว่าโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาอยู่แล้วก่อนวันใช้ระเบียบนี้เกี่ยวกับสถานที่และอาคารซึ่งกำหนดไว้ในข้อ5(1)ถ้าโรงเรียนใดได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่แล้วให้ใช้ต่อไปได้แต่ถ้าจะขอจัดตั้งใหม่หรือขอเปลี่ยนแปลงจะต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ดังนั้นขณะที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาแม้โรงเรียนของโจทก์จะมีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องก็ตามแต่ต่อมาที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายเจ้าของและเจ้าของที่ดินที่อาคารของโรงเรียนตั้งอยู่ไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินต่อไปดังนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนมิใช่เจ้าของที่ดินที่ใช้ตั้งโรงเรียนทั้งโจทก์ก็มิได้มีสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากเจ้าของที่ดินย่อมขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่2ข้อ6ซึ่งตามพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525มาตรา55บัญญัติว่าในกรณีที่สถานที่หรือบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนมีสภาพขัดต่อหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา18ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขสภาพเช่นว่านั้นเมื่อจำเลยที่2ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ดำเนินการให้ถูกต้องแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงได้มีการออกคำสั่งให้หยุดทำการสอนชั่วคราวและเพิกถอนใบอนุญาตในเวลาต่อมาฉะนั้นไม่ว่าโจทก์จะได้รับประโยชน์จากบทเฉพาะกาลของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังที่อ้างหรือไม่ก็ไม่ทำให้กรณีของโจทก์ถูกต้องตามเงื่อนไขในกฎกระทรวงฉบับที่2แต่อย่างใดกรณีต้องด้วยมาตรา85(3)แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525ที่บัญญัติให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนตามมาตรา18ได้คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับระดับประถมศึกษาจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียนชอบด้วยกฎหมายเมื่อสถานที่ตั้งไม่เป็นไปตามเงื่อนไข และเจ้าของที่ดินไม่อนุญาตใช้พื้นที่
ขณะที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาโรงเรียนของโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา พ.ศ. 2528 แต่ต่อมาที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนถูกแบ่งแยกออกไป มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และเจ้าของที่ดินไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินต่อไปจึงมีสภาพขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 55ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขสภาพเช่นว่านั้น เมื่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจำเลยซึ่งเป็นผู้อนุญาต ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม และทำให้เป็นที่เดือดร้อนแก่นักเรียนและครูผู้สอน กรณีต้องด้วยมาตรา 85(3) ที่ให้อำนาจจำเลยสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4548/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญาฐานยักยอกและการระงับการฟ้องร้อง
เอกสารที่อ.ผู้เสียหายทำให้จำเลย มีข้อความระบุว่าอ.รับรองว่าอ.ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยแล้วและไม่ติดใจเอาความต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยได้ตกลงยอมความกันแล้ว เมื่อความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)