คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุประดิษฐ์ หุตะสิงห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองและการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้: สัญญาจำนองผูกนิติสัมพันธ์โดยตรงหลังเปลี่ยนเจ้าหนี้
เดิมจำเลยร่วมกู้ยืมเงินจากธนาคารแทนโจทก์โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาจำเลยร่วมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแทนโจทก์แต่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยร่วม จำเลยร่วมตกลงโอนหนี้ให้แก่จำเลยโจทก์ตกลงด้วยและจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวด้วยใจสมัครเพื่อประกันหนี้จำเลยที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้เป็นการตกลงทำสัญญาจำนองผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยตรง โดยโจทก์ยินยอมให้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยก่อนแล้ว การทำสัญญาจำนองจึงไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งจะต้องมีการทำเป็นหนังสือแยกต่างหาก
(วินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2535)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้และการทำสัญญาจำนองโดยตรง ไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้อง
เดิมจำเลยร่วมกู้ยืมเงินจากธนาคาร ก. แทนโจทก์ต่อมาจำเลยร่วมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแทนโจทก์แต่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยร่วมแล้วจำเลยร่วมได้โอนหนี้ดังกล่าวให้แก่จำเลยโจทก์ตกลงด้วยและจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้แก่จำเลยดังนี้เป็นการตกลงทำสัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยตรงโดยโจทก์ยินยอมให้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยก่อนแล้วการทำสัญญาจำนองจึงไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยร่วมกับจำเลยที่ต้องมีการทำเป็นหนังสือต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการเป็นตัวแทนติดต่อซื้อขายสินค้าต่างประเทศ
การที่โจทก์แนะนำบริษัท ม.ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศให้แก่บริษัท ท.ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทย ได้มีการติดต่อผ่านโจทก์จนทำการซื้อขายสินค้ากัน แม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์จะทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศโดยตรง โดยโจทก์มิได้มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้าก็ตาม แต่การที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้ก็เนื่องมาจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกัน จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบรายการและเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร โจทก์เป็นเพียงผู้แทนทำการติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทต่างประเทศ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร หากแต่ลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้ติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทย ตามมาตรา 70 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีของตัวแทนขายสินค้าต่างประเทศ: ภาษีเงินได้และภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ
การที่โจทก์แนะนำบริษัทม.เป็นบริษัทต่างประเทศให้แก่บริษัทท. ซึ่งเป็นลูกค้าโจทก์ในประเทศไทยจนมีการซื้อขายสินค้ากันแม้บริษัทท. จะทำสัญญาซื้อขายและชำระราคาให้แก่บริษัทม.โดยตรงโดยโจทก์มิได้มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้าก็ตามแต่เนื่องมาจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วยโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา70ทวินั้นผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้นต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรโจทก์เป็นเพียงผู้แทนทำการติดต่อลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทต่างประเทศไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสาขาบริษัทต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรแต่อย่างไรแม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้าถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยจึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา70ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการเป็นตัวแทนติดต่อซื้อขายสินค้าต่างประเทศ และการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ
การที่โจทก์แนะนำบริษัทม.ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศให้แก่บริษัทท.ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้มีการติดต่อผ่านโจทก์จนทำการซื้อขายสินค้ากันแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์จะทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์มิได้มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้าก็ตามแต่การที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้ก็เนื่องมาจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศเมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วยโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา70ทวิผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้นต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรโจทก์เป็นเพียงผู้แทนทำการติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทต่างประเทศเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหากแต่ลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้ติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรงแม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์ก็มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา70ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้ในประเทศไทย แม้มีข้อตกลงฟ้องคดีที่ต่างประเทศ หากขัดต่อกฎหมายไทย
คดีนี้เป็นคดีหนี้เหนือบุคคลจำเลยทั้งสองต่างมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในประเทศไทยคือศาลแพ่งส่วนข้อตกลงในใบตราส่งระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ นั้นแม้สิทธิตามใบตราส่งดังกล่าวจะตกได้แก่ผู้รับตราส่งแล้วและโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่งก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิม(มาตรา4(1)ที่แก้ไขใหม่)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งข้อตกลงนั้นก็มิได้เป็นไปตามที่มาตรา7(4)เดิมบัญญัติไว้อีกด้วยกล่าวคือศาลในกรุงลอนดอนมิใช่ศาลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือศาลที่มูลคดีของเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใดข้อตกลงนั้นจึงไม่อาจใช้บังคับได้โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่1ต่อศาลในประเทศไทยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเลือกศาลต่างประเทศขัดต่อกฎหมายไทยเมื่อฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคลในไทย
ข้อตกลงใน ใบตราส่งระหว่าง ผู้ส่งและ ผู้ขนส่งที่ให้ ฟ้องคดีที่ศาลใน กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษนั้นเมื่อคดีเป็นหนี้เหนือบุคคล ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิม(มาตรา4(1)ที่แก้ไขใหม่)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงนั้นจึงไม่อาจใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคล: ข้อตกลงเลือกศาลต่างประเทศขัดต่อกฎหมายไทย
ความรับผิดของจำเลยอันเนื่องมาจากสัญญารับขนสินค้าทางทะเลเป็นหนี้เหนือบุคคล เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลในประเทศไทยคือศาลแพ่งได้ ข้อตกลงในใบตราส่งระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่อาจใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ข้อตกลงเลือกทำสัญญาในต่างประเทศขัดต่อกฎหมายไทย (ป.วิ.พ.มาตรา 4)
คดีนี้เป็นคดีหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งสองต่างมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในประเทศไทยคือศาลแพ่งส่วนข้อตกลงในใบตราส่งระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษนั้น แม้สิทธิตามใบตราส่งดังกล่าวจะตกได้แก่ผู้รับตราส่งแล้วและโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่งก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 4(2) เดิม (มาตรา 4 (1) ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งข้อตกลงนั้นก็มิได้เป็นไปตามที่มาตรา 7 (4) เดิม บัญญัติไว้อีกด้วย กล่าวคือศาลในกรุงลอนดอนมิใช่ศาลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต หรือศาลที่มูลคดีของเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด ข้อตกลงนั้นจึงไม่อาจใช้บังคับได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลในประเทศไทยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ต้องอยู่ในอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษให้ถูกต้องได้
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ต้องระวางโทษประหารชีวิตจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา288จำคุก10ปีลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78คงจำคุก6ปี4เดือนจึงเป็นการลงโทษที่ผิดพลาดต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขโดยกำหนดโทษจำเลยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
of 45