พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8444/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีทรัพย์มรดก: การคิดมูลค่าคดีตามส่วนแบ่ง และข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
โจทก์ทั้งห้าฟ้องว่าที่ดินพิพาทราคา 200,000 บาท เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตกได้แก่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยคนละส่วน ขอให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าตามส่วนและขอให้แบ่งค่าเช่าที่ดินพิพาทจำนวน 1,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งห้าด้วย จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกแต่เป็นทรัพย์ที่ผู้ตายยกให้แก่จำเลยตั้งแต่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ต้องคิดตามส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนจะได้รับแยกต่างหากจากกัน ไม่ใช่ถือราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องรวมกันมา เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ตายยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดก โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8444/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์ต้องคิดตามส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคน หากไม่เกิน 50,000 บาท จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งห้าฟ้องว่าที่ดินพิพาทราคา 200,000 บาท เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตกได้แก่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยคนละส่วนขอให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าตามส่วนและขอให้แบ่งค่าเช่าที่ดินพิพาทจำนวน 1,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งห้าด้วยจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกแต่เป็นทรัพย์ที่ผู้ตายยกให้แก่จำเลยตั้งแต่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ต้องคิดตามส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนจะได้รับแยกต่างหากจากกัน ไม่ใช่ถือราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องรวมกันมา เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ตายยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดก โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8418/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอำนาจฟ้องสัญญาซื้อขาย: ผู้ลงนามสัญญาต้องมีอำนาจแทนคู่สัญญา มิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะ
ว. มิได้มีรายชื่อเป็นกรรมการของโจทก์ ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ขายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างในหนังสือสัญญาซื้อขายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง และประทับตราสำคัญของโจทก์ในช่องผู้ขายแทนโจทก์เพียงผู้เดียว โดยไม่ปรากฏว่าว. มีสิทธิหรืออำนาจอันใดที่จะลงลายมือชื่อในสัญญาฉบับนั้นแทนโจทก์ได้ จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิและโดยปราศจากอำนาจ โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญาของจำเลยแม้โจทก์จะนำสืบว่า โจทก์ได้ส่งมอบวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างงวดที่ 2 และงวดที่ 3ให้แก่จำเลย และจำเลยได้รับสินค้าแล้วตามเอกสารหมาย จ.6 และ จ.7 โดยป. ลงลายมือชื่อในช่องผู้ขาย/ผู้ส่งมอบวัสดุแทนโจทก์ เมื่อปรากฏว่า ป. เป็นพนักงานของบริษัทอื่น มิได้เป็นกรรมการหรือพนักงานของโจทก์ ป. จึงไม่มีสิทธิทั้งไม่ใช่ผู้มีอำนาจที่จะขายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญาของจำเลยในการซื้อขายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างตามเอกสารหมาย จ.6 และ จ.7เช่นกัน โจทก์ไม่มีสิทธิกล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องไว้ แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และปัญหานี้เกิดจากข้อเท็จจริงตามเอกสารที่โจทก์อ้างมา จึงเป็นข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8418/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีซื้อขายวัสดุก่อสร้าง: การกระทำโดยไม่ได้รับมอบอำนาจทำให้โจทก์ไม่ใช่คู่สัญญา
ว. มิได้มีรายชื่อเป็นกรรมการของโจทก์ ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ขายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างในหนังสือสัญญาซื้อขายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง และประทับตราสำคัญของโจทก์ในช่องผู้ขายแทนโจทก์เพียงผู้เดียว โดยไม่ปรากฏว่า ว. มีสิทธิหรืออำนาจอันใดที่จะลงลายมือชื่อในสัญญาฉบับนั้นแทนโจทก์ได้ จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิและโดยปราศจากอำนาจ โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญาของจำเลยแม้โจทก์จะนำสืบว่า โจทก์ได้ส่งมอบวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ให้แก่จำเลย และจำเลยได้รับสินค้าแล้วตามเอกสารหมาย จ.6 และ จ.7 โดย ป. ลงลายมือชื่อในช่องผู้ขายผู้ส่งมอบวัสดุแทนโจทก์ เมื่อปรากฏว่าป.เป็นพนักงานของบริษัทอื่น มิได้เป็นกรรมการหรือพนักงานของโจทก์ ป.จึงไม่มีสิทธิทั้งไม่ใช่ผู้มีอำนาจที่จะขายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญาของจำเลยในการซื้อขายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างตามเอกสารหมาย จ.6 และ จ.7เช่นกัน โจทก์ไม่มีสิทธิกล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องไว้ แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และปัญหานี้เกิดจากข้อเท็จจริงตามเอกสารที่โจทก์อ้างมา จึงเป็นข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมาย: ข้อบัญญัติควบคุมอาคารและการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย
ด้านหน้าอาคารพิพาทมิได้ร่นแนวอาคาร และด้านหลังอาคารพิพาทมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 72 วรรคสาม และข้อ 76 (1) และ(4) ตามลำดับ ซึ่งโดยสภาพเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ส่วนชั้นลอยที่ต่อเติมจากแบบแปลนซึ่งตามแบบแปลนชั้นลอยอยู่ช่วงหลังของอาคารระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นสองของอาคารถูกต่อเติมพื้นจนจดด้านหน้าของอาคารมีลักษณะเป็นการเพิ่มชั้นของอาคารขึ้นอีกหนึ่งชั้นมีเนื้อเกินกว่าร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้อง ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 35 วรรคท้าย ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของอาคารพิพาทรื้อถอนอาคารทั้งสามส่วนดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง (เดิม)และมีอำนาจร้องขอให้ศาลบังคับให้มีการรื้อถอนตาม มาตรา 42 วรรคสาม (เดิม)
สำหรับชั้นดาดฟ้าซึ่งถูกก่อสร้างต่อเติมผิดไปจากแบบแปลน ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 30 (1) นั้น เป็นกรณีที่อาจขออนุญาตได้ โจทก์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง (เดิม)คือสั่งให้จำเลยที่ 3 แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้านั้นให้ถูกต้องเสียก่อน หากจำเลยที่ 3ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้าให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงจะมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 รื้อถอนชั้นดาดฟ้าที่ก่อสร้างไม่ถูกตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม (เดิม) เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตาม มาตรา 43 (เดิม)จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนส่วนนี้
สำหรับชั้นดาดฟ้าซึ่งถูกก่อสร้างต่อเติมผิดไปจากแบบแปลน ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 30 (1) นั้น เป็นกรณีที่อาจขออนุญาตได้ โจทก์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง (เดิม)คือสั่งให้จำเลยที่ 3 แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้านั้นให้ถูกต้องเสียก่อน หากจำเลยที่ 3ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้าให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงจะมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 รื้อถอนชั้นดาดฟ้าที่ก่อสร้างไม่ถูกตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม (เดิม) เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตาม มาตรา 43 (เดิม)จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบ และอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ด้านหน้าอาคารพิพาทมิได้ร่นแนวอาคาร และด้านหลังอาคารพิพาทมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 72 วรรคสาม และข้อ 76(1) และ (4) ตามลำดับซึ่งโดยสภาพเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ส่วนชั้นลอยที่ต่อเติมจากแบบแปลนซึ่งตามแบบแปลนชั้นลอยอยู่ช่วงหลังของอาคารระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นสองของอาคารถูกต่อเติมพื้นจนจดด้านหน้าของอาคารมีลักษณะเป็นการเพิ่มขึ้นของอาคารขึ้นอีกหนึ่งชั้นมีเนื้อเกินกว่าร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้อง ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 35 วรรคท้าย ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของอาคารพิพาทรื้อถอนอาคารทั้งสามส่วนดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมีอำนาจร้องขอให้ศาลบังคับให้มีการรื้อถอนตาม มาตรา 42 วรรคสาม (เดิม) สำหรับชั้นดาดฟ้าซึ่งถูกก่อสร้างต่อเติมผิดไปจากแบบแปลนซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 30(1) นั้น เป็นกรณีที่อาจขออนุญาตได้ โจทก์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง (เดิม) คือสั่งให้จำเลยที่ 3 แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้านั้นให้ถูกต้องเสียก่อนหากจำเลยที่ 3 ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้าให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงจะมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3รื้อถอนชั้นดาดฟ้าที่ก่อสร้างไม่ถูกตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม (เดิม) เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตาม มาตรา 43(เดิม) จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8313/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารในการหักเงินจากบัญชีร้านค้าเมื่อได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินจากมาสเตอร์การ์ด
ตามบันทึกข้อตกลงข้อ 9 ระบุว่า ในกรณีที่ธนาคาร (จำเลย)ได้รับเซลส์สลิปและนำเงินเข้าบัญชีของร้านค้า (โจทก์) แล้ว ปรากฏในภายหลังว่าร้านค้าปฏิบัติผิดไปจากข้อตกลง... หรือกรณีอื่นใดอันเป็นผลให้ธนาคารได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินจากสมาชิก... ร้านค้าจะต้องคืนเงินเท่ากับจำนวนที่ธนาคารได้รับปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าวให้กับธนาคารพร้อมทั้งยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์คิดจากผู้กู้ยืม...โดยให้ธนาคารหักเงินดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดจากบัญชีเดินสะพัดตามที่ระบุไว้...เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ เนื่องจากมีผู้นำมาสเตอร์การ์ดที่ออกโดยธนาคารในต่างประเทศซึ่งเป็นสมาชิกมาสเตอร์การ์ดระหว่างประเทศมาซื้อสินค้าจากโจทก์ตามข้อตกลง ครั้นเมื่อจำเลยเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกมาสเตอรการ์ดแล้วได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงิน กรณีจึงต้องด้วยข้อตกลงที่ว่า กรณีอื่นใดอันเป็นผลให้จำเลยได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินตามบันทึกข้อตกลงข้อ 9 จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินออกจากบัญขีของโจทก์ได้ตามข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัด เริ่มนับเมื่อสัญญาสิ้นสุด ไม่ใช่เมื่อบอกเลิก
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์แล้วได้เบิกเงินเกินบัญชีจนครบกำหนดสัญญาโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมา แสดงว่ามิได้มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกเลย การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญา ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นหาได้มีเจตนาจะเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ต่อไปไม่ ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนากันไว้เช่นนั้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี หาใช่เลิกกันนับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาในวันที่ 6 มีนาคม 2534อายุความในคดีนี้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2520 อันเป็นวันหลังจากครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี แม้ว่าการที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายในวันที่ 15 ธันวาคม 2523 จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14 (1) ที่แก้ไขใหม่) อันมีผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้น ย่อมไม่นับเข้าในอายุความ ตามมาตรา 181 วรรคแรก เดิม(มาตรา 193/15 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2523 ตามมาตรา 181 วรรคสอง เดิม (มาตรา 193/15วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เริ่มนับเมื่อสัญญาหมดอายุ ไม่ใช่เมื่อบอกเลิกสัญญา
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์แล้วได้เบิกเงินเกินบัญชีจนครบกำหนดสัญญาโดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมา แสดงว่ามิได้มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกเลย การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญา ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นหาได้มีเจตนาจะเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ต่อไปไม่ ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ได้แสดงเจตนากันไว้เช่นนั้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหาใช่เลิกกันนับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาในวันที่ 6มีนาคม 2534 อายุความในคดีนี้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11ธันวาคม 2520 อันเป็นวันหลังจากครบกำหนดตามสัญญากู้เงินเกินบัญชี แม้ว่าการที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายในวันที่ 15 ธันวาคม 2523 จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม(มาตรา 193/14(1) ที่แก้ไขใหม่) อันมีผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้น ย่อมไม่นับเข้าในอายุความ ตามมาตรา 181วรรคแรก เดิม (มาตรา 193/15 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2523 ตามมาตรา 181 วรรคสอง เดิม (มาตรา 193/15 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2535ซึ่งเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสถานะนิติบุคคลของโจทก์โดยจำเลย ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องดำเนินคดีได้
ปัญหาว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลหรือไม่เป็นข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่เป็นนิติบุคคล เท่ากับจำเลยทั้งสองยอมรับว่าโจทก์เป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบในปัญหานี้และโจทก์มีสิทธิดำเนินคดีทางศาลได้