พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, สัญญาว่าจ้าง, การมอบอำนาจ, และความรับผิดร่วมกันของจำเลย
ปัญหาว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงจำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลเท่ากับจำเลยทั้งสองยอมรับว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลโจทก์จึงไม่ต้องนำสืบในปัญหานี้และโจทก์มีสิทธิดำเนินคดีทางศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8192/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินที่โอนโดยสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ได้ แม้ชื่อในโฉนดไม่ใช่ลูกหนี้
ทรัพย์ที่โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีเป็นที่ดินมีโฉนดเมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นที่ดินของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาแต่จำเลยได้จดทะเบียนโอนให้แก่บุตรของจำเลยโดยสมยอมทำให้โจทก์เสียเปรียบและโจทก์ยืนยันให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินรายนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดที่ดินดังกล่าวการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดการเพื่อมิให้ตนต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา283วรรคสามตอนท้ายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วเพียงมีผลทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีความรับผิดในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกจากการยึดและขายทรัพย์สินโดยมิชอบความรับผิดย่อมตกอยู่แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นตามมาตรา284วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7975/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจจำหน่ายคดี
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ในรูปคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง แต่อุทธรณ์ของผู้ร้องเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีและยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคหนึ่งและตาราง 1(2)(ก) ในอัตรา 200 บาท แต่ผู้ร้องเสียเป็นค่าคำร้อง 40 บาท เท่านั้นจึงไม่ถึงต้อง ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากผู้ร้องเพิ่มเติม ผู้ร้องทราบคำสั่งแล้วไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระภายในระยะเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ ถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีอันเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม มาตรา 132(1) แต่ศาลอุทธรณ์กลับวินิจฉัยว่าการที่ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มเติมจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องเช่นนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากทำร้ายร่างกายสาหัสเป็นความผิดฐานประทุษร้ายต่อร่างกายจากเหตุชุลมุน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายเนื่องจากมีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 299 ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อกล่าวหาต่างจากฟ้องชุลมุนต่อสู้ลงโทษไม่ได้ตามวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัสขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297แต่ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายเนื่องจากมีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา299ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7922/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวมตามการครอบครองเป็นส่วนสัดและการตกลงร่วมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินซึ่งโจทก์กับจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยต่างแบ่งการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดมาเป็นเวลากว่า10 ปีแล้ว โจทก์ขอแบ่งแยกที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครองแปลงหมายเลข 1 ทางด้านทิศตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา ดังนี้คำฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรคสอง ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า ที่ดินพิพาททั้งสี่ด้านมีความกว้างและยาวเท่าใดและโจทก์เริ่มครอบครองตั้งแต่เมื่อใดนั้น เป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์จำเลยได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินและลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันและต่อมาได้ร่วมลงทุนปลูกบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อทำร้านค้า แต่ในปีเดียวกันนั้นได้เลิกกิจการค้าไป ตกลงกันว่า สินค้าและเครื่องมือในร้านเป็นของจำเลยบ้านและร้านค้าเป็นของโจทก์ ที่ดินให้แบ่งกันโดยส่วนของโจทก์อยู่ทางด้านทิศตะวันออกตรงที่ปลูกบ้าน ที่ดินที่เหลือเป็นของจำเลย สำหรับหนี้สินที่มีต่อธนาคารให้จำเลยรับผิด 20,000 บาท จำนวนเงินที่เหลือโจทก์เป็นผู้รับผิด หลังจากนั้นโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดของตนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจแบ่งแยกที่ดินในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเพื่อไปขอออกโฉนดที่ดินส่วนของตนได้
โจทก์จำเลยได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินและลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันและต่อมาได้ร่วมลงทุนปลูกบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อทำร้านค้า แต่ในปีเดียวกันนั้นได้เลิกกิจการค้าไป ตกลงกันว่า สินค้าและเครื่องมือในร้านเป็นของจำเลยบ้านและร้านค้าเป็นของโจทก์ ที่ดินให้แบ่งกันโดยส่วนของโจทก์อยู่ทางด้านทิศตะวันออกตรงที่ปลูกบ้าน ที่ดินที่เหลือเป็นของจำเลย สำหรับหนี้สินที่มีต่อธนาคารให้จำเลยรับผิด 20,000 บาท จำนวนเงินที่เหลือโจทก์เป็นผู้รับผิด หลังจากนั้นโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดของตนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจแบ่งแยกที่ดินในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเพื่อไปขอออกโฉนดที่ดินส่วนของตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7922/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม การครอบครองปรปักษ์ และการพิพากษาตามแผนที่พิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินซึ่งโจทก์กับจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยต่างแบ่งการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดมาเป็นเวลากว่า10ปีแล้วโจทก์ขอแบ่งแยกที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครองแปลงหมายเลข1ทางด้านทิศตะวันออกมีเนื้อที่ประมาณ1ไร่3งาน10ตารางวาดังนี้คำฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาททั้งสี่ด้านมีความกว้างและยาวเท่าใดและโจทก์เริ่มครอบครองตั้งแต่เมื่อใดนั้นเป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์จำเลยได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินและลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันและต่อมาได้ร่วมลงทุนปลูกบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อทำร้านค้าแต่ในปีเดียวกันนั้นได้เลิกกิจการค้าไปตกลงกันว่าสินค้าและเครื่องมือในร้านเป็นของจำเลยบ้านและร้านค้าเป็นของโจทก์ที่ดินให้แบ่งกันโดยส่วนของโจทก์อยู่ทางด้านทิศตะวันออกตรงที่ปลูกบ้านที่ดินที่เหลือเป็นของจำเลยสำหรับหนี้สินที่มีต่อธนาคารให้จำเลยรับผิด20,000บาทจำนวนเงินที่เหลือโจทก์เป็นผู้รับผิดหลังจากนั้นโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดของตนแล้วโจทก์จึงมีอำนาจแบ่งแยกที่ดินในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเพื่อไปขอออกโฉนดที่ดินส่วนของตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7751/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางแพ่ง: การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูคนละช่วงเวลาไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีนี้และคดีก่อนมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับเดียวกันว่าจำเลยผิดสัญญาในการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์หรือไม่แต่การวินิจฉัยประเด็นแห่งมูลหนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในคดีนี้แตกต่างจากคดีก่อนเพราะเป็นหนี้คนละคราวกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเรียกร้องมาในคดีก่อนได้เนื่องจากหนี้ดังกล่าวยังไม่ถึงกำหนดฉะนั้นประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่จ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูประจำเดือนมีนาคม2528ถึงเดือนกรกฎาคม2534และต้องจ่ายในอนาคตต่อไปหรือไม่จึงยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7639/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ศาลมีดุลยพินิจกำหนดค่าขาดประโยชน์และปรับลดค่าเสียหายตามสัญญาได้
การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์เป็นเวลา1ปีนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนนั้นการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดได้เพราะมิฉะนั้นค่าขาดประโยชน์อาจเกินราคารถยนต์ที่เช่าซื้อประกอบกับต้องคำนึงว่าการใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อจะใช้ไปได้นานอีกเท่าไรจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอ ข้อความในสัญญาเช่าซื้อข้อ8ที่ระบุว่าในกรณีที่สัญญานี้ต้องสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือเพราะประพฤติผิดสัญญาเช่าซื้อข้อใดก็ดีผู้เช่าซื้อจำต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมดข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าอันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา574วรรคแรกแต่มาตราดังกล่าวมิใช่กฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ8มิได้เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7639/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการเช่าซื้อผิดสัญญา: ดุลพินิจศาลและเบี้ยปรับล่วงหน้า
การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์เป็นเวลา 1 ปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนนั้น การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดได้ เพราะมิฉะนั้นค่าขาดประโยชน์อาจเกินราคารถยนต์ที่เช่าซื้อ ประกอบกับต้องคำนึงว่าการใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อจะใช้ไปได้นานอีกเท่าไร จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอ
ข้อความในสัญญาเช่าซื้อข้อ 8 ที่ระบุว่า ในกรณีที่สัญญานี้ต้องสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือเพราะประพฤติผิดสัญญาเช่าซื้อข้อใดก็ดี ผู้เช่าซื้อจำต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมด ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าอันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตามป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก แต่มาตราดังกล่าวมิใช่กฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 8มิได้เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้
ข้อความในสัญญาเช่าซื้อข้อ 8 ที่ระบุว่า ในกรณีที่สัญญานี้ต้องสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือเพราะประพฤติผิดสัญญาเช่าซื้อข้อใดก็ดี ผู้เช่าซื้อจำต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมด ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าอันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตามป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก แต่มาตราดังกล่าวมิใช่กฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 8มิได้เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้