พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7253/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิข้างเคียงต้องพิสูจน์ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร การปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติไม่ใช่ละเมิดเสมอไป
ไม่ว่าอาคารพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างจะผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม หากไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง หาใช่ว่าถ้าจำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ที่เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงเสมอไป
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7253/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิข้างเคียงต้องพิสูจน์ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร แม้ผิดเทศบัญญัติก็ไม่ถือเป็นการละเมิดโดยอัตโนมัติ
ไม่ว่าอาคารพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างจะผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม หากไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง หาใช่ว่าถ้าจำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ที่เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงเสมอไป
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7253/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิข้างเคียง: อาคารบังลม/เศษขยะ ต้องเสียหายเดือดร้อนเกินควร จึงถือเป็นการละเมิด
ไม่ว่าอาคารพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างจะผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตามหากไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง หาใช่ว่าถ้าจำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ที่เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงเสมอไป
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามป.พ.พ.มาตรา 1337
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามป.พ.พ.มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6400/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายผ้า, อายุความ, การร่วมรับผิดของหุ้นส่วน, และการหักหนี้
อุทธรณ์ของโจทก์มีใจความว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 1,889,967.75 บาท แล้ว จึงฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำนวนนี้จริงจะนำข้อต่อสู้เรื่องอายุความมาตัดทอนจำนวนหนี้ที่รับกันหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นหักค่าผ้าเป็นเงิน 198,864.80 บาท ออกจากจำนวนหนี้ที่รับฟังเป็นยุติแล้ว จึงคลาดเคลื่อนต่อกฎหมายและการซื้อขายผ้าตามฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ชำระเป็นเงินสดแสดงว่าเป็นการซื้อขายระบบสินเชื่อมีระยะเวลา 90 วัน ตามที่โจทก์นำสืบ เช่นนี้ถือได้ว่า โจทก์ได้อุทธรณ์เรื่องอายุความ เกี่ยวกับสินค้าที่โจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว การซื้อขายผ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องชำระราคาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับผ้า โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาผ้านับแต่วันส่งมอบผ้า โจทก์ส่งผ้าตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2528โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 30 เมษายน 2530 ค่าผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 รวม 2 รายการเป็นเงิน 198,864.80 บาท จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในยอดหนี้จำนวนดังกล่าว การหักกลบลบหนี้เป็นเรื่องบุคคลสองฝ่ายต่างมีความผูกพันเป็นหนี้กัน และหนี้ซึ่งผูกพันกันอยู่อันจะเกิดการหักกลบลบหนี้กันได้นี้ต้องเป็นหนี้สองรายหรือต่างรายกัน แต่ความรับผิดของจำเลยที่จะต้องชำระราคาผ้ากับความรับผิดของโจทก์ใน การรับคืนผ้าที่ขายเพราะเหตุชำรุดบกพร่องนี้เกิดจากสัญญาซื้อขายผ้ารายเดียวกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้น การหักราคาผ้าที่โจทก์รับคืนเพราะเหตุชำรุดบกพร่องออกจากราคาผ้าที่โจทก์ขายไป จึงไม่ใช่ เรื่องหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 นับตั้งแต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำการค้าระหว่างกันจนกระทั่งฟ้องร้องคดีนี้ไม่เคยมีการหักทอนบัญชีแต่อย่างใดเนื่องจากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับตัวเลขแสดงว่ามิได้มีการตกลงกำหนดเวลาให้มีการหักทอนบัญชีในกิจการค้าระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสาระสำคัญข้อหนึ่งเกี่ยวกับสัญญา บัญชีเดินสะพัด แม้กฎหมายจะไม่บังคับว่าการจดแจ้งทางบัญชี จะต้องทำอย่างไรและจะต้องถูกต้องตามหลักการทำบัญชีก็ตาม แต่พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ปฏิบัติต่อกันดังที่ นำสืบมานั้นเป็นเรื่องซื้อขายผ้ากันธรรมดา ถือไม่ได้ว่า กิจการค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เข้าลักษณะเป็น สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 จำเลยทั้งสี่ฎีกาอ้างว่าผ้าที่โจทก์ต้องรับคืนตามฟ้องแย้ง ไม่ใช่ผ้าชำรุดบกพร่อง หากแต่เป็นผ้าที่ไม่อาจใช้งานของ จำเลยที่ 1 ได้ แต่นำไปใช้งานอย่างอื่นได้ กรณีไม่ใช่เป็น การเรียกเอาค่าสินค้าที่เกิดจากความชำรุดบกพร่อง ฟ้องแย้ง จึงไม่ขาดอายุความนั้น ข้ออ้างตามฎีกาจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ขัดกับคำให้การและฟ้องแย้งที่ว่า ผ้าที่โจทก์ส่งแก่จำเลย ที่ 1 หากเกิดชำรุดบกพร่องโดยการทอก็ดี การฟอกย้อมก็ดี และหรือเหตุอื่นใดก็ดี เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจ ใช้ประโยชน์ตามมุ่งหมายแห่งสัญญา โจทก์ยอมรับคืน ซึ่งหมายความ ว่าหากผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 มีลักษณะดังกล่าว ข้างต้น แม้จะสามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นได้ก็ให้ถือว่า เป็นผ้าที่ชำรุดบกพร่องในการที่โจทก์จะต้องรับคืนจากจำเลย ที่ 1 นั่นเอง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ได้บัญญัติในเหตุที่ว่านี้ให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ พบเห็นความบกพร่อง เมื่อปรากฎว่าโจทก์ส่งผ้าให้แก่ จำเลยที่ 1 ปี 2528 จึงเชื่อว่าฝ่ายจำเลยย่อมจะพบเห็น ความชำรุดบกพร่องของผ้าดังกล่าวตั้งแต่ปีดังกล่าวแล้วการที่จำเลยทั้งสี่มาฟ้องแย้งโจทก์ในปี 2530 จึงเกิน 1 ปีนับแต่ที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องฟ้องแย้งจึงขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิดกับห้าง จำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าผ้าทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งหมายถึงในฐานะที่ เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดด้วย เพราะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องให้แต่เฉพาะผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 มาก่อน ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัด ความรับผิด แม้ต่อมาในขณะฟ้องจำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้ เปลี่ยนแปลงเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด จึงถือว่า จำเลยที่ 2 ยังเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดอยู่ ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ปรากฏว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง จำเลยที่ 1 จึงเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เช่นกัน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะมิได้ซื้อผ้า จากโจทก์เป็นการส่วนตัวก็ตาม จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ต้อง รับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัด จำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิด กับจำเลยที่ 1 ตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์หลังคำพิพากษาถึงที่สุด: เจตนาครอบครองแทนโจทก์และการแจ้งให้ทราบ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากที่ดินพิพาทคดีนี้ตามจำนวนเนื้อที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งจำเลยเคยฟ้องโจทก์ให้ไปจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยทราบดีมาก่อนแล้วแม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทตามที่โจทก์อ้างว่าจำเลยอยู่อาศัยที่โจทก์ฟ้องนั้นอยู่ส่วนไหนของที่ดินและมีจำนวนเนื้อที่เท่าไหร่ก็ตาม ฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม
เหตุที่จำเลยอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์สืบเนื่องมาจากกรณีจำเลยเคยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นให้โจทก์โอนแก่จำเลย ซึ่งจำเลยได้อยู่อาศัยมาก่อนโดยศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุด แม้จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจนถึงโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตาม แต่ผลของคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาก่อนนั้น ยังคงผูกพันจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด ซึ่งฟังว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยอยู่ ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษามา จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั่นเองเหตุที่ว่านี้จำเลยจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุได้ก็โดยจำเลยจะต้องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือการครอบครองแทนโจทก์ได้ก็โดยจำเลยจะต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทราบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งอายุความตามที่จำเลยให้การมายันโจทก์ได้
เหตุที่จำเลยอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์สืบเนื่องมาจากกรณีจำเลยเคยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นให้โจทก์โอนแก่จำเลย ซึ่งจำเลยได้อยู่อาศัยมาก่อนโดยศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุด แม้จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจนถึงโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตาม แต่ผลของคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาก่อนนั้น ยังคงผูกพันจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด ซึ่งฟังว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยอยู่ ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษามา จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั่นเองเหตุที่ว่านี้จำเลยจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุได้ก็โดยจำเลยจะต้องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือการครอบครองแทนโจทก์ได้ก็โดยจำเลยจะต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทราบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งอายุความตามที่จำเลยให้การมายันโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลังคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะการครอบครองเพื่ออ้างอายุความ
ก่อนหน้าคดีนี้จำเลยเคยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นให้โจทก์โอนแก่จำเลยโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุด แม้จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจนถึงโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตาม แต่ผลของคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาก่อนนั้นยังคงผูกพันจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุดโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ฉะนั้น การครอบครองของจำเลยนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั่นเอง จำเลยจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์อีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวให้โจทก์ทราบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งอายุความตามที่จำเลยให้การมายันโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบริการทางวิชาชีพและค่าพาหนะ: การพิจารณาความถูกต้องของรายจ่ายในการคำนวณภาษี
โจทก์และบริษัท อ.มิได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริการใด ๆ ต่อกันการว่าจ้างให้บริการทางวิชาชีพที่โจทก์ต้องจ่ายค่าบริการนี้มีการทำสัญญาระหว่างบริษัท อ.กับบริษัท อี โจทก์เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากการขยายผลของสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาที่ทั้งสองบริษัททำต่อกันเท่านั้น ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ.และในการจ่ายเงินค่าบริการทางวิชาชีพ โจทก์ก็มิได้จ่ายให้แก่บริษัท อี ผู้ให้บริการโดยตรงแต่จ่ายผ่านบริษัท อ.โดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนกับยอดขายสินค้าของบริษัทในเครือที่ได้รับการขยายผลตามสัญญาดังกล่าวด้วยกันเช่นเดียวกับโจทก์ หากบริษัทในเครือบริษัทใดขายสินค้าได้มากก็ต้องจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพสูงกว่าบริษัทในเครือที่ขายสินค้าได้น้อยกว่า ส่วนบริษัท อ.คู่สัญญากับบริษัท อี กลับไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพหรือค่าป่วยการใด ๆให้แก่บริษัท อี การที่บริษัท อ.ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งให้บริษัทในเครือของตนเองจำหน่ายแก่ลูกค้ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าได้ว่าจ้างให้บริษัท อี ทำการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาในด้านการผลิตสินค้าปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยบริษัท อ.ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอันเป็นสินจ้าง แต่ผลักภาระการจ่ายค่าบริการดังกล่าวมาให้แก่บริษัทในเครือซึ่งมิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงแต่ผู้สั่งสินค้ามาจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า โดยกำหนดให้บริษัทในเครือจ่ายค่าบริการมากน้อยตามสัดส่วนของรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากสัญญาจ้างดังกล่าวข้างต้นและสมควรมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าบริการหรือสินจ้างคือบริษัท อ.ซึ่งเป็นทั้งผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิตและคู่สัญญากับบริษัท อี หาใช่บริษัทในเครือที่เป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ผลิตไม่ เพราะคุณภาพหรือคุณลักษณะของสินค้าที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่ผู้ผลิตจักต้องแสดงให้ประจักษ์แก่ลูกค้าหรือผู้แทนจำหน่ายเพื่อประโยชน์ในการแข่งขันทางการค้าในตลาด โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ.มิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงผู้สั่งสินค้าที่บริษัท อ.ผลิตเข้ามาจำหน่าย แม้บางครั้งบริษัทผู้ผลิตจะได้แจ้งคุณลักษณะของสินค้าที่ได้จากรายงานการศึกษาค้นคว้ามาให้โจทก์ทราบเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็จะนำส่วนเฉลี่ยของค่าบริการทางวิชาชีพที่บริษัท อ.ผู้ผลิตจะต้องจ่ายให้แก่บริษัท อี ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะหาได้ไม่ เพราะรายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของบริษัท อ.ค่าบริการทางวิชาชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ.จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ตามป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (14)
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42 (1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42 (1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบริการวิจัยและพัฒนา (R&D) และค่าพาหนะเหมาจ่าย ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีได้
โจทก์และบริษัท อ. มิได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริการใด ๆ ต่อกันการว่าจ้างให้บริการทางวิชาชีพที่โจทก์ต้องจ่ายค่าบริการนี้มีการทำสัญญาระหว่างบริษัท อ. กับบริษัท อี โจทก์เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากการขยายผลของสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาที่ทั้งสองบริษัททำต่อกันเท่านั้น ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ. และในการจ่ายเงินค่าบริการทางวิชาชีพ โจทก์ก็มิได้จ่ายให้แก่บริษัท อี ผู้ให้บริการโดยตรงแต่จ่ายผ่านบริษัท อ. โดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนกับยอดขายสินค้าของบริษัทในเครือที่ได้รับการขยายผลตามสัญญาดังกล่าวด้วยกันเช่นเดียวกับโจทก์ หากบริษัทในเครือบริษัทใดขายสินค้าได้มากก็ต้องจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพสูงกว่าบริษัทในเครือที่ขายสินค้าได้น้อยกว่า ส่วนบริษัท อ. คู่สัญญากับบริษัท อี กลับไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพหรือค่าป่วยการใด ๆ ให้แก่บริษัท อี การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งให้บริษัทในเครือของตนเองจำหน่ายแก่ลูกค้ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าได้ว่าจ้างให้บริษัท อี ทำการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาในด้านการผลิตสินค้าปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยบริษัท อ. ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอันเป็นสินจ้าง แต่ผลักภาระการจ่ายค่าบริการดังกล่าวมาให้แก่บริษัทในเครือซึ่งมิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงแต่ผู้สั่งสินค้ามาจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า โดยกำหนดให้บริษัทในเครือจ่ายค่าบริการมากน้อยตามสัดส่วนของรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากสัญญาจ้างดังกล่าวข้างต้นและสมควรมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าบริการหรือสินจ้างคือบริษัท อ. ซึ่งเป็นทั้งผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิตและคู่สัญญากับบริษัท อี หาใช่บริษัทในเครือที่เป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ผลิตไม่ เพราะคุณภาพหรือคุณลักษณะของสินค้าที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่ผู้ผลิตจักต้องแสดงให้ประจักษ์แก่ลูกค้า หรือผู้แทนจำหน่ายเพื่อประโยชน์ในการแข่งขันทางการค้าในตลาด โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. มิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงผู้สั่งสินค้าที่บริษัท อ. ผลิตเข้ามาจำหน่าย แม้บางครั้งบริษัทผู้ผลิตจะได้แจ้งคุณลักษณะของสินค้าที่ได้จากรายงานการศึกษาค้นคว้ามาให้โจทก์ทราบเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็จะนำส่วนเฉลี่ยของค่าบริการทางวิชาชีพที่บริษัท อ. ผู้ผลิตจะต้องจ่ายให้แก่บริษัท อี ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะหาได้ไม่ เพราะรายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของบริษัท อ. ค่าบริการทางวิชาชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14)
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพและค่าพาหนะ: การพิจารณาเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้
โจทก์และบริษัท อ. มิได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริการใด ๆ ต่อกันการว่าจ้างให้บริการทางวิชาชีพที่โจทก์ต้องจ่ายค่าบริการนี้มีการทำสัญญาระหว่างบริษัท อ. กับบริษัท อี โจทก์เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากการขยายผลของสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาที่ทั้งสองบริษัททำต่อกันเท่านั้น ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ. และในการจ่ายเงินค่าบริการทางวิชาชีพ โจทก์ก็มิได้จ่ายให้แก่บริษัท อี ผู้ให้บริการโดยตรงแต่จ่ายผ่านบริษัท อ. โดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนกับยอดขายสินค้าของบริษัทในเครือที่ได้รับการขยายผลตามสัญญาดังกล่าวด้วยกันเช่นเดียวกับโจทก์ หากบริษัทในเครือบริษัทใดขายสินค้าได้มากก็ต้องจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพสูงกว่าบริษัทในเครือที่ขายสินค้าได้น้อยกว่า ส่วนบริษัท อ. คู่สัญญากับบริษัท อี กลับไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพหรือค่าป่วยการใด ๆ ให้แก่บริษัท อี การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งให้บริษัทในเครือของตนเองจำหน่ายแก่ลูกค้ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าได้ว่าจ้างให้บริษัท อี ทำการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาในด้านการผลิตสินค้าปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยบริษัท อ. ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอันเป็นสินจ้าง แต่ผลักภาระการจ่ายค่าบริการดังกล่าวมาให้แก่บริษัทในเครือซึ่งมิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงแต่ผู้สั่งสินค้ามาจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า โดยกำหนดให้บริษัทในเครือจ่ายค่าบริการมากน้อยตามสัดส่วนของรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากสัญญาจ้างดังกล่าวข้างต้นและสมควรมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าบริการหรือสินจ้างคือบริษัท อ. ซึ่งเป็นทั้งผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิตและคู่สัญญากับบริษัท อี หาใช่บริษัทในเครือที่เป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ผลิตไม่ เพราะคุณภาพหรือคุณลักษณะของสินค้าที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่ผู้ผลิตจักต้องแสดงให้ประจักษ์แก่ลูกค้า หรือผู้แทนจำหน่ายเพื่อประโยชน์ในการแข่งขันทางการค้าในตลาด โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. มิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงผู้สั่งสินค้าที่บริษัท อ. ผลิตเข้ามาจำหน่าย แม้บางครั้งบริษัทผู้ผลิตจะได้แจ้งคุณลักษณะของสินค้าที่ได้จากรายงานการศึกษาค้นคว้ามาให้โจทก์ทราบเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็จะนำส่วนเฉลี่ยของค่าบริการทางวิชาชีพที่บริษัท อ. ผู้ผลิตจะต้องจ่ายให้แก่บริษัท อี ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะหาได้ไม่ เพราะรายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของบริษัท อ. ค่าบริการทางวิชาชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14)
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์การให้ทุนหมุนเวียนทำประมง ไม่ใช่การกู้ยืม สัญญาต่างตอบแทนฟ้องร้องได้ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ประกอบกิจการแพปลา รับซื้อสัตว์น้ำจากผู้ประกอบอาชีพประมง ลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์นอกจากรับซื้อสัตว์น้ำแล้วโจทก์ยังให้ยืมเงินและทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายและค่าอุปกรณ์เกี่ยวกับเรือประมงของผู้ซึ่งนำสัตว์น้ำมาขายแก่โจทก์ การชำระคืนตกลงให้หักเอาจากค่าปลาหรือสัตว์น้ำที่นำมาขาย จำเลยเป็นเจ้าของเรือประมง 4 ลำ และเป็นผู้นำปลามาขายแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้จำเลยยืมเงินและทดรองจ่ายจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับประมงของจำเลยไปก่อนเมื่อจำเลยนำสัตว์น้ำมาขายแก่โจทก์ โจทก์จึงคิดหักหนี้เงินที่จำเลยรับล่วงหน้าและทดรองจ่ายไป ดังนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการกู้ยืม แต่เป็นการรับเงินไปเป็นทุนหมุนเวียนในการทำการประมงของจำเลยกล่าวคือโจทก์รับดำเนินการในภาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับเรือประมงที่จะออกทะเลโดยมุ่งที่จะซื้อสัตว์น้ำจากเรือของจำเลย สำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ออกไปจะนำมาหักกับค่าซื้อขายสัตว์น้ำที่เรือแต่ละลำได้มา ต่างกับการกู้ยืมเงินทั่ว ๆ ไปที่ไม่มีข้อผูกมัดว่าจะต้องใช้จ่ายเงินได้เฉพาะเรื่อง และถือเอาผลประโยชน์จากดอกเบี้ยเป็นสำคัญ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่ง เป็นนิติกรรมที่ไม่มีแบบย่อมสมบูรณ์ด้วยการแสดงเจตนาและฟ้องร้องบังคับกันได้โดยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง