พบผลลัพธ์ทั้งหมด 525 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินที่ได้จากการจำนองและประมูลเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ประกอบกิจการเงินทุนจัดหาเงินทุนจากประชาชนมาให้กู้ยืมโดยจำนองที่ดินเป็นประกันโจทก์มีสิทธิได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์จากการชำระหนี้การประกันการให้กู้ยืมเงินหรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายในสามปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกมาเป็นของโจทก์หรือภายในกำหนดเวลากว่านั้นตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยดังที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา20(1)(ข)บัญญัติไว้ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้เงินคืนมาชำระหนี้จำนองและหนี้ที่โจทก์จัดหาทุนมาจากประชาชนกับเป็นกำไรของโจทก์อีกส่วนหนึ่งนั่นเองวิธีการดังกล่าวเป็นธุรกิจปกติของโจทก์ดังนั้นการที่โจทก์ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการการที่โจทก์ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา91/2(6)แห่งประมวลรัษฎากรดังที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร(ฉบับที่244)มาตรา3(5)กำหนดไว้โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ3ของรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา91/6(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์และสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้สละ โดยการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
ท. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายหลังจากโจทก์สละมรดกแล้ว4วันจังเป็นการแสดงเจตนาสละมรดกที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1619การสละมรดกจึงไม่เกิดผลตามกฎหมายถือเท่ากับว่าไม่มีการสละมรดกโจทก์จึงยังคงมีสิทธิในทรัพย์มรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมและการที่โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินมรดกและไม่เคยติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดกก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้ถือว่าเป็นการปิดปากและเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์สละมรดกนั้นแล้ว เมื่อการสละมรดกโดยโจทก์ไม่เกิดผลตามกฎหมายโจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกอยู่การไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกโดยจำเลยตกลงรับสภาพหนี้ต่อธนาคารและผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารก็ปรากฎว่าโจทก์และน้องๆทุกคนก็ช่วยกันออกเงินคนละ20,000บาทให้จำเลยไปดำเนินการหาใช่เป็นเงินของจำเลยเพียงคนเดียวไม่อีกทั้งไม่ปรากฎว่ามีการตกลงกันระหว่างพี่น้องจำเลยให้จำเลยไปจัดการไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกแล้วจำเลยจะได้รับที่ดินมรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมเป็นการตอบแทนที่ดินมรดกในส่วนดังกล่าวจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกโดยโจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่าโจทก์เป็นทายาทโดยพินัยกรรมมีสิทธิรับมรดกจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยมิชอบไม่ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดกกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสองได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้นมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงจึงจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาบังคับใช้กับกรณีนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกไม่สมบูรณ์และสิทธิในทรัพย์มรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1619, 1733 วรรคสอง, 1750, 1754
ท.เจ้ามรดกถึงแก่ความตายหลังจากโจทก์สละมรดกแล้ว 4 วันจึงเป็นการแสดงเจตนาสละมรดกที่ฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1619 การสละมรดกจึงไม่เกิดผลตามกฎหมาย ถือเท่ากับว่าไม่มีการสละมรดก โจทก์จึงยังคงมีสิทธิในทรัพย์มรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรม และการที่โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินมรดกและไม่เคยติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดก ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้ถือว่าเป็นการปิดปากและเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์สละมรดกนั้นแล้ว
เมื่อการสละมรดกโดยโจทก์ไม่เกิดผลตามกฎหมาย โจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกอยู่ การไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกโดยจำเลยตกลงรับสภาพหนี้ต่อธนาคารและผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร ก็ปรากฏว่าโจทก์และน้อง ๆ ทุกคนก็ช่วยกันออกเงินคนละ 20,000 บาท ให้จำเลยไปดำเนินการหาใช่เป็นเงินของจำเลยเพียงคนเดียวไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีการตกลงกันระหว่างพี่น้องจำเลยให้จำเลยไปจัดการไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดก แล้วจำเลยจะได้รับที่ดินมรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมเป็นการตอบแทนที่ดินมรดกในส่วนดังกล่าวจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์
คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก โดยโจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่าโจทก์เป็นทายาทโดยพินัยกรรมมีสิทธิรับมรดกที่ดินมรดก จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยมิชอบ ไม่ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก กรณีนี้ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง จึงจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาบังคับใช้กับกรณีนี้หาได้ไม่
ท.เจ้ามรดกถึงแก่ความตายหลังจากโจทก์สละมรดกแล้ว 4 วันจึงเป็นการแสดงเจตนาสละมรดกที่ฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1619 การสละมรดกจึงไม่เกิดผลตามกฎหมาย ถือเท่ากับว่าไม่มีการสละมรดก โจทก์จึงยังคงมีสิทธิในทรัพย์มรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรม และการที่โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินมรดกและไม่เคยติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดก ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้ถือว่าเป็นการปิดปากและเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์สละมรดกนั้นแล้ว
เมื่อการสละมรดกโดยโจทก์ไม่เกิดผลตามกฎหมาย โจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกอยู่ การไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกโดยจำเลยตกลงรับสภาพหนี้ต่อธนาคารและผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร ก็ปรากฏว่าโจทก์และน้อง ๆ ทุกคนก็ช่วยกันออกเงินคนละ 20,000 บาท ให้จำเลยไปดำเนินการหาใช่เป็นเงินของจำเลยเพียงคนเดียวไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีการตกลงกันระหว่างพี่น้องจำเลยให้จำเลยไปจัดการไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดก แล้วจำเลยจะได้รับที่ดินมรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมเป็นการตอบแทนที่ดินมรดกในส่วนดังกล่าวจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์
คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก โดยโจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่าโจทก์เป็นทายาทโดยพินัยกรรมมีสิทธิรับมรดกที่ดินมรดก จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยมิชอบ ไม่ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก กรณีนี้ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง จึงจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาบังคับใช้กับกรณีนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ที่ดินเป็นสนามเด็กเล่นต่อเนื่องกว่า 10 ปี ถือเป็นการได้สิทธิภารจำยอม
โจทก์ทั้งห้าสิบสี่ได้ร่วมกันใช้ที่ดินแปลงพิพาทเป็นสนามเด็กเล่นของเด็ก ๆ ที่อยู่ในที่ดินโจทก์ทั้งห้าสิบสี่ตามข้อตกลงที่จำเลยให้ไว้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในหมู่บ้านต่อเนื่องกันมากว่า 10 ปีแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ทั้งห้าสิบสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ซื้อมาจากจำเลยมีสิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินแปลงพิพาท จึงได้ภารจำยอมโดยอายุความ เพื่อประโยชน์ในการที่จะใช้เป็นสนามเด็กเล่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ การรับฟังพยานหลักฐานการส่งมอบสินค้า และการต่อสู้คดีที่ไม่สุจริต
กิจการที่ ล.ตัวแทนเชิดของจำเลยจ้างโจทก์ผลิตฟองน้ำวิทยาศาสตร์ให้จำเลยโดยใช้สัมภาระที่โจทก์จัดหาให้นั้นเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่ง ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 7 มิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใดการที่ ล.เป็นตัวแทนจำเลยหรือไม่ จึงไม่จำต้องมีหลักฐานที่ทำเป็นหนังสือมาแสดง
โจทก์ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยรับไว้ครบถ้วนแล้วหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 85 บัญญัติไว้ เมื่อ ณ และ ก พยานบุคคลของโจทก์เป็นผู้รู้เห็นในเรื่องที่โจทก์ได้ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลย ตามที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง ย่อมไม่ต้องห้ามรับฟัง ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีใบส่งของที่ผู้รับของลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารมาแสดง ดังนั้น การสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้รับของตามใบส่งของดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว โดยที่ใบส่งของดังกล่าวไม่มีลายมือชื่อผู้รับของลงไว้ ก็ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
จำเลยต่อสู้คดีโดยไม่สุจริต การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตามป.วิ.พ. 142(6) พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จึงเป็นการสมควรแล้ว
โจทก์ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยรับไว้ครบถ้วนแล้วหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 85 บัญญัติไว้ เมื่อ ณ และ ก พยานบุคคลของโจทก์เป็นผู้รู้เห็นในเรื่องที่โจทก์ได้ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลย ตามที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง ย่อมไม่ต้องห้ามรับฟัง ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีใบส่งของที่ผู้รับของลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารมาแสดง ดังนั้น การสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้รับของตามใบส่งของดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว โดยที่ใบส่งของดังกล่าวไม่มีลายมือชื่อผู้รับของลงไว้ ก็ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
จำเลยต่อสู้คดีโดยไม่สุจริต การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตามป.วิ.พ. 142(6) พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จึงเป็นการสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ การรับฟังพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร และการคิดดอกเบี้ยจากการต่อสู้คดีไม่สุจริต
กิจการที่ล. ตัวแทนเชิดของจำเลยจ้างโจทก์ผลิตฟองน้ำวิทยาศาสตร์ให้จำเลยโดยใช้สัมภาระที่โจทก์จัดหาให้นั้นเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ7มิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใดการที่ล. เป็นตัวแทนจำเลยหรือไม่จึงไม่จำต้องมีหลักฐานที่ทำเป็นหนังสือมาแสดง โจทก์ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยรับไว้ครบถ้วนแล้วหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานๆใดมาสืบได้ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา85บัญญัติไว้เมื่อณและกพยานบุคคลของโจทก์เป็นผู้รู้เห็นในเรื่องที่โจทก์ได้ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยตามที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงย่อมไม่ต้องห้ามรับฟังทั้งปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีใบส่งของที่ผู้รับของลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารมาแสดงดังนั้นการสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้รับของตามใบส่งของดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้วโดยที่ใบส่งของดังกล่าวไม่มีลายมือชื่อผู้รับของลงไว้ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา94(ข) จำเลยต่อสู้คดีโดยไม่สุจริตการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง142(6)พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ15ต่อปีนับแต่วันฟ้องจึงเป็นการสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรม: ระยะเวลาบอกเลิกและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดิน
สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 15 ครบกำหนดวันที่ 13กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 15 ผู้ให้เช่ามีหนังสือบอกเลิกการเช่ามาถึงโจทก์ผู้เช่าโจทก์ได้รับหนังสือวันที่ 4 มิถุนายน 2533 แต่การประชุมของ คชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2534 เพิ่งได้มีการกำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้ว ดังนั้น ขณะที่จำเลยที่ 15 มีหนังสือบอกเลิกการเช่าถึงเวลาโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่า จึงยังไม่มีวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่จะใช้สำหรับนับระยะเวลาในการบอกเลิกการเช่า การที่จำเลยที่ 15 ทำหนังสือบอกเลิกการเช่านาซึ่งโจทก์ได้รับในช่วงต้นฤดูการทำนา ก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่าเกินกว่าหนึ่งปี จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จะนำวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่กำหนดขึ้นมาภายหลังมาลบล้างผลแห่งการบอกเลิกสัญญาที่เกิดขึ้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วให้เสียไปหาได้ไม่
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา37 มิได้กำหนดให้ผู้เช่าต้องบอกรายละเอียดตามมาตรา 37 (1) - (4) ไว้ในหนังสือบอกเลิกการเช่า หากแต่เหตุผลดังกล่าวต้องแสดงต่อ คชก.ตำบล เมื่อได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าแล้ว และปรากฏว่าแม้จำเลยที่ 15 มิได้บอกเหตุผลตามที่ระบุไว้ใน (1) - (4) ของมาตรา 37 ไว้ในเอกสารหมาย จ.6ก็ตาม แต่จำเลยที่ 15 ก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลลำลูกกาและสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้ทราบแล้ว ซึ่งเมื่อ คชก.ตำบลลำลูกกาทราบได้มีการประชุมของ คชก.ตำบลลำลูกกา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2533 โดยได้มีมติให้โจทก์อยู่ในที่เช่าได้ต่อไป จำเลยที่ 15 จึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาต่อทาง คชก.จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2533 โดยได้ชี้แจงในอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาและนำสืบด้วยว่าจะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสม จึงฟังได้ว่าการบอกเลิกการเช่าของจำเลยที่ 15 ชอบด้วยมาตรา 37 แล้ว
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา37 มิได้กำหนดให้ผู้เช่าต้องบอกรายละเอียดตามมาตรา 37 (1) - (4) ไว้ในหนังสือบอกเลิกการเช่า หากแต่เหตุผลดังกล่าวต้องแสดงต่อ คชก.ตำบล เมื่อได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าแล้ว และปรากฏว่าแม้จำเลยที่ 15 มิได้บอกเหตุผลตามที่ระบุไว้ใน (1) - (4) ของมาตรา 37 ไว้ในเอกสารหมาย จ.6ก็ตาม แต่จำเลยที่ 15 ก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลลำลูกกาและสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้ทราบแล้ว ซึ่งเมื่อ คชก.ตำบลลำลูกกาทราบได้มีการประชุมของ คชก.ตำบลลำลูกกา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2533 โดยได้มีมติให้โจทก์อยู่ในที่เช่าได้ต่อไป จำเลยที่ 15 จึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาต่อทาง คชก.จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2533 โดยได้ชี้แจงในอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาและนำสืบด้วยว่าจะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสม จึงฟังได้ว่าการบอกเลิกการเช่าของจำเลยที่ 15 ชอบด้วยมาตรา 37 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดิน ต้องพิจารณาช่วงเวลาตามกฎหมายและเหตุผลการบอกเลิกที่ชอบธรรม
สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่15ครบกำหนดวันที่13กรกฎาคม2534จำเลยที่15ผู้ให้เช่ามีหนังสือบอกเลิกการเช่ามาถึงโจทก์ผู้เช่าโจทก์ได้รับหนังสือวันที่4มิถุนายน2533แต่การประชุมของคชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่18มีนาคม2534เพิ่งได้มีการกำหนดให้วันที่1มิถุนายนของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้วดังนั้นขณะที่จำเลยที่15มีหนังสือบอกเลิกการเช่าถึงเวลาโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าจึงยังไม่มีวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่จะใช้สำหรับนับระยะเวลาในการบอกเลิกการเช่าการที่จำเลยที่15ทำหนังสือบอกเลิกการเช่านาซึ่งโจทก์ได้รับในช่วงต้นฤดูการทำนาก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่าเกินกว่าหนึ่งปีจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์จะนำวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่กำหนดขึ้นภายหลังมาลบล้างผลแห่งการบอกเลิกสัญญาที่เกิดขึ้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วให้เสียไปหาได้ไม่ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา37มิได้กำหนดให้ผู้เช่าต้องบอกรายละเอียดตามมาตรา37(1)(4)ไว้ในหนังสือบอกเลิกการเช่าหากแต่เหตุผลดังกล่าวต้องแสดงต่อคชก.ตำบลเมื่อได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าแล้วและปรากฏว่าแม้จำเลยที่15มิได้บอกเหตุผลตามที่ระบุไว้ใน(1)-(4)ของมาตรา37ไว้ในเอกสารหมายจ.6ก็ตามแต่จำเลยที่15ก็ได้มีหนังสือถึงประธานคชก.ตำบลลำลูกกาและสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้ทราบแล้วซึ่งเมื่อคชก.ตำบลลำลูกกาทราบได้มีการประชุมของคชก.ตำบลลำลูกกาเมื่อวันที่22สิงหาคม2533โดยได้มีมติให้โจทก์อยู่ในที่เช่าได้ต่อไปจำเลยที่15จึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลลำลูกกาต่อทางคชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่19กันยายน2533โดยได้ชี้แจงในอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลลำลูกกาและนำสืบด้วยว่าจะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสมจึงฟังได้ว่าการบอกเลิกการเช่าของจำเลยที่15ชอบด้วยมาตรา37แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลในคดีเลือกตั้งเทศบาลถือเป็นที่สุด อุทธรณ์ไม่ได้ตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482ตามนัยมาตรา58วรรคแรกเมื่อศาลได้รับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลแล้วให้ดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเร็วโดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้นเมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้าคำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุดดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถือที่สุดและผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ที่กำหนดในเรื่องการอุทธรณ์ไว้ว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 ตามนัยมาตรา 58 วรรคแรก เมื่อศาลได้รับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. โดยเร็ว โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้น เมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุด ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด และผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อไป ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 223 ที่กำหนดในเรื่องการอุทธรณ์ไว้ว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด