คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำลอง สุขศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 525 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย, องค์ประชุม, การมอบอำนาจประชุม, และการบังคับใช้ระเบียบเบี้ยปรับ
มาตรา17วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2427บัญญัติว่า"คณะกรรมการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (25)กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด"และวรรคสองบัญญัติว่า"การกำหนดตาม(25)ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี"เมื่อปรากฎตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามประกาศระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527ฉบับที่1พ.ศ.2528ว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบนั้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วระเบียบนี้จึงเป็นระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายและได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ทั้งไม่เป็นการออกทะเบียนที่ซ้ำซ้อนหรือมีบทลงโทษที่หนักกว่าโทษสำหรับความผิดฐานขนย้ายน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงานตามบทบัญญัติมาตรา44(7)และ71แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527เพราะเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ตามระเบียบดังกล่าวสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนมิใช่โทษอาญาดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา44(7)และ71ดังกล่าวหากแต่เป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนระเบียบนั้นระเบียบดังกล่าวจึงเป็นระเบียบที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527คำว่า"คณะกรรมการ"หมายความว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมาตรา20วรรคหนึ่งบัญญัติว่า"ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า"คณะกรรมการบริหาร"ได้และตามมาตรา41วรรคหนึ่งบัญญัติว่า"ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า"คณะกรรมการน้ำตาลทราย"ดังนี้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการน้ำตาลทรายหาใช่อำนาจของรัฐมนตรีไม่ คณะที่ปรึกษากฎหมายไม่ใช่คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายแต่งตั้งขึ้นเพื่อมอบหมายให้ปฎิบัติการแทนคณะกรรมการน้ำตาลทรายดังที่บัญญัติไว้มาตรา42วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527คณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่จำต้องมีคุณสมบัติจำนวนและสัดส่วนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวแต่การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อนำความเห็นทางกฎหมายของคณะที่ปรึกษามาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการน้ำตาลทรายเท่านั้นคณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจอิสระที่จะรับฟังหรือไม่รับฟังความเห็นของคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ได้ทั้งการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ไม่มีกฎหมายห้ามไว้การแต่งตั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด21คนปรากฎตามรายงานการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายครั้งที่1/2535ที่คณะกรรมการให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีกรรมการเข้าประชุม13คนซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดการประชุมดังกล่าวจึงมีกรรมการมาประชุมครบองค์ประชุมชอบด้วยมาตรา15วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมปลัดกระทรวงพาณิชย์และอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นข้าราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามบทบัญญัติมาตรา9ดังกล่าวซึ่งการปฎิบัติหน้าที่ของกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องเข้าประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดปฎิบัติหน้าที่แทนเมื่อกรรมการนั้นไม่อาจมาปฎิบัติหน้าที่ได้ก็ย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกระทรวงหรือกรณีที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ไปปฎิบัติราชการแทนในฐานผู้แทนได้การประชุมคณะกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่โจทก์อ้างว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะจำเลยที่4กรรมการดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมืองมีลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการและส.มิใช่ชาวไร่อ้อยไม่มีคุณสมบัติเป็นกรรมการนั้นปรากฎว่าข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายมาในคำฟ้องแม้โจทก์จะนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็ถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับโรงงานน้ำตาล: การแต่งตั้งกรรมการ, องค์ประชุม, และการพิจารณาอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527ฉบับที่1พ.ศ.2528ออกโดยคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามอำนาจในมาตรา17วรรคหนึ่ง(25)แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527และได้รับความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วทั้งไม่เป็นระเบียบที่ซ้ำซ้อนหรือมีบทลงโทษที่หนักกว่าโทษที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวเพราะเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ตามระเบียบมิใช่โทษทางอาญาหากแต่เป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับผู้ฝ่าฝืนระเบียบเท่านั้นระเบียบดังกล่าวจึงออกโดยชอบด้วยกฎหมาย คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการน้ำตาลทรายตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา4,20วรรคหนึ่งและมาตรา41วรรคหนึ่งหาใช่อำนาจของรัฐมนตรีไม่ คณะที่ปรึกษากฎหมายไม่ใช่คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายแต่งตั้งขึ้นตามมาตรา42วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527จึงไม่จำต้องมีคุณสมบัติจำนวนและสัดส่วนตามบทบัญญัติดังกล่าว กรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามบทบัญญัติมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติ อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527ซึ่งเป็นข้าราชการไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องเข้าประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทนจึงอาจมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดไปประชุมแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายในการออกระเบียบและแต่งตั้งกรรมการ รวมถึงองค์ประชุมและความชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 17 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2427 บัญญัติว่า "คณะกรรมการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้...
(25) กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด..."และวรรคสองบัญญัติว่า "การกำหนดตาม...(25)... ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี" เมื่อปรากฏตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วย เบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบนั้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว ระเบียบนี้จึงเป็นระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายและได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ ทั้งไม่เป็นการออกระเบียบที่ซ้ำซ้อนหรือมีบทลงโทษที่หนักกว่าโทษสำหรับความผิดฐานขนย้ายน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงานตามบทบัญญัติมาตรา 44 (7)และ 71 แห่ง พ.ร.บ. และน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 เพราะเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ตามระเบียบดังกล่าวสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนมิใช่โทษอาญาดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 44 (7)และ 71 ดังกล่าว หากแต่เป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนระเบียบนั้น ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นระเบียบที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527คำว่า "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มาตรา20 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า"คณะกรรมการบริหาร"..." ได้ และตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการน้ำตาลทราย"..."ดังนี้ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการน้ำตาลทราย หาใช่อำนาจของรัฐมนตรีไม่
คณะที่ปรึกษากฎหมายไม่ใช่คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายแต่งตั้งขึ้นเพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติการแทนคณะกรรมการน้ำตาลทรายดังที่บัญญัติไว้ มาตรา 42 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527 คณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่จำต้องมีคุณสมบัติ จำนวน และสัดส่วนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว แต่การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อนำความเห็นทางกฎหมายของคณะที่ปรึกษามาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการน้ำตาลทรายเท่านั้น คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจอิสระที่จะรับฟังหรือไม่รับฟังความเห็นของคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ได้ ทั้งการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การแต่งตั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด 21 คน ปรากฏตามรายงานการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ครั้งที่ 1/2532 ที่คณะกรรมการให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีกรรมการเข้าประชุม 13 คน ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด การประชุมดังกล่าวจึงมีกรรมการมาประชุมครบองค์ประชุมชอบด้วยมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นข้าราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามบทบัญญัติมาตรา 9 ดังกล่าว ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องเข้าประชุมด้วยตนเอง และไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน เมื่อกรรมการนั้นไม่อาจมาปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกระทรวงหรือกรมที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ไปปฏิบัติราชการแทนในฐานะผู้แทนได้ การประชุมคณะกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อ้างว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยที่ 4 กรรมการดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง มีลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการ และนายสุทธิพรเกริกกฤตยา มิใช่ชาวไร่อ้อย ไม่มีคุณสมบัติเป็นกรรมการนั้น ปรากฏว่าข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายมาในคำฟ้อง แม้โจทก์จะนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
การกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้นในขณะที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ในส่วนที่ 3การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงถูกยกเลิกแล้ว และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลบังคับ การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ความชอบด้วยกฎหมายและอำนาจฟ้องร้อง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ซึ่งบัญญัติเรื่องค่าทดแทนไว้ในข้อ 76 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 บัญญัติตรงกันว่า ถ้า พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มิได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ ก็ต้องกำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเมื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์มิได้มี พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้หลักเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา และในการกำหนดค่าทดแทนนี้เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มีประกาศกระทรวงคมนาคมลงวันที่ 23 กันยายน 2525 กำหนดให้ทางหลวงพิเศษที่จะสร้างเป็นทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วน ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 นั้น การกำหนดค่าทดแทนจะต้องมีการตกลงกัน หากตกลงกันในจำนวนค่าทดแทนไม่ได้ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์จึงจะกำหนดค่าทดแทน ดังนั้นขั้นตอนในการกำหนดค่าทดแทนจะเสร็จสิ้นก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ทราบกำหนดราคาค่าทดแทนแล้ว เมื่อการตกลงราคาและการกำหนดค่าทดแทนได้กระทำขึ้นหลังจากที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 63ถึงข้อ 80 ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 แล้ว และพ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับอยู่ ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ซึ่งยังไม่เสร็จสิ้นในขณะที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลบังคับ จึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36วรรคสอง
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงพิเศษสายพระประแดง - บางแค -ตลิ่งชัน - บางบัวทอง ตอนพระประแดง - บางแค - ตลิ่งชัน พ.ศ. 2523 ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินเพื่อถือจ่ายให้เจ้าของที่ดินโดยให้ถือตามราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ปี 2522 ซึ่งไม่ใช่ราคาค่าทดแทนที่ดินตามที่คณะกรรมการปรองดองเพื่อพิจารณาค่าทดแทนให้แก่เจ้าของทรัพย์สิน เนื่องในการสร้างทางหลวงพิเศษดังกล่าวพิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่จำเลยที่ 3กำหนดให้โจทก์สำหรับที่ดินของโจทก์ทั้ง 3 แปลง มิได้คำนึงถึงราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงพิเศษสายดังกล่าว พ.ศ. 2523 ใช้บังคับและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 กำหนดไว้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการปรองดองเพื่อพิจารณาค่าทดแทนให้แก่เจ้าของทรัพย์สินเนื่องในการสร้างทางหลวงพิเศษ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่เจ้าของทรัพย์สิน รวมทั้งมีอำนาจในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ที่ไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และโจทก์ก็ได้อุทธรณ์การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสามแปลงต่อจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 มิได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งมีผลเท่ากับเห็นด้วยกับจำเลยที่ 3 ในการกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ทั้งสามแปลง ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2มีส่วนกระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.เวนคืน และความเป็นธรรมต่อผู้ถูกเวนคืน
แม้การเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ พ.ศ.2524ซึ่งกฎหมายแม่บทว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือป.ว.295ก็ตามแต่ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมป.ว.295(ฉบับที่2)พ.ศ.2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินฯยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจำเลยที่1เพิ่งมีหนังสือลงวันที่27ธันวาคม2534แจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้แก่ธนาคารออมสินถึงโจทก์ทั้งสองดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา21ซึ่งมาตรา21ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1)ถึง(5)ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่1มกราคม2534และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีฯด้วยจึงเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา21แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักการกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดและผลกระทบจากการล่าช้าในการชดใช้
แม้การเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์... พ.ศ. 2524 ซึ่งกฎหมายแม่บทว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ก็ตาม แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63ถึง ข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว และมาตรา 9 วรรคสอง กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสองบัญญัติรับกันว่าการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงและตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติทั้งสองนี้ เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9วรรคสี่ และวรรคห้า... แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534แจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้แก่ธนาคารออมสินถึงโจทก์ ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1) ถึง (5) นั้นย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ซึ่งเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน2524 แล้ว แต่กลับปรากฏว่ากรมทางหลวงจำเลยที่ 1 เพิ่งจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยวิธีนำเงินฝากธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวงจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์และปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานถึง 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ทั้งสองในพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย นับว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา 21แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำกินในป่าสงวนหมดอายุเมื่อใด? การฟ้องหน่วยงานรัฐเรื่องรื้อถนนขัดแย้งกับสิทธิเดิมหรือไม่?
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวตามหนังสืออนุญาตสทก. 1 มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี ต่อมาสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จำเลยได้ก่อสร้างถนนผ่านที่ดินพิพาทหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวสิทธิการทำประโยชน์ของโจทก์ดังกล่าวย่อมสิ้นสุดไปแล้วทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกัน แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่เป็นหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์ไม่ให้อำนาจฟ้องจำเลยรื้อและปรับสภาพถนนให้เป็นที่นาตามเดิมและใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำกินในป่าสงวนสิ้นสุดเมื่อหมดอายุอนุญาต การฟ้องร้องหน่วยงานรัฐด้วยสิทธิครอบครองเป็นโมฆะ
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้โจทก์ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินพิพาทตามหนังสืออนุญาต สทก.1 มีกำหนดระยะเวลา5 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2527 ถึง 1 ตุลาคม 2532 ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1ก่อสร้างถนนผ่านที่ดินพิพาทในปี 2533 อันเป็นเวลาหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาในหนังสืออนุญาต สทก.1 ของโจทก์ สิทธิการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนในที่ดินพิพาทของโจทก์ตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507มาตรา 16 ประกอบมาตรา 14 ย่อมสิ้นสุดไปแล้ว ทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกัน แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่เป็นส่วนราชการและเป็นหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐนั่นเอง ซึ่งโจทก์ไม่อาจกระทำได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำกินในป่าสงวนสิ้นสุดเมื่อหมดอายุอนุญาต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องรัฐ
โจทก์ได้รับอนุญาตให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติแต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาในหนังสืออนุญาตแล้วสิทธิการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยของโจทก์ตามเงื่อนไขของกฎหมายย่อมสิ้นสุดไปแล้วจำเลยที่1จึงมีสิทธิเข้าไปทำประโยชน์ได้ทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกันแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่เป็นส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐนั่นเองซึ่งโจทก์ไม่อาจกระทำได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1
of 53