พบผลลัพธ์ทั้งหมด 525 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงผู้ตายโดยสามีจากเหตุทะเลาะและหึงหวง ไม่ถือเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภริยากัน ทะเลาะกันอยู่เสมอเนื่องจากความหึงหวง โดยผู้ตายเคยด่าว่าและทุบตีจำเลยเป็นประจำ ดังนั้นลำพังการที่ผู้ตายด่าว่าจำเลยในวันเกิดเหตุและขอหย่ากับเรียกร้องเงินจากจำเลยจึงไม่ใช่เหตุข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจึงไม่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: การเพิ่มวงเงินกู้และการคำนวณอากร
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2525 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ขอกู้เงินตามวิธีและธรรมเนียมประเพณีการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จำนวน 2,000,000 บาทกำหนดชำระหนี้ให้หมดสิ้นภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2526 ได้ทำสัญญากันไว้ และปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ในตราสารดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นได้ทำบันทึกต่ออายุสัญญากันอีก 4 ครั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2526 วันที่ 18 มกราคม 2527 วันที่ 8 มีนาคม2528 และวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ตามลำดับ ให้เบิกเงินเกินบัญชีได้ถึงวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2530 และในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ได้ทำบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยตกลงเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมขึ้นอีก 1,000,000 บาท รวมเป็นจำนวน3,000,000 บาท ข้อตกลงอื่นคงให้เป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิม ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์ตกลงให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ได้ในวงเงิน 2,000,000 บาท ได้ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2530 ดังนั้นในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2529 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ยังมีข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ได้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิมได้อยู่จำนวน 2,000,000 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวหาได้ถูกยกเลิกไปแล้วไม่ ฉะนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 1,000,000 บาท ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์2529 จึงเป็นการที่โจทก์ตกลงให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมในยอดเงินเพียง 1,000,000 บาท ส่วนอีกจำนวน 2,000,000 บาท ยังคงเป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิมซึ่งโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์ไว้บริบูรณ์แล้ว หาใช่ยอดเงินทั้งจำนวน3,000,000 บาท เป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมไม่เมื่อยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมมีจำนวนเพียง1,000,000 บาท โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์ในตราสารดังกล่าวในยอดเงิน1,000,000 บาท คิดเป็นค่าอากรแสตมป์จำนวน 500 บาท ตามบทบัญญัติแห่งป.รัษฎากร มาตรา 104 ประกอบลักษณะแห่งตราสาร 5 แห่งบัญชีอัตราอากร-แสตมป์ท้ายหมวด 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์: การประเมินและเรียกเก็บอากรแสตมป์เพิ่มเติมจากบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเงินกู้
เมื่อวันที่15กุมภาพันธ์2525บ. ขอกู้เงินตามวิธีและธรรมเนียมประเพณีการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ในวงเงิน2,000,000บาทกำหนดชำระหนี้ให้หมดสิ้นภายในวันที่15กุมภาพันธ์2526ได้ทำสัญญากันไว้ตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"โดยปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ในตราสารดังกล่าวแล้วต่อมาได้ทำ"บันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ให้เบิกเงินเกินบัญชีได้ถึงวันที่15กุมภาพันธ์2530(ในวงเงินเดิม)และในวันที่26กุมภาพันธ์2529บ. ได้ทำ"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"กับโจทก์โดยตกลงเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ขึ้นอีกรวมเป็นวงเงิน3,000,000บาทข้อตกลงอื่นคงให้เป็นไปตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ดังนั้นในวันที่26กุมภาพันธ์2529บ. ยังมีข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ประกอบ"บันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"อยู่จำนวน2,000,000บาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหาได้ถูกยกเลิกไปแล้วไม่การที่บ.ตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ตาม"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ในวันดังกล่าวจึงเป็นการที่โจทก์ตกลงให้บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารในยอดเงินเพียง1,000,000บาทส่วนจำนวน2,000,000บาทยังคงเป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ซึ่งโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์ไว้บริบูรณ์แล้วโจทก์จึงมีหน้าที่ปิดอากรแสตมป์ในตราสาร"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"โดยคำนวณจากยอดเงินเพียง1,000,000บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้สัญญาซื้อขาย และสิทธิเลิกสัญญา
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยที่ 1 พร้อมชำระหนี้และรับชำระหนี้ แต่โจทก์มิได้ชำระหนี้และรับชำระหนี้ตามกำหนด โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง แม้สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อสัญญาให้จำเลยบอกเลิกสัญญาได้ แต่จำเลยก็ให้โอกาสโจทก์ชำระหนี้และรับชำระหนี้ถึงสองครั้งโดยให้โจทก์เป็นผู้กำหนดวันนัดภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วครั้งแรกโจทก์อ้างเหตุขัดข้องเรื่องเนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินและหมุดหลักเขตไม่แน่นอน ครั้งหลังโจทก์รับทราบและพ้นเวลาที่จำเลยกำหนดแล้วโจทก์ยังเพิกเฉยกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมหลุดพ้นจากข้อผูกพันที่ให้โอกาสโจทก์ชำระหนี้และรับชำระหนี้ และสิทธิในการเลิกสัญญาโดยข้อสัญญายังคงมีอยู่หาได้ระงับสิ้นไปไม่ เมื่อจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์โดยชอบแล้ว จำเลยย่อมสิ้นความผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและมีสิทธิไม่คืนเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมด ดังนั้น การที่จำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้องย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อโจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะรับชำระหนี้หรือชำระหนี้ตอบแทนฝ่ายจำเลยทั้งสามได้ ย่อมถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: ผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่คืนเงินมัดจำ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยที่1พร้อมชำระหนี้และรับชำระหนี้แต่โจทก์มิได้ชำระหนี้และรับชำระหนี้ตามกำหนดโจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา204วรรคสองแม้สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อสัญญาให้จำเลยบอกเลิกสัญญาได้แต่จำเลยก็ให้โอกาสชำระหนี้และรับชำระหนี้ถึงสองครั้งโดยให้โจทก์เป็นผู้กำหนดวันนัดภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วครั้งแรกโจทก์อ้างเหตุขัดข้องเรื่องเนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินและหมุดหลักเขตไม่แน่นอนครั้งหลังโจทก์รับทราบและพ้นเวลาที่จำเลยกำหนดแล้วโจทก์ยังเพิกเฉยกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมหลุดพ้นจากข้อผูกพันที่ให้โอกาสโจทก์ชำระหนี้และรับชำระหนี้และสิทธิในการเลิกสัญญาโดยข้อสัญญายังคงมีอยู่หาได้ระงับสิ้นไปไม่เมื่อจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์โดยชอบแล้วจำเลยย่อมสิ้นความผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและมีสิทธิไม่คืนเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมดดังนั้นการที่จำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้องย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาและเมื่อโจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะรับชำระหนี้หรือชำระหนี้ตอบแทนฝ่ายจำเลยทั้งสามได้ย่อมถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การกล่าวหาเท็จ ดูหมิ่น เสียดสีศาลในคำร้องคดีอาญา
จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นกล่าวหาศาลด้วยข้อความที่ไม่เป็นจริงว่าศาลสั่งยกฟ้องทุกข้อหาจึงสั่งขังจำเลยทั้งสองไม่ได้ โจทก์จำเลยทั้งสองไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับแรกที่ศาลทำลายไปและว่าหากให้พิจารณาคดีต่อไปเกรงจะทำลายเอกสารที่มีความสำคัญ ถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลมีอำนาจลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลแก่บุคคลที่กระทำกระละเมิดอำนาจศาลได้โดยไม่ต้องฟ้องจึงไม่มีกรณีที่จะเป็นฟ้องเคลือบคลุม หรือต้องเปิดโอกาสให้บุคคลนั้นแก้ข้อกล่าวหาหรือให้โอกาสตั้งทนายถามค้านและคำสั่งของศาลไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การกล่าวหาเท็จและเสียดสีศาลในคำร้องคดีอาญา
ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องซึ่งมีมูลบางข้อหายกฟ้องบางข้อหาให้โจทก์และจำเลยทั้งสองฟังโจทก์และจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาแล้วจำเลยที่2ออกไปยื่นหลักทรัพย์ประกันตัวศาลตรวจพบว่ามิได้กำหนดวันนัดสอบคำให้การจำเลยและนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาจึงเรียกโจทก์และจำเลยทั้งสองกลับเข้าห้องพิจารณาแล้วแจ้งเหตุดังกล่าวให้ทราบและทำรายงานกระบวนพิจารณาฉบับใหม่ขึ้นพร้อมทั้งแจ้งขอทำลายรายงานกระบวนพิจารณาฉบับแรกด้วยโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านดังนั้นการที่จำเลยที่2กล่าวหาศาลด้วยข้อความที่ไม่เป็นความจริงว่าศาลสั่งยกฟ้องทุกข้อหาสั่งขังจำเลยทั้งสองไม่ได้และโจทก์จำเลยทั้งสองไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับแรกอันเป็นการดูหมิ่นศาลและกล่าวเสียดสีศาลว่าหากให้พิจารณาคดีต่อไปเกรงว่าจะทำลายเอกสารที่มีความสำคัญถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นการละเมิดอำนาจศาลศาลมีอำนาจลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลโดยไม่ต้องฟ้องจึงไม่มีกรณีที่จะเป็นฟ้องเคลือบคลุมหรือต้องเปิดโอกาสให้จำเลยที่2แก้ข้อกล่าวหาหรือให้โอกาสตั้งทนายถามค้าน คำสั่งศาลเรื่องละเมิดอำนาจศาลกฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบของคำสั่งไว้เมื่อคำสั่งศาลดังกล่าวต่อเนื่องกับการไต่สวนตามรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งมีชื่อศาลลงวันที่30มีนาคม2537จึงเป็นคำสั่งที่มีชื่อศาลและวันเดือนปีชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา186(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินสาธารณะ มีความสัมพันธ์กับฟ้องเดิม จึงพิจารณารวมกันได้
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนจำเลยให้การว่าที่ดินดังกล่าวเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณะประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินที่สร้างสะพานทางเดินพิพาทกว้าง1.5เมตรยาวประมาณ37.4เมตรเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทเดียวกันกับฟ้องเดิมฟ้องแย้งส่วนนี้ย่อมเกี่ยวกับฟ้องเดิม ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองด้านของที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินพิพาทในฟ้องเดิมนั้นเป็นที่ดินติดเป็นผืนเดียวกันกับทางเดินพิพาทเท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทกว้างยาวกว่าที่โจทก์ระบุมาในฟ้องเดิมและเป็นการตั้งสิทธิว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิตามฟ้องเดิมโดยโจทก์อ้างว่าที่ดินที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนนี้ก็เป็นของโจทก์ถือว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้มีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ฟ้องแย้งในส่วนจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท: การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเพื่อชี้ขาดสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอน จำเลยให้การว่าที่ดินดังกล่าวเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณะ ประเด็นแห่งคดีเดิมจึงมีว่า ที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินที่สร้างสะพานทางเดินพิพาทกว้าง 1.5 เมตรยาวประมาณ 37.4 เมตร เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทเดียวกันกับฟ้องเดิม ฟ้องแย้งส่วนนี้ย่อมเกี่ยวกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองด้านของที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินพิพาทในฟ้องเดิมนั้น เป็นที่ดินติดเป็นผืนเดียวกันกับทางเดินพิพาท เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทกว้างยาวกว่าที่โจทก์ระบุมาในฟ้องเดิม และเป็นการตั้งสิทธิว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิตามฟ้องเดิมโดยโจทก์อ้างว่าที่ดินที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนนี้ก็เป็นของโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้มีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองด้านของที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินพิพาทในฟ้องเดิมนั้น เป็นที่ดินติดเป็นผืนเดียวกันกับทางเดินพิพาท เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทกว้างยาวกว่าที่โจทก์ระบุมาในฟ้องเดิม และเป็นการตั้งสิทธิว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิตามฟ้องเดิมโดยโจทก์อ้างว่าที่ดินที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนนี้ก็เป็นของโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้มีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินที่ถูกอุทิศให้ประชาชนใช้ประโยชน์นานกว่า 30 ปี มีสถานะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ที่ดินของโจทก์มีทางเดินซึ่งชาวบ้านใช้สัญจรไปมานานกว่า30ปีตั้งแต่ใช้ไม้ขอนทอดเดินเปลี่ยนเป็นสะพานไม้และทำเป็นสะพานคอนกรีตโดยเจ้าของที่ดินเดิมมิได้หวงห้ามสงวนสิทธิมิใช่กรณีที่ชาวบ้านใช้ทางเดินโดย ถือวิสาสะ เนื่องจากมีการใช้ขอนไม้ทอดและทำเป็นสะพานไม้แสดงว่าเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปแล้วย่อมเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2) โจทก์ฟ้องว่าที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นของโจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนจำเลยให้การว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณะประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินที่สร้างสะพานดังกล่าวกว้าง1.5เมตรยาว37.4เมตรเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทเดียวกันกับฟ้องเดิมส่วนฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองด้านของที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินพิพาทในฟ้องเดิมเป็นที่ดินติดเป็นผืนเดียวกันกับทางเดินพิพาทเท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทกว้างยาวกว่าที่โจทก์ระบุมาในฟ้องเดิมเป็นการตั้งสิทธิว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิตามฟ้องเดิมโดยโจทก์อ้างว่าที่ดินที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนนี้ก็เป็นของโจทก์ฟ้องแย้งในส่วนนี้มีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสามและมาตรา179วรรคท้าย การจดทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นอำนาจ หน้าที่ของ เจ้าพนักงาน ไม่ปรากฏว่าบริษัทโจทก์มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องดำเนินการศาลจึงไม่อาจบังคับโจทก์จดทะเบียนให้ได้