พบผลลัพธ์ทั้งหมด 525 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการใช้ดุลพินิจของศาลชั้นอุทธรณ์ในคดีขับไล่
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าตามสัญญาเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท แม้โจทก์ทั้งสองจะกล่าวมาในฟ้องด้วยว่าหากโจทก์ทั้งสองจะให้ผู้อื่นเช่าในปัจจุบันจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 45,000 บาท และโจทก์ทั้งสองใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายไปตามอัตราจำนวน 45,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาทก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองมิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น หากแต่เรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคสอง
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจเชื่อว่าลายมือชื่อของผู้เช่าในสัญญาเช่าเป็นลายมือชื่อของจำเลย โดยเหตุผลว่าตามสัญญาเช่าจะเขียนคล้ายหมึกต่างสีกันก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาเพราะปากกาที่ใช้เขียนหมึกอาจจะออกมาไม่สม่ำเสมอหรือหมึกหมดแล้วเปลี่ยนด้ามใหม่ก็ได้ อันเป็นความเห็นซึ่งโจทก์จำเลยมิได้นำสืบไว้ จึงเป็นการรับฟังโดยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. นั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยดังกล่าวก็โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งสามารถตรวจดูด้วยสายตาและศาลอุทธรณ์สามารถใช้ดุลพินิจได้ การที่จำเลยฎีกาโต้แย้งดังกล่าวจึงเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้สร้างอาคารในที่ดินพิพาทและโจทก์ที่ 1 สัญญาจะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปอีก 10 ปี หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลง สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์ที่ 1 จะให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาท 10 ปี โดยมีค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้นไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของจำเลยฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี ตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าที่มีต่อกัน จึงเป็นฎีกาเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาจำเลยทั้งหมดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจเชื่อว่าลายมือชื่อของผู้เช่าในสัญญาเช่าเป็นลายมือชื่อของจำเลย โดยเหตุผลว่าตามสัญญาเช่าจะเขียนคล้ายหมึกต่างสีกันก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาเพราะปากกาที่ใช้เขียนหมึกอาจจะออกมาไม่สม่ำเสมอหรือหมึกหมดแล้วเปลี่ยนด้ามใหม่ก็ได้ อันเป็นความเห็นซึ่งโจทก์จำเลยมิได้นำสืบไว้ จึงเป็นการรับฟังโดยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. นั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยดังกล่าวก็โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งสามารถตรวจดูด้วยสายตาและศาลอุทธรณ์สามารถใช้ดุลพินิจได้ การที่จำเลยฎีกาโต้แย้งดังกล่าวจึงเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้สร้างอาคารในที่ดินพิพาทและโจทก์ที่ 1 สัญญาจะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปอีก 10 ปี หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลง สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์ที่ 1 จะให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาท 10 ปี โดยมีค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้นไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของจำเลยฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี ตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าที่มีต่อกัน จึงเป็นฎีกาเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาจำเลยทั้งหมดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมา: สิทธิตกเป็นของผู้รับโอนก่อนอายัด
เงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างที่องค์การสุรา กรมสรรพสามิตจะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเป็นสิทธิเรียกร้องที่พึงโอนให้แก่กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินจำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์และก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังองค์การสุรากรมสรรพสามิตถึงสองปีเศษ ทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ปฏิบัติครบถ้วนและถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมาก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องตกเป็นของผู้รับโอนก่อนถูกอายัด
เงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างที่องค์การสุรากรมสรรพสามิตจะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเป็นสิทธิเรียกร้องที่พึงโอนให้แก่กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินจำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์และก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังองค์การสุรากรมสรรพสามิตถึงสองปีเศษทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ปฏิบัติครบถ้วนและถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306แล้วสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวเพื่อระงับการบังคับคดีต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีเท่านั้น
คดีนี้ยังไม่มีคำพิพากษาจึงไม่มีการบังคับคดีที่โจทก์จะมาขอต่อศาลให้งดการบังคับคดีไว้ได้ คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลคดีนี้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้นไว้ก่อนจนกว่าคดีนี้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นมิใช่คำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา264วรรคหนึ่งหรือมาตรา254(2)โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดี: คำร้องต้องยื่นต่อศาลเจ้าของคดีบังคับคดี ไม่ใช่ศาลคดีอื่น
คดีนี้ยังไม่มีคำพิพากษา จึงไม่มีการบังคับคดีที่โจทก์จะมาขอต่อศาลให้งดการบังคับคดีไว้ได้
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลคดีนี้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้นไว้ก่อนจนกว่าคดีนี้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น มิใช่คำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 254 (2) โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีนั้น
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลคดีนี้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้นไว้ก่อนจนกว่าคดีนี้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น มิใช่คำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 254 (2) โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรเป็นที่สุดตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลภาษีอากร
คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534มาตรา17นั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้กลั่นแกล้งหรือไม่สุจริตผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจะอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(1)ไม่ได้โจทก์ผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจึงไม่มีอำนาจฟ้อง การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา7(1)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528หมายถึงกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นที่สุดเท่านั้นหากมีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรถือเป็นที่สุดก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติเป็นพิเศษเฉพาะกรณีนั้นๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากร
คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 17 นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้กลั่นแกล้งหรือไม่สุจริต ผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจะอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(1)ไม่ได้ โจทก์ผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจึงไม่มีอำนาจฟ้อง การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 หมายถึงกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นที่สุดเท่านั้น หากมีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรถือเป็นที่สุดก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติเป็นพิเศษเฉพาะ กรณีนั้น ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเป็นที่สุด
คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นที่สุดนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่า อธิบดีกรมสรรพากรได้กลั่นแกล้งหรือไม่สุจริตผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจะอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(1)หาได้ไม่เพราะการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา7(1)นั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นที่สุดเท่านั้นหากมีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรถือเป็นที่สุดแล้วก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติเป็นพิเศษเฉพาะกรณีนั้นๆดังนั้นโจทก์ผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจึง ไม่มี อำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: แม้สัญญาเดียวกัน แต่เหตุฟ้องต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อน ศาลล่างผิดพลาด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาดังกล่าวและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเมื่อสัญญาดังกล่าวยังไม่เลิกกันแม้ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจะอ้างอิงสัญญาฉบับเดียวกันแต่มูลฟ้องเกิดจากเหตุคนละคราวกันถือว่ามิใช่เรื่องเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง: การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และขอบเขตความรับผิด
บ. ลูกจ้างของจำเลยร่วมที่1ให้จำเลยที่1ทำงานแทนเมื่อจำเลยที่1ขับรถบรรทุกซึ่งอยู่ในระหว่างส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยร่วมที่1ด้วยความประมาทเลินเล่อชนโรงภาพยนตร์ของโจทก์เสียหายการละเมิดนี้ย่อมนับว่าอยู่ในกรอบแห่งการที่จำเลยร่วมที่1จ้างจำเลยร่วมที่1จะอ้างว่า บ. มิใช่ลูกจ้างและจำเลยที่1บุตร บ. เป็นผู้กระทำละเมิดเพื่อให้ตนพ้นความรับผิดหาได้ไม่