พบผลลัพธ์ทั้งหมด 525 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาในการขอศาลสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่
ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์... ฯลฯ... ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" ในระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ยังไม่ใช้บังคับ การนับระยะเวลาในการที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไปตกต้องในฐานที่จะเป็นภยันตรายแก่ชีวิตอันจะเป็นคนสาบสูญจึงต้องนับเวลาถึงสามปีนับแต่เมื่อภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64วรรคสอง เดิม แม้โจทก์จะมาร้องขอให้ ม.เป็นคนสาบสูญเมื่อประมวลกฎหมาย-แพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ใช้บังคับแล้ว และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 วรรคสอง ที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้ลดระยะเวลาเหลือเพียงสองปีนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตได้ผ่านพ้นไปก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 แล้ว จะเห็นได้ว่าระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสอง เดิม ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ใช้บังคับและระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสอง เดิมยาวกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 61วรรคสอง จึงต้องถือระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราช-บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 14 ดังนั้น การร้องขอให้ศาลสั่งให้ ม.เป็นคนสาบสูญในคดีนี้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสองเดิม คือใช้ระยะเวลา 3 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีครั้งที่ 2 ไม่ชอบเมื่อการตรวจสอบครั้งแรกครอบคลุมทุกประเด็นแล้ว
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา19และมาตรา20บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้แต่ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้โดยจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องการออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่จึงจะเป็นการออกหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายประกอบกับตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรพ.ศ.2525ข้อ7.3ที่ว่าการออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบไต่สวนในปีภาษีใดจะต้องไม่เรียกตรวจสอบซ้ำกับปีที่เคยออกหมายเรียกไปแล้วเว้นแต่กรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลซึ่งไม่ซ้ำกับที่เคยตรวจสอบไปก่อนแล้วหรือกรณีมีเหตุอันสมควรอื่นก็ให้ขออนุมัติออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่ได้เฉพาะรายเมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องประการใดเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบภาษีใหม่เป็นครั้งที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีใหม่ ต้องมีเหตุผลความผิดพลาดจากการตรวจสอบครั้งแรก และไม่ซ้ำกับปีที่เคยตรวจสอบแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ แต่ก็จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดให้ไว้ด้วย โดยจะต้องปรากฏว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้อง การออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่จึงจะเป็นการออกหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2525ได้กำหนดว่าการออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบไต่สวนในปีภาษีใดจะต้องไม่เรียกตรวจสอบซ้ำกับปีที่เคยออกหมายเรียกไปแล้ว เว้นแต่กรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลซึ่งไม่ซ้ำกับที่เคยตรวจสอบไปก่อนแล้ว หรือกรณีมีเหตุอันสมควรอื่นดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงหามีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบภาษีใหม่เป็นครั้งที่ 2 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีซ้ำ ต้องมีเหตุผลทางกฎหมายหรือหลักฐานใหม่ที่มิได้ตรวจสอบไปก่อน
ประมวลรัษฎากรมาตรา19และมาตรา20บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้แต่ก็จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดให้ไว้ด้วยโดยจะต้องปรากฏว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องการออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่จึงจะเป็นการออกหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายอีกทั้งระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรพ.ศ.2525ได้กำหนดว่าการออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบไต่สวนในปีภาษีใดจะต้องไม่เรียกตรวจสอบซ้ำกับปีที่เคยออกหมายเรียกไปแล้วเว้นแต่กรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลซึ่งไม่ซ้ำกับที่เคยตรวจสอบไปก่อนแล้วหรือกรณีมีเหตุอันสมควรอื่นดังนี้เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินจึงหามีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบภาษีใหม่เป็นครั้งที่2ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนปรนกำหนดเวลาชำระหนี้และการไม่ถือเป็นผิดนัดสัญญาซื้อขายที่ดิน
โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงเลื่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญากันหลายครั้ง สาเหตุของการเลื่อนวันนัดมีทั้งจากฝ่ายโจทก์บ้างและฝ่ายจำเลยทั้งสองบ้าง แสดงว่าคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันโดยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามสัญญาเรื่องกำหนดเวลาโอนที่ดินพิพาท ถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ถือเอาการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ดังนั้นการที่นาย ว. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ไปพบกับจำเลยทั้งสองที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครนายกตามกำหนดวันนัดในสัญญาและได้จัดเตรียมแคชเชียร์เช็คและเงินสดสำหรับชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว แต่เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากแคชเชียร์เช็คที่นาย ว.นำไปเกิดหายไป และขณะนั้นก็เป็นเวลาประมาณ16 นาฬิกา ใกล้เวลาเลิกทำงานของทางราชการย่อมไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทัน ทั้งวันนัดโอนดังกล่าวก็เป็นวันศุกร์ การที่โจทก์ขอเลื่อนการจดทะเบียนการโอนไปเป็นวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเริ่มเปิดทำการใหม่ของทางราชการ พออนุโลมได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดชำระหนี้ จำเลยทั้งสองจะอ้างเหตุดังกล่าวว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัด และไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนนัดโอนที่ดินหลายครั้งไม่ถือเป็นผิดสัญญา หากมีเหตุสุดวิสัยและคู่สัญญามีเจตนาผ่อนปรนซึ่งกันและกัน
โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงเลื่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญากันหลายครั้งสาเหตุของการเลื่อนวันนัดมีทั้งจากฝ่ายโจทก์บ้างและฝ่ายจำเลยทั้งสองบ้างแสดงว่าคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันโดยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามสัญญาเรื่องกำหนดเวลาโอนที่ดินพิพาทถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ถือเอาการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญดังนั้นการที่นาย ว. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ไปพบกับจำเลยทั้งสองที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครนายกตามกำหนดวันนัดในสัญญาและได้จัดเตรียมแคชเชียร์เช็คและเงินสดสำหรับชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากแคชเชียร์เช็คที่นาย ว. นำไปเกิดหายไปและขณะนั้นก็เป็นเวลาประมาณ16นาฬิกาใกล้เวลาเลิกทำงานของทางราชการย่อมไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทันทั้งวันนัดโอนดังกล่าวก็เป็นวันศุกร์การที่โจทก์ขอเลื่อนการจดทะเบียนการโอนไปเป็นวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเริ่มเปิดทำการใหม่ของทางราชการพออนุโลมได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดชำระหนี้จำเลยทั้งสองจะอ้างเหตุดังกล่าวว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดและไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินเมื่อค่าเช่าไม่สมเหตุสมผล
ในการคำนวณหาค่ารายปี แม้ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 จะกำหนดให้ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน และในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปีก็ตาม แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าจำนวนค่าเช่ารายปีมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีสำหรับอาคารหรือโรงเรือน และที่ดินใหม่ได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ และตามหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สิน ซึ่งกำหนดไว้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจประวิงคดีและการงดสืบพยาน ศาลชอบด้วยกฎหมายเมื่อผู้ร้องไม่นำสืบพยานและทนายขอถอนตัว
ผู้ร้องขอเลื่อนการสืบพยานผู้ร้องตั้งแต่วันนัดสืบพยานผู้ร้องนัดแรกติดต่อกันมาสี่ครั้งในวันนัดครั้งที่5ผู้ร้องทั้งสามไม่มาศาลและทนายผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความพฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการจงใจประวิงคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานผู้ร้องจึงชอบแล้ว ศาลชั้นต้นเห็นว่าการที่ทนายผู้ร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความให้ผู้ร้องทั้งสามเป็นการจงใจที่จะประวิงคดีและเห็นไม่สมควรอนุญาตให้ทนายผู้ร้องถอนตัวจึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสอบถามผู้ร้องทั้งสามก่อนดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานผู้ร้องทั้งสามและพิพากษาคดีไปจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจประวิงคดีและการงดสืบพยาน
ผู้ร้องขอเลื่อนการสืบพยานผู้ร้องตั้งแต่วันนัดสืบพยานผู้ร้องนัดแรกติดต่อกันมาสี่ครั้ง ในวันนัดครั้งที่ 5 ผู้ร้องทั้งสามไม่มาศาล และทนายผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการจงใจประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานผู้ร้องจึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นเห็นว่าการที่ทนายผู้ร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความให้ผู้ร้องทั้งสามเป็นการจงใจที่จะประวิงคดีและเห็นไม่สมควรอนุญาตให้ทนายผู้ร้องถอนตัว จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสอบถามผู้ร้องทั้งสามก่อน ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานผู้ร้องทั้งสามและพิพากษาคดีไปจึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นเห็นว่าการที่ทนายผู้ร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความให้ผู้ร้องทั้งสามเป็นการจงใจที่จะประวิงคดีและเห็นไม่สมควรอนุญาตให้ทนายผู้ร้องถอนตัว จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสอบถามผู้ร้องทั้งสามก่อน ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานผู้ร้องทั้งสามและพิพากษาคดีไปจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอย่างคนอนาถาที่ศาลฎีกามีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว โจทก์ไม่สามารถขอแก้ไขกระบวนพิจารณาใหม่ได้ แต่ศาลต้องให้โอกาสชำระค่าขึ้นศาล
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาเพราะโจทก์มอบอำนาจให้ ก.ผู้ฟ้องคดีแทนเป็นผู้สาบานตัวโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและเมื่อศาลฎีกาให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแล้วคำสั่งศาลฎีกาดังกล่าวจึงถึงที่สุดโจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลภาษีอากรอีกเพื่อขอให้กรรมการบริษัทสาบานตัวประกอบคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาเพื่อชี้แจงว่าโจทก์ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลอันเป็นการขอแก้ไขกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องที่ไม่ถูกต้องเสียใหม่ ย่อมไม่อาจทำได้เพราะไม่มีคำร้องโจทก์เหลืออยู่ให้ดำเนินการแก้ไขกระบวนพิจารณาเสียใหม่ได้และคำร้องดังกล่าวมิได้ร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่ เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับคำร้องและนัดไต่สวนโจทก์ที่ขอให้ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เข้าสาบานตัวแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นให้ยกคำร้องโจทก์ศาลจะต้องกำหนดเวลาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระในเวลาอันสมควรจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ไปทันทีหาชอบไม่