พบผลลัพธ์ทั้งหมด 525 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยปลดหนี้สัญญา: การที่คนต่างด้าวป่วยเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถส่งตัวออกนอกราชอาณาจักรได้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
จำเลยไม่ส่งตัว ห. คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะห. ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยไม่มีเจตนาปฏิบัติผิดเงื่อนไขสัญญาที่ต้องจัดการให้ ห.เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับตามสัญญา ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีในฐานะคู่สัญญากับจำเลยตามกฎหมาย เมื่อผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองมีคำสั่งเห็นชอบผ่อนผันระงับการปรับจำเลย ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงและชอบด้วยกฎหมายทั้งในฐานะคู่สัญญากับจำเลยโดยตรงแล้วหนี้ค่าปรับจึงระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 70
แม้ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำผิดในฐานะผู้ดำเนินการตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่งเป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ มาตรา 70 พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ ที่บัญญัติว่า "ถ้า การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ เป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม...ต้องระวางโทษ..." หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ หากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ต้องเป็นไปตามคำขอท้ายฟ้อง และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 70
แม้ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำผิดในฐานะผู้ดำเนินการตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่งเป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์
มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้องระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้
มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้องระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การลงโทษเกินคำขอ และการปรับบทลงโทษอาคารพาณิชย์
แม้ตาม ฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้ กระทำผิดในฐานะ ผู้ดำเนินการตาม ความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่ง เป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ที่บัญญัติว่า "ถ้า การกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้อง ระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตาม ที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตาม มาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัว อาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 44ซึ่ง จะต้องถูกลงโทษตาม มาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันในความผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การพิสูจน์วันเริ่มใช้และข้อจำกัดการอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมก่อนได้รับใบรับรองการก่อสร้าง ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมาตรา 32,65 แต่ฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองใช้อาคารที่ก่อสร้างวันใดระยะเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด คือระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน 2531ถึงวันที่ 8 กันยายน 2531 นั้น ไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารเสร็จเมื่อใด เปิดใช้อาคารเมื่อใด แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพ เมื่อไม่มีวันที่จำเลยทั้งสองใช้อาคารที่สร้างเสร็จแล้วเมื่อใด จึงไม่อาจคำนวณโทษปรับนับแต่วันที่จำเลยทั้งสองใช้อาคารที่สร้างเสร็จโดยไม่ได้รับใบรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) ศาลไม่อาจลงโทษปรับเป็นรายวันตามพ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องด้วยวาจา และการลงโทษปรับรายวันในความผิดควบคุมอาคาร
ฟ้องด้วยวาจา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกศาลอาจสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิด แต่จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาเท่านั้น
ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2528 เวลากลางคืนถึงวันที่ 30 เมษายน 2529 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ได้ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอดเวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้ว หาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับแรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน วันที่ 26 เมษายน 2529 แต่จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว
ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2528 เวลากลางคืนถึงวันที่ 30 เมษายน 2529 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ได้ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอดเวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้ว หาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับแรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน วันที่ 26 เมษายน 2529 แต่จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาที่ลงโทษปรับรายวัน และการเริ่มนับโทษปรับตามคำสั่งแก้ไข
ฟ้องด้วยวาจา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกศาลอาจสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิด แต่บันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจา ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30 เมษายน2528 เวลากลางคืนถึงวันที่ 30 เมษายน 2529 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ได้ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอดเวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้วหาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับแรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 26 เมษายน 2529แต่จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดควบคุมอาคาร: การปรับรายวันและการเริ่มนับระยะเวลาปรับเมื่อฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งคำฟ้องด้วยวาจาไว้เป็นหลักฐาน หาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกศาลอาจสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิด แต่บันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วยวาจา ศาลบันทึกข้อความแห่งคำฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30เมษายน 2528 เวลากลางคืน ถึงวันที่ 3 เมษายน 2529 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารได้ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอดเวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้ว หาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับแรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน วันที่ 26 เมษายน 2529แต่จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาด้วยวาจา ความชัดเจนของฟ้อง และการลงโทษปรับรายวันในคดีก่อสร้างผิดแบบ
ฟ้องด้วยวาจา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดย ละเอียดไม่และก่อนบันทึกศาลอาจสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดแต่ จะบันทึกไว้เฉพาะ ข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาเท่านั้น ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30 เมษายน2528 เวลากลางคืนถึง วันที่ 30 เมษายน 2529 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันจำเลยซึ่งได้ รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ได้ ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้ รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอด เวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตาม ฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตาม ฟ้องแล้วหาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับ แรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน วันที่ 26 เมษายน 2529แต่ จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือ ว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้รับโอนประทานบัตรเหมืองแร่ในการปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศราชการ แม้หลุมบ่อมีอยู่ก่อน
จำเลยรับโอนกิจการเหมืองแร่และประทานบัตรจาก ส. ขณะที่รับโอนมีบ่อหลุมตามฟ้องอยู่ในโรงแต่งแร่อยู่แล้ว และรับโอนมาภายหลังจากที่ประกาศผู้อำนวยการเขตควบคุมแร่ประจำเขตจังหวัดภูเก็ตพังงา ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2528) เรื่องการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับเขตเหมืองแร่และเขตแต่งแร่ โดยกำหนดมาตรการเกี่ยวกับเขตเหมืองแร่และเขตแต่งแร่ว่า สภาพของอาคารซึ่งใช้ในการเก็บแร่หรือมีแร่ไว้ในครอบครองของเหมืองจะต้องมีพื้นอาคารเทคอนกรีตและไม่มีห้องหรือหลุมใต้ดินในบริเวณอาคารและไม่มีห้องหรือหลุมใต้ดินที่พื้นนั้น การที่อาคารโรงแต่งแร่ของจำเลยมีบ่ออยู่ใต้พื้นซีเมนต์ถึง 3 บ่อ และเจ้าพนักงานได้ค้นพบแร่ดีบุกของกลางเก็บซ่อนไว้ในบ่อนั้น ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนประกาศผู้อำนวยการเขตควบคุมแร่ดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง จำเลยจะอ้างว่าบ่อดังกล่าวมีมาก่อนที่จำเลยจะรับโอนกิจการเหมืองแร่และประทานบัตรไม่ได้ เพราะจำเลยได้รับโอนกิจการเหมืองแร่และประทานบัตรมาแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องจัดการแก้ไขและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและประกาศของทางราชการ มิฉะนั้นก็จะเป็นทางให้มีการหลีกเลี่ยงกฎหมายและประกาศดังกล่าวด้วยการโอนกิจการเหมืองแร่และประทานบัตรกันได้.